เชื่อว่าในปัจจุบัน ทุกๆ คนต้องเคยได้ยินชื่อ Cloud ผ่านหูมาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งหลายๆ ท่าน ก็คงยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่ามัน คือ อะไร มีวิธีการทำงานยังไง, มีกี่ประเภท และประโยชน์อย่างไรบ้าง บทความนี้ ผมจะมาอธิบายในบทความนี้ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบความหมายและหลักการของคลาวด์โดยละเอียดครับ
บางท่านอาจจะพอทราบอยู่แล้ว ว่า Cloud คือ อะไร มีการบริการเซอร์วิสอย่างไรบ้าง บทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันครับ ว่ามันมีวิธีการทำงานอย่างไร และทำไมถึงเป็นที่นิยมและใช้งานกันอย่างแพร่หลายได้อย่างรวดเร็วขนาดนี้ โดยในชีวิตประจำวัน คุณก็อาจจะใช้งานคลาวด์อยู่ โดยที่ไม่รู้ตัวเลยก็เป็นได้ คำว่า “Cloud” หรือย่อมาจาก “Cloud Computing” มีความหมายเบื้องต้น คือ เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็น Host บริการผ่านอินเตอร์เนต ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถ จัดเก็บข้อมูล, ดำเนินการ และ จัดการข้อมูลต่างๆ ผ่านอินเตอร์เนตโดยแลกกับการเสียค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง ซึ่งระบบ Host ออนไลน์นี้มีตั้งแต่ Scale เล็ก ไปจนถึงใหญ่มากเลยทีเดียวครับ
อย่างแรกที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจก่อน คือ Cloud นั้น ไม่ใช่สิ่งที่จับต้องไม่ได้ ขณะที่ไฟล์ข้อมูลของผู้ใช้ถูกบันทึกผ่านคลาวด์ โดยไม่กินเนื้อที่ในคอมพิวเตอร์ ชุดข้อมูลนั้นยังไงก็จำเป็นต้องถูกบันทึกอยู่ในอุปกรณ์ Hardware ชิ้นใดชิ้นหนึ่งบนโลก นั่นหมายความว่า เมื่อคุณอัพโหลดข้อมูลไปยังคลาวด์ ผ่านเซอร์วิสต่างๆ (อาทิเช่น Dropbox) ไฟล์ของคุณจะถูกส่งผ่านอินเตอร์เน็ตไปยังเซอร์เวอร์ที่จับต้องได้ และมีอยู่จริง ซึ่งเครื่อง Server ของผู้ให้บริการ Cloud นั้น มีจำนวนมากมายเป็นหมื่นเป็นแสนเครื่องเลยทีเดียว เพื่อบริการเก็บข้อมูลทั้งโลก ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า Server Farms ครับ
ดังนั้น นิยามง่ายๆ ของคลาวด์ ก็คือกลุ่มเครื่องเซอร์เวอร์ และ ศูนย์ข้อมูลเพื่อให้บริการเก็บข้อมูลรอบโลก โดยพื้นฐาน มันคือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิตอล ที่คุณสามารถเก็บไฟล์งานต่างๆ ได้ ซึ่งข้อแตกต่างจาก Storage รูปแบบอื่นๆ (อาทิเช่น External Harddisk, Flashdrive และ อื่นๆ) คือคุณไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่อกับเครื่อง เพียงแค่อุปกรณ์ของคุณสามารถเข้าถึง Internet ได้ คุณก็สามารถเข้าถึง Cloud ได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก Cloud นั้น ไม่ใช่อุปกรณ์ที่จับต้องได้ชิ้นใดชิ้นหนึ่ง แต่หมายถึงการส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต เมื่อคุณเก็บไฟล์ข้อมูลบางอย่างผ่านคลาวด์ นั่นหมายถึงการบันทึกงานแบบออนไลน์ โดยใครก็ตามที่มีอุปกรณ์ และทรัพยากรที่ครบถูกต้อง ก็สามารถเป็นเจ้าของ Cloud ของตนเองได้เช่นกัน แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ เพราะค่าใช้จ่ายที่สูง และการดูแลรักษาที่ซับซ้อนครับ
