คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย
ลักษณะทางกายภาพของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย มีทั้งขนาดที่ใหญ่มากจนต้องใช้ห้องทั้งห้องในการบรรจุ และขนาดเล็กจนวางได้บนฝ่ามือ การจัดแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งได้ตามขนาดทางกายภาพเป็นสำคัญ ซึ่งมักจะแปลผันกับประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผล โดยขนาดคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้กับการคำนวณผลทางวิทยาศาสตร์ ขนาดรองลงมาเรียกว่า เมนเฟรม มักใชัในบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางธุรกิจจำนวนมากๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในระดับบุคคลเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พกพาได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถวางบนฝ่ามือได้เรียกว่า พีดีเอ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์มีใช้กันอย่างกว้างขวางมาก ซึ่งมีอุปกรณ์หลายๆชนิดได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน เช่น กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม หรือในรถยนต์เองก็มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องยนต์ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์โดยรวมแล้ววัดกันที่ความเร็วการประมวลผล ซึ่งตามกฏของมัวร์ (Moore's Law) คอมพิวเตอร์จะเพิ่มประสิทธิภาพเป็นเท่าทวีคูณในทุกปี
คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี หนึ่งในคอมพิวเตอร์ที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ในรูปเป็นเครื่องจำลองตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตตเป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าอุปกรณ์ใดจัดเป็นคอมพิวเตอร์ยุคแรก ๆ เพราะคำว่า "คอมพิวเตอร์" เองก็มีการตีความเปลี่ยนไปมาอยู่เสมอแต่จุดเริ่มของคำนี้หมายถึงคนที่ทำหน้าที่เป็นนักคำนวณในสมัยนั้นช่วงปี ค.ศ. 1930 ถึงช่วงปี ค.ศ. 1940 เป็นช่วงที่โลกได้มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถโปรแกรมได้และคำนวณผลลัพธ์ได้มีประสิทธิภาพจริงแต่เป็นการยากที่จะตัดสินได้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกENIAC (ElectronicsNumericalIntegratorand Computer) เกิดขึ้นในปี1946 และประดิษฐ์โดย จอห์น ดับลิวมอชลีย์ (John W. Mauchly) และ เจ เพรสเพอร์ เอคเกิรต (J. Prespern Eckert) ทำงานโดยใช้หลอดสุญญากาศจำนวน 18,000 หลอด มีน้ำหนัก 30 ตัน ใช้เนื้อที่ห้อง 15,000 ตารางฟุต เวลาทำงานต้องใช้กำลังไฟถึง 140 กิโลวัตต์ คำนวณในระบบเลขฐานสิบ
•ค.ศ. 1941 เป็นครั้งแรกที่โลกได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Computer
•ค.ศ. 1941 จอห์น อตานาซอฟฟ์ และ คลิฟฟอร์ด เบอร์รี ที่ มหาวิทยาลัยไอโอวาสเตต ได้ร่วมกันสร้าง คอมพิวเตอร์ อตานาซอฟฟ์-เบอร์รี ซึ่งสามารถประมวลผลเลขฐานสอง
•ค.ศ. 1944 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้ร่วมกันสร้างอีนิแอก ซึ่งใช้หลอดสูญญากาศจำนวน 20,000 หลอด เพื่อสร้างหน่วยประมวลผล และถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกสำหรับการใช้งานทั่วไป โดยมีการประมวลผลแบบทศนิยม โดยหากต้องการตั้งโปรแกรมจะต้องต่อสายเชื่อมต่อเครื่องอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด
•ค.ศ. 1947 ถึง 1948 John Bardeen, Walter Brattain และ Wiliam Shockley สร้างคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทราสซิสเตอร์ ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ
•ค.ศ. 1951 John Presper Eckert และ John W. Mauchly ได้พัฒนา UNIVAC Computer ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีการขาย
•ค.ศ. 1953 ไอบีเอ็ม (IBM) ออกจำหน่าย EDPM เป็นครั้งแรก และเป็นก้าวแรกของไอบีเอ็มในธุรกิจคอมพิวเตอร์
•ค.ศ. 1954 John Backus และ IBM ร่วมกันสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ชื่อ FORTRAN ซึ่งเป็นภาษาระดับสูง (high level programming language) ภาษาแรกในประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์
•ค.ศ. 1955 (ใช้จริง ค.ศ. 1959) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด, ธนาคารแห่งชาติอเมริกา, และ บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก ร่วมกันสร้าง ERMA และ MICR ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในธุรกิจธนาคาร
•ค.ศ. 1969 เป็นปีที่กำเนิด ARPAnet ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต
•ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ. 1975 Scelbi และ Mark-8 Altair และ IBM ร่วมกันวางจำหน่ายคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้รายย่อยเป็นครั้งแรก
•ค.ศ. 1976 ถึง ค.ศ. 1977 ถือกำเนิด Apple I, II และ TRS-80 และ Commodore Pet Computers ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกๆ ของโลก
•ค.ศ. 1981 ไมโครซอฟท์ วางจำหนาย MS-DOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมที่สุดในช่วงนั้น
ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก(very large scale integrated circuit)ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัวเราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมากและมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมากมีขนาดใหญ่สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาทีและได้รับการออกแบบเพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่นการพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้นในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้นเนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ๆจะต้องใช้หน่วยความจำสูงดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มากซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล(processing unit)1หน่วยจนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มากแต่ยังมีความเร็วสูงและมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อมๆกันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก
มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) มินิคอมพิวเตอร์คือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อมๆกันแต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น
ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC ) ไมโครคอมพิวเตอร์คือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ(desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น อาทิเช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลังเครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูงแต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัวไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้านโรงเรียนและสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า
แผนผังการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network) คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปการที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลงการโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
เครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
•เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
•เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
•เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
1.การใช้งานภาครัฐ งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน งานภาษี เช่น ยื่นแบบประเมินภาษีภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต เก็บทะเบียนประวัติผู้เสียภาษี ตรวจสอบการเสียภาษี