เพื่อขยายความให้เข้าใจง่ายขึ้น อยากให้ทุกท่านนึกถึงระบบไฟฟ้าเป็นตัวอย่างครับ หากเราต้องมีเครื่องปั่นไฟฟ้าสำหรับใช้ส่วนตัว ต้องลงทุนค่าใช้จ่ายตัวเครื่องและค่าดูแลที่สูงมากๆ ดังนั้น เราจึงมีองค์การไฟฟ้าที่ทำหน้าที่จ่ายไฟฟ้าให้เราแทนผ่าน Generator ขนาดใหญ่ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และเราแค่ชำระเงินในเฉพาะปริมาณไฟฟ้าที่เราใช้ครับ ในกรณี Cloud ก็ใช้คอนเซปเดียวกัน คือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมี Hardware เพื่อใช้เก็บข้อมูลเอง เพียงแต่ใช้วิธีบันทึกผ่านคลาวด์และเสียค่าใช้จ่ายแค่พื้นที่ ที่ใช้งานเท่านั้นครับ
โดยมีหลักการ คือ ผู้จัดหาหรือเจ้าของ Cloud นำเสนอพื้นที่ว่างใน Server ของตนเองให้แก่ผู้ใช้งานเพื่อใช้ในจุดประสงค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลหรือ Web Hosting ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ใช้งานยังคงสามารถดำเนินการ แก้ไข และจัดการข้อมูลของตนเองได้ ในขณะที่เจ้าของ Cloud ทำหน้าที่เสมือนผู้ให้เช่าเท่านั้น การใช้ Dropbox ก็เป็นหนึ่งในรุปแบบ IaaS คุณสามารถเข้าถึงและแก้ไขข้อมูลได้ทุกเวลา โดย Dropbox ทำหน้าที่เป็นเพียง Servers เท่านั้น
Private Cloud คือ คลาวด์แบบส่วนตัวที่โครงสร้างทั้งหมดของ Cloud จะถูกอุทิศให้ผู้ใช้งานเพียงหนึ่ง User เท่านั้น ผู้ใช้ยังคงจำเป็นต้องใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต เพียงแต่ Server ที่เก็บข้อมูลของคุณจะทำหน้าที่และอุทิศการทำงานทั้งหมดเพื่อคุณคนเดียวเท่านั้น ประโยชน์ของคลาวด์ประเภทนี้คือมีความปลอดภัยและการทำงานจะมีประสิทธิภาพสูง เพราะไม่ต้องไปแชร์การทำงานของเซอร์เวอร์กับผู้ใช้งานอื่นๆ โดยการทำงานทั้งหมดจะอุทิศเพื่อผู้ใช้งานคนเดียว คลาวด์แบบส่วนตัวนี้ ยังมอบความสามารถในการควบคุม Server ทั้งหมดให้แก่ผู้ใช้งาน อาทิเช่น การปรับแต่ง, จัดการ, ตั้งค่า และ สำรองข้อมูล เป็นต้น
การที่ข้อมูลทุกอย่างถูกจัดเก็บไว้ในที่ที่เดียว ซึ่งไม่กินเนื้อที่จริงๆ ในชีวิตประจำวัน ช่วยให้การจัดการทุกอย่าง ควบคุมได้ง่ายมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ้ออุปกรณ์ Hardware ด้วย นอกจากนี้ การที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่ถูกบันทึกข้อมูลให้แน่นจนเกินไป ก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้นด้วย
ในขณะเดียวกัน ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานผ่าน คลาวด์ อาทิเช่น Dropbox Paper ยังช่วยให้ผู้ใช้งานประหยัดระยะเวลาในการดาวน์โหลดและติดตั้งสู่ตัวเครื่อง ซึ่ง Software ส่วนใหญ่ที่ใช้ระบบคลาวด์ จะมีข้อดี คือ สามารถเข้าถึงและใช้งานได้จากอุปกรณ์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Mobile Apps หรือ Web Base ก็ตามครับ