6.วิทยาศาสตร์และการแพทย์ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณ และ การจำลองแบบ
โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ
คอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆเช่น ENIAC เวลาโปรแกรมต้องใช้วิธีการเปลี่ยนสายเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่ยุ่งยากมาก จึงเกิดแนวคิดว่าตัวโปรแกรมน่าจะจัดเก็บอยู่ในส่วนที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ง่าย เป็นที่มาของแนวคิดที่ทำการจัดเก็บข้อมูลต่างๆรวมถึงโปรแกรมไว้ใน หน่วยความจำ หรือ memory ทำให้คอมพิวเตอร์จะได้รับคำสั่งโดยการอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำ และการปรับเปลี่ยนโปรแกรมสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงค่าภายในหน่วยความจำ
แนวคิดข้างต้นรู้จักในชื่อว่า "Stored-Program Concept" หรือ อีกชื่อว่าสถาปัตยกรรม von Neumann โดยเข้าใจว่า J. Presper Eckert และ John William Mauchly ซึ่งเป็นนักออกแบบ ENIAC เป็นผู้คิดค้นขึ้น
แนวคิดการทำงานแบบ Stored-Program ถูกใช้เป็นแนวคิดหลักของการทำงานในคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน โดยแนวคิดนี้จะแบ่งการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็น 4 ส่วนหลักได้แก่
•หน่วยประมวลผลในรูปแบบข้อมูล Binary หรือที่เรียกว่า Arithmetic-Logical Unit (ALU) เป็นการทำงานโดยเลขฐาน 2 เปรียบเสมือนหัวใจของคอมพิวเตอร์ หน้าที่หลักของมันคือทำการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานอันได้แก่การบวกและลบ และการทำการเปรียบเทียบข้อมูลสองข้อมูลว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่ถ้าไม่จะมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า
•หน่วยความจำ หรือ Memory ใช้สำหรับเก็บข้อมูล (Data) และ คำสั่ง (Instructions) โดยข้อมูลภายในหน่วยความจำจะถูกแบ่งเป็นส่วนๆเล็กๆเท่าๆกัน แต่ละส่วนมีที่อยู่ (address) เพื่อใช้เข้าถึงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเอาไว้
•อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุต หรือ I/O Device เป็นส่วนที่ใช้นำข้อมูลจากโลกภายนอกเข้ามาภายในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาประมวลผล และเมื่อได้ผลลัพธ์ก็จะนำข้อมูลที่ได้มาแสดงผลให้โลกภายนอกคอมพิวเตอร์ได้รับทราบ
• หน่วยควบคุมการทำงาน หรือ Control Unit เป็นส่วนที่ใช้เชื่อมต่อแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน หน้าที่หลักๆคือทำการอ่านข้อมูลคำสั่งที่อยู่ภายในหน่วยความจำหรือที่ได้จากอุปกรณ์อินพุต ทำการแปลความหมายและส่งไปประมวลผลใน ALU จากนั้นนำผลที่ได้ไปจัดเก็บในหน่วยความจำหรืออุปกรณ์เอาต์พุต หน้าที่หลักอีกประการ คือควบคุมลำดับการทำงานของแต่ละขั้นตอนให้อยู่ในเวลาที่เหมาะสม
การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยประมวลผล จะรับคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำ โดยส่งเข้าที่ Queue Prefetch Unit จะตรวจสอบว่า ค่าใน Queue เป็นคำสั่งหรือไม่ ถ้าเป็นคำสั่งจะสั่งให้ Bus Interface Unit (BIU) ส่งค่าของคำสั่งไปที่ Decode Unit ถ้าเป็นค่าที่อยู่ (Address) ของหน่วยความจำ จะถูกส่งไปที่ Segment and Paging Unit Segment and Paging Unit จะแปลงที่อยู่ของหน่วยความจำ จากที่อยู่เสมือน (Virtual Address) ในรูปแบบของ segment : offset ให้กลายเป็นที่อยู่จริง (Physical Address) ที่ Bus Interface Unit เข้าใจ หน่วยถอดรหัส (Decode Unit) จะตรวจสอบและแยกแยะคำสั่ง แล้วแปลคำสั่ง และส่งสัญญาณควบคุมไปให้ Execution Unit ทำงานตามคำสั่งนั้นใน Execution Unit จะประกอบด้วย
Control Unit (CU) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานภายในโปรเซสเซอร์เป็นตัวสั่งงาน Unit อื่นๆตามคำสั่งที่แปลจาก Decode Unit Protection Test Unit จะป้องกันและตรวจสอบการทำงานของส่วนต่างๆ ไม่ให้ทำผิดกฏเกณฑ์ จนเกิดข้อผิดพลาดขึ้น Register จะทำหน้าที่เก็บค่าชั่วคราวก่อนและหลังการประมวลเพื่อส่งให้ส่วนอื่นๆต่อไป เป็นเหมือนกระดาษทดชัว่คราว สำหรับ ALU Arithmetic Logic Unit (ALU) เป็นส่วนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และหาค่าตรรกะของการเปรียบเทียบเมื่อ ALU คำนวณหรือเปรียบเทียบค่าเรียบร้อยแล้ว จะส่งไปเก็บไว้ที่ Register แล้ว Control Unit จะสั่งให้ BIU เก็บค่าผลลัพธ์ลงในหน่วยความจำ โดยแปลงที่อยู่เสมือนที่ Control Unit กำหนด ให้กลายเป็น ที่อยู่จริงของหน่วยความจำที่จะนำผลลัพธ์ไปเก็บไว้
หน่วยความจำเป็นพื้นที่การทำงานและเป็นพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามลำพังโดยอาศัยเพียงหน่วยประมวลผลหลักได้ หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ หน่วยความจำชั่วคราว หรือ หน่วยความจำสำรอง คือ แรม (RAM: Random Access Memory) โดยแรมจะเป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน และจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง อีกชนิดหนึ่งคือหน่วยความจำถาวร หรือหน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง
ณ ช่วงเวลาอันเร่งรีบนี้ อุปกรณ์ไอทีแบบเคลื่อนที่อย่าง " Notebook (โน้ตบุ๊ก) " กำลังเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจมากสำหรับนักธุรกิจหรือบุคคลที่ต้องการความสะดวกสบายในการใช้งาน เพราะในปัจจุบันนี้การเติบโตของ Notebook (โน้ตบุ๊ก) นั้น กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีความสามารถที่เทียบเท่าหรือสูงกว่าเครื่องเดสก์ทอปบางตัวด้วยซ้ำไปแล้ว จึงทำให้ Notebook (โน้ตบุ๊ก) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยในเรื่องของความคล่องตัวในการใช้งาน อีกทั้งยังมีสมรรถนะที่มากเกินตัวด้วยซ้ำไป และด้วยเทคโนโลยี Sonoma ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มใหม่ล่าสุดของ Intel Centrino Mobile Technology จึงทำให้ Notebook (โน้ตบุ๊ก) มีความสามารถที่เพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น อีกยังในตอนนี้ยังมี Notebook (โน้ตบุ๊ก) แบบ BTO กำเนิดขึ้นมาอีก ซึ่งสามารถที่จะทำการจัดสเปคเองได้อีก ทำให้ถูกใจผู้ใช้อีกหลายๆ คนเลยทีเดียว
โดยส่วนใหญ่แล้ว Notebook (โน้ตบุ๊ก) จะมีโครงสร้างและลักษณะที่คล้ายๆ กัน จะมีแตกต่างกันตรงที่น้ำหนัก สเปกภายในเครื่อง วัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่องและสีสัน รูปร่างหน้าตา ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของ Notebook (โน้ตบุ๊ก) ของแต่ละยี่ห้อ ส่วนประกอบและโครงสร้างจะคล้ายคลึงกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดสก์ท็อป ทั่วๆ ไป คือมีทั้ง ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ต่างๆ ว่
• "โปรเซสเซอร์" หรือ "ซีพียู" (CPU : Central Processing Unit)
หัวใจสำคัญที่ส่งผลโดยตรงกับความเร็วในการประมวลผลของ Notebook (โน้ตบุ๊ก) ก็คือ "ซีพียู" สำหรับ Notebook (โน้ตบุ๊ก) นี้นั้น จะมีซีพียูที่ผลิตมาใช้งานกับ Notebook (โน้ตบุ๊ก) หลักๆ อยู่ 3 ค่ายด้วยกัน คือ อินเทล (Intel), เอเอ็มดี (AMD) และทรานเมต้า (Transmeta) ซึ่งทั้งสามค่ายต่างก็ต่อสู้กันมาโดยตลอด แต่ค่ายที่ได้รับความนิยมและ ประสบผลสำเร็จมากที่สุดก็เห็นจะเป็นซีพียูจากค่ายของอินเทลผู้นี้นี่เอง ซีพียูที่ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Notebook (โน้ตบุ๊ก) นั้นจะมีด้วยกันหลายแบบ และหลาย ประเภท ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงแต่เฉพาะซีพียูที่มีขายในปัจจุบัน และเป็นซีพียูรุ่นที่หน้าสนใจของตลาด โดยจะเริ่มจากซีพียูของอินเทล
• ซีพียูอินเทลหลักๆ แล้วก็จะมีอยู่ด้วยกัน 3 รุ่น คือ เซลเลอรอน, เพนเทียมโฟร์ และเพนเทียมเอ็ม ซึ่งในแต่ละรุ่นก็ยังจะมีการแตกไลน์ออกไปอีก คือมีทั้งรุ่น ที่เป็นโมบาย (Mobile) และเป็นรุ่นธรรมดา แต่ ณ ปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิต Notebook (โน้ตบุ๊ก) จะเลือกใช้ซีพียูที่เป็นโมบายเสียเป็นส่วนใหญ่
ในส่วนของซีพียูที่เป็นโมบายนั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 3 รุ่นด้วยกัน ซึ่งในการแบ่งรุ่นนี้นั้น จะใช้การกินกระแสไฟ เป็นตัวบ่งบอก โดยจะมีในรุ่น Low Volt ซึ่งจะมีความเร็ว 866MHz, 733MHz ความเร็วบัส 133MHz FSB และ 650MHz ความเร็วบัส 100MHz FSB และรุ่น Ultra Low Volt จะมีความเร็ว 800MHz, 733MHz ความเร็วบัส 133MHz FSB และรุ่นความเร็ว 700MHz, 650MHz ความเร็วบัส 100MHz FSB นอกจาก
นั้นก็จะเป็นรุ่นธรรมดาซึ่งจะมีอยู่สองส่วนด้วยกันคือ รุ่นความเร็วบัส 133MHz ซึ่งจะมีความเร็ว 1.06GHz, 1.13GHz, 1.20GHz, 1.26GHz และ 1.33GHz ส่วนอีกรุ่นจะเป็นรุ่นความเร็วบัส 400MHz FSB ก็จะมีความเร็วตั้งแต่ 1.40GHz ถึง 2.50GHz โดยทั้งหมดนี้จะใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ 0.13 ไมครอน และมีขนาด L2 Cache 256KB กับ 128KB และมีชิปเซตที่สามารถรองรับการทำงานได้ดังนี้ 440ZX, 440MX, 815EM, 830MP, 830M, 830MG ซึ่งจะใช้หน่วยความจำแบบ SDRAM และ 852GM จะใช้หน่วยความจำแบบ DDR SDRAM
ซีพียูอินเทลซลเลอรอนจะใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ 0.13 ไมครอน และมีความเร็วตั้งแต่ 2.20GHz ถึง 2.80 GHz ใช้ความเร็วบัส 400MHz FSB มีขนาด L2 Cache 128KB สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำ แบบ DDR SDRAM ชิปเซตที่สามารถรองรับได้ก็จะมี 852GM, 852GME และ 852PM
Intel Celeron M Processor
อินเทลเซลเลอรอนเอ็มเป็นซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดของตระกูลเซลเลอรอน และเป็นเจนเนอร์เรชันใหม่ของ ซีพียูเซลเลอรอน ด้วย ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่นคือ รุ่นธรรมดา (Standard Volt) มีความเร็ว 1.20GHz, 1.30GHz และ 1.40 GHz ส่วนอีกรุ่นก็จะเป็นรุ่น Ultra Low Volt มีความเร็ว 800MHz และ 900MHz ใช้เทคโนโลยี ในการ ผลิตที่ 0.13 ไมครอน มีขนาด L2 Cache 512KB มีความเร็วบัส 400MHz FSB ใช้งานกับชิปเซตตระกูล 855 และชิปเซต 852GM
สำหรับซีพียูอินเทลเพนเทียมทรีเอ็มรุ่นนี้นั้น ยังคงมีให้เห็นกันอยู่บ้าง แต่เริ่มลดลงแล้ว เพราะได้ถูกแทนที่ด้วย ซีพียูอินเทลเพนเทียมเอ็มที่เป็นเซนทริโน โดยซีพียูอินเทลเพนเทียมทรีเอ็มจะใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ 0.13 ไมครอน มีขนาด L2 Cache 512KB และจะแบ่งเป็นรุ่น Low Volt ได้แก่ความเร็ว 1GHz, 933MHz, 866MHz และ 800MHz ที่มีความเร็วบัส 133MHz FSB และความเร็ว 850MHz กับ 800A MHz ที่มีความเร็วบัส 100MHz FSB ส่วนในรุ่นประหยัดพลังงานอย่าง Ultra Low Volt จะมีความเร็วที่ 933 MHz, 866MHz และ 800MHz ความเร็วบัส 133MHz FSB และรุ่นความเร็ว 900MHz, 850MHz และ 800MHz ที่ความเร็วบัส 100MHz FSB ใช้งานกับชิปเซตอินเทลตระกูล 830 สนับสนุนการทำงานกับ หน่วยความจำ SDRAM ความเร็ว 133MHz
ซีพียูตระกูลอินเทลเพนเทียมโฟร์ เป็นอีกซีรี่หนึ่งที่เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยขนาด L2 Cache 512KB ความเร็วเร็วบัส 533MHz FSB ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ 0.13 ไมครอน มีความเร็วตั้งแต่ 2.40GHz, 2.66GHz, 2.80GHz และ 3.06GHz นอกจากนั้นก็ยังจะมีซีพียูที่รองรับเทคโนโลยี Hyper-Threading ตั้งแต่ความเร็ว 2.66GHz, 2.80GHz, 3.06GHz และ 3.20GHz ทำงานร่วมกับชิปเซต 852 GME และ 852PM ที่สนับสนุนการทำงานกับหน่วยความจำ DDR SDRAM รองรับความเร็ว 333/ 266 MHz
อินเทลเพนเทียมโฟร์เอ็ม เป็นซีพียูที่ผลิตด้วยโทคโนโลยี 0.13 ไมครอน พร้อมด้วย Enchanced Intel SpeedStep Technology ที่เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยประหยัดพลังงานจากแบตเตอรี่ และเป็นการปรับ ความเร็วซีพียูในการใช้งานให้เหมาะสมกับแอพพลิเคชันนั้นๆ ใช้ความเร็วบัส 400MHz FSB โดยจะมีความ เร็วตั้งแต่ 1.40GHz ถึง 2.60GHz และจะใช้งานร่วมกับชิปเซตตระกูล Mobile Intel 845 สนับสนุนการ ทำงานกับหน่วยความจำ DDR SDRAM รองรับความเร็ว 200/266MHz
Intel Pentium M Processor (BaniasDothan) สำหรับซีพียูตระกูลนี้จัดว่าเป็นรุ่นที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน และประสิทธิภาพในการประหยัด พลังงานที่ดีที่ สุดอีกรุ่นหนึ่ง ที่เป็นรุ่นมาปฏิวัติวงการ Notebook (โน้ตบุ๊ก) ของโลกเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการรวบรวมเอาความสามารถ ในการ ใช้งานแบบไร้สายเข้าไว้ด้วยในตัว อีกทั้งยังเป็นการผสมผสานการทำงานที่ยอกเยี่ยม จึงถือว่าเป็นสุดยอดซีพียู แห่งยุคเลยก็ว่าได้ ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ 0.13 ไมครอน (130nm) มีขนาด L2 Cache ถึง 1MB ใช้ความ เร็วบัส 400MHz FSB ซึ่งจะมีทั้งรุ่น Standard, Low Volt และ Ultra Low Volt โดยในรุ่นธรรมดา (Standard) จะมีความเร็ว 1.30GHz, 1.40GHz, 1.50GHz, 1.60GHz และ 1.70GHz ส่วนในรุ่น Low Volt จะมีความเร็ว 1.10GHz, 1.20GHz และ 1.30GHz และส่วนในรุ่น Ultra Low Volt จะมีความเร็ว 900MHz, 1GHz และ 1.10GHz ใช้งานร่วมกับชิปเซตอินเทล 855GM, 855PM และ 855GME สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำ DDR SDRAM สามารถที่จะรองรับหน่วยความจำได้สูงสุดถึง 2GB และล่าสุดเพิ่งเปิดตัวในบ้านเราไปเมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา กับเจนเนอร์เรชันใหม่ของซีพียูอินเทล "เซนทริโน" โมบายเทคโนโลยี โค้ดเนม Dothan ที่ใช้สถาปัตยกรรม 90nm ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ 0.13 ไมครอน กับ L2 Cache ขนาดมหึมาถึง 2MB (2048KB) ใช้ความเร็วบัส 400MHz FSB ซึ่งจะมีความเร็ว ตั้งแต่ 1.70GHz, 1.80GHz และ 2GHz ใช้งานร่วมกับชิปเซตอินเทล 855GM, 855PM และ 855GME สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำ DDR SDRAM สามารถที่จะรองรับหน่วยความจำได้สูงสุดถึง 2GB
เทคโนโลยี Sonoma นั้นได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อต้นปี 2548 นี้เอง ซึ่งหลายคนคงจะได้ประจักษ์ในความสามารถที่เปี่ยมประสิทธิภาพของมันแล้ว โดยเทคโนโลยีนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอีกขั้นหนึ่งของวงการ Notebook (โน้ตบุ๊ก) ในบ้านเรา แพลตฟอร์ม Sonoma นี้ ยังคงได้รับประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมจาก Intel Centrino Mobile Technology อยู่แต่ก็มีอยู่หลายส่วนที่มีการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านมาตรฐานของซีพียูเอง ชิปเซตตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพที่สูงมากยิ่งขึ้น หน่วยความจำที่เพิ่มความสามารถโดยรวมของระบบให้โดดเด่นมากขึ้นกว่าเดิม ระบบการฟิก PCI Express และมาตรฐานการสื่อสารแบบไร้สายที่มีอัตราการส่งข้อมูลที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
การเปลี่ยนแปลงของระบบ Sonoma นี้มีอยู่หลายส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงและก็มีบางส่วนที่ยังคงใช้ระบบ Intel Centrino Mobile Technology อยู่ มาตรฐานซีพียูที่มากับแพลตฟอร์ม Sonoma นี้มาพร้อมกับซีพียู Intel Pentium M ในรหัส Aluiso ที่มีรุ่นใหม่ๆ ออกมาอีกหลายรุ่น โดยมีความเร็วที่แตกต่างกันออกไปในช่วงระหว่าง 1.2 GHz - 2.13 GHz โดยมีทั้งที่เป็นรุ่น ULV (Ultra Low Voltage) และรุ่น LV (Low Voltage) โดยจะมีรุ่นท็อปอย่าง Intel Pentium M 770 ซึ่งเป็นรุ่นที่มีความเร็วสูงมากถึง 2.13 GHz และมีหน่วยความจำแคช L2 ที่ขนาด 2MB พร้อมกับระบบบัส (FSB) 533 MHz