นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่
เทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทสำคัญในการช่วยการศึกษาให้บรรลุอุดมการณ์ทางการศึกษานโยบายการจัดการศึกษาของรัฐจะต้องจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคนหรือที่เรียกว่า การศึกษาเพื่อปวงชนทุกคนอันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำโอกาสทางการศึกษาสร้างความเท่าเทียมด้านการศึกษาเทคโนโลยีทางด้านการศึกษาในปัจจุบันไม่ว่าเป็นเทคโนโลยีด้านการศึกษาเทคโนโลยีด้านสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีทางด้านคมนาคมซึ่งเป็นประโยชน์ในด้านการจัดการศึกษาทั้งสิ้น เช่น การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม นักเรียนชนบททุรกันดารสามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับนักเรียนที่อยู่ในเมือง หรือ อยู่บ้าน โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเสียงบประมาณในการที่ จัดซื้อหาหนังสือมากมายเหมือนสมัยก่อนนอกจากนั้นผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่าง อิสระ นอกจากนั้นยังมีสื่อที่เป็น วิทยุ โทรทัศน์ ซีดีคอม สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำให้ประชาชนทุกคนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต แต่แนวโน้มในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่หรือคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นรูปแบบของการเรียนการสอนโดยนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเนื่องจากเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตมีลักษณะเฉพาะ คือ มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ ในการใช้เพื่อการเรียนการสอนผ่านเว็บซึ่งวงการศึกษาคงจะหลีกเลี่ยงได้ยากยิ่ง แต่ดิฉันรู้ศึกในส่วนตัวว่าอนาคตการศึกษาไทยที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์จะไม่มีคุณภาพโดยเฉพาะการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบและตามอัธยาศัยเหมือนกับที่อ่านในตำราเนื่องด้วยปัจจุบันนักศึกษาสามารถสืบหาข้อมูลโดยไม่ต้องเปิดตำราแค่เพียงไปค้นหาในอินเตอร์เน็ตก็เจอทำให้นักศึกษาบางคนอาจจะไม่ได้อ่านเนื้อหาเหล่านั้นให้เข้าใจอย่าถ่องแท้เป็นเพียงแค่สืบค้นแล้วนำมาตัดแปะปรับแต่งดังนั้นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องแนะนำให้นักเรียนนักศึกษาเข้าใจถึงประโยชน์และโทษที่แฝงมากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้วย
ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความสามารถในการใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะและประสบการณ์ทางเทคโนโลยีหรือการจัดการ มา พัฒนาและผลิตสินค้าใหม่กระบวนการผลิตใหม่ หรือบริการใหม่ ซึ่งตอบสนองความต้องการของตลาด ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ “การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และ ถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” ซึ่งแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ อุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยเน้นที่การสร้างสรรค์การวิจัยและ พัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันนําไปสู่การได้มาซึ่งนวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็ นหลัก และทฤษฎีที่รู้จักกันมากก็น่าจะเป็ น Thoery of Disruptive Innovation ของ Prof. Clayton Christensen แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ Diffusion of Innovation Theory ของ Prof. Everett Rogers ซึ่งพัฒนามาตั ้งแต่ปี1962 ทั ้งนี ้ความคิดและทฤษฎีเรื่องนวัตกรรมมีวิวัฒนาการมาอย่างน้อย 50 ปี แล้ว โดยช่วงทศวรรษที่ 1950 บรรดานักวิชาการมองว่านวัตกรรมเป็ นการพัฒนาอย่างหนึ่งที่แยกออกมาจากการศึกษาวิจัยต่างๆ แต่ใน ปัจจุบันนี ้นวัตกรรมไม่ได้ถูกมองว่าเป็ นเพียงผลลัพธ์ของการดําเนินงานของปัจเจกบุคคล หากแต่เป็ นผลของ กระบวนการ (process) ไม่ว่าจะเป็ นกระบวนการแก้ไขปัญหา (problem-solving process) ที่เกิดในองค์กร หรือกระบวนการปฏิสัมพันธ์ (interactive process) ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้มีบทบาท สําคัญอื่น ๆ มีได้ทั ้งแบบเป็ นทางการและไม่เป็ นทางการผ่านเครือข่ายความร่วมมือเชิงพาณิชย์ หรือ กระบวนการเรียนรู้แบบแปรผัน (diversified learning process) ซึ่งเป็ นการเรียนรู้ที่เกิดจากปัจจัยแตกต่างกัน เช่น การเรียนรู้โดยการใช้(learning by using) การเรียนรู้โดยการลงมือทํา (learning by doing) การเรียนรู้ โดยการแลกเปลี่ยน (learning by sharing) ซึ่งมีได้ทั ้งองค์ความรู้ภายในและภายนอกองค์กร ขึ ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพในการดูดซับความรู้ขององค์กร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี ( Technology ) คือการประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ที่เกี่ยวข้องการผลิต การสร้างวิธีการดำเนินงาน และรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่ได้มีในตามธรรมชาติโลกแห่งเทคโนโลยียุคนี้ ทำให้มนุษย์ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกจากเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันมากมายนับไม่ถ้วน
สารสนเทศ ( Information ) คือผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบ (Rau data ) ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และนำมาผ่านกระบวนการประเมินผล ไม่ว่าจะเป็นการจัดกลุ่มข้อมูล การเรียงลำดับข้อมูล การคำนวณและสรุปผล จากนั้นก็นำมาเสนอในรูปแบบของรายงานที่เหมาะสมต่อการใช้งานที่ก่อเกิดประโยชน์การดำเนินชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นด้านของชีวิตประจำวัน ข่าวสาร ความรู้ด้านวิชาการ ธุรกิจ
เมื่อนำคำว่า เทคโนโลยี และ สารสนเทศ รวมเข้าไว้ด้วยกันแล้ว จึงสรุปความหมายโดยรวมได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information technology ) คือการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาสาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสาร ตลอดจนอาศัยความรู้ในกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ รวมถึงการจัดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่
ระบบบอกตำแหน่ง
ปัจจุบันมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นที่โลกได้ที่รู้จักกันในชื่อของจีพีเอส (Global Positioning system: GPS ) ซึ่งจะทำงานร่วมกับดาวเทียมที่โคจรอยู่รอบโลก ในระดับความสูงประมาณ 20,200 กิโลเมตร ทำให้สามารถบอกตำแหน่งได้ทุกแห่งบนโลก โดยความแม่นยำจะขึ้นอยู่กับจำนวนดาวเทียมที่จีพีเอสทำงานร่วมกับสภาพอากาศ ในปัจจุบันได้นำระบบนี้มาใช้งานด้านต่างๆมากมาย เช่น การหาตำแหน่งบนพื้นที่โลก การนำมาสร้างเป็นระบบนำทาง(navigator system) การติดตามบุคคลหรือติดตามยานพาหนะ นอกจากนี้ระบบจีพีเอสยังสามารถนำมาใช้อ้างอิงเพื่อปรับเวลาได้ถูกต้อง โดยใช้เวลาจากดาวเทียมทุกดวงซึ่งมีเวลาตรงกัน
จีพีเอสนิยมใช้ในรถยนต์เพื่อเป็นระบบนำทาง โดยจะทำงานร่วมกับโปรแกรมแผนที่ที่บรรจุในตัวเครื่อง ปัจจุบันมีการนำระบบจีพีเอสไปติดตั้งในเครื่องพีดีเอ กล้องดิจิทัล และโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน การใช้งานจีพีเอสเพื่อระบุตำแหน่งของโลกจำเป็นต้องติดต่อกับดาวเทียมอย่างน้อย3ดวงในกรณีที่ต้องทราบความสูงของตำแหน่งจากพื้นที่โลกด้วย จะต้องติดต่อกับดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง
อาร์เอฟไอดี
อาร์เอฟไอดี ( Radio Frequency Identificalion:RFID ) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุในการอ่านข้อมูลอาร์เอฟไอดีถูกนำไปใช้ในงานต่างๆ เช่น ระบบป้องกันการขโมยสินค้าในร้านค้า ระบบอ่านบัตรประจำตัวพนักงาน ระบบเก็บค่าผ่านทางต่างๆ โครงสร้างของระบบประกอบด้วยส่วนย่อย 2 ส่วนคือ ทรานสปอนเดอร์(transponder) และเครื่องอ่าน(reader)
2.1 ทรานสปอนเดอร์ อุปกรณ์ตัวนี้มีลักษณะเป็นสลากหรือชิปติดอยู่บนหัววัตถุที่ต้องการอ่านข้อมูล เช่น ตัวสินค้า บัตรประจำตัว ผิวหนังสัตว์ หรือฝังอยู่ใต้ผิวหนัง บางครั้งเรียกทรานสปอนเดอร์ว่า แท็ก (tag)
2.2 เครื่องอ่าน เครื่องอ่านเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่อ่าน หรือทั้งอ่านและเขียนข้อมูลไปยังทรานสปอนเดอร์ โดยมใช้คลื่นความถี่วิทยุตามมาตรฐานอาร์เอพไอดีที่ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน เคริ่องอ่านบางชนิดเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการประมวลผล เมื่อทรานสปอนเดอร์อยู่ในพื้นที่บริการของเครื่องอ่าน ทร่านสปอนเดอร์จะอยู่ในสถานะทำงาน แต่ถ้าทรานสปอนเดอร์ไม่อยู่ในพื้นที่บริการจะไม่มีการทำงานใดๆเกิดขึ้น ถ้าแบ่งทรานสปอนเดอร์ตามแหล่งจ่ายพลังงานจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ แบบมีแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าภายใน และแบบไม่มีแห่ลงจ่ายพลังงานไฟฟ้าแต่จะรับคลื่นวิทยุจากตัวอ่าน และเหนี่ยวนำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าให้ใช้ขึ้นมาเอง ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้อาร์เอฟไอดีในหลายด้าน มีการออกแบบทรานสปอนเดอร์ลักษณะต่างๆให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ประโยชน์ของอาร์เอฟไอดี
1.สามารถอ่านทรานสปอนเดอร์พร้อมกันหลายๆชิ้นและใช้ได้รวดเร็ว
2.ทนต่อความแปกชื้น
3.มีความปลอดภัยสูง ยากต่อการปลอมแปลงและเลียนแบบ
4.ป้องกันการอ่านข้อมูลซ้ำของวัตถุชิ้นเดียวกัน
5.สามารถอ่านข้อมูลได้โดยไม่จำเป็นต้องมองเห็นตัวทรานสปอนเดอร์
เทคโนโลยีบรอดแบนไร้สาย
ระบบสื่อสารมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องปัจจุบันมีเทคโนโลยีแบบไร้สายที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ระบบจีเอสเอ็ม(Global System for Mobile Communication:GSM ) การพัฒนาโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นพัฒนามาหลายรุ่น เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีตั้งแต่ยุคที่2(2G) จนถึงยุคที่3(3G) โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค2G เริ่มมีการบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิทัลแต่การรับส่งข้อมูลนั้นยังม่มีประสิทธิภาพมากนักต่อมาผู้ให้บริการมีการตอบสนองความต้องการด้านการรับส่งข้อมูลให้กับลูกค้า โดยพัฒนามาเป็นยุคของ2.5G มีการนำระบบจีพีอาร์เอส (General Packet Radio service: GPRS ) มาใช้ร่วมกับระบบจีเอสเอ็มทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ในระบบนี้สามารถรับส่งข้อมูลและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
ผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่นำเทคโนโลยีจีพีอาร์เอสมาใช้จะต้องมีการปรับการทำงานของเครือข่ายโดยการนำซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เพิ่มเข้าไปในระบบเพื่อแยกเส้นทางที่ส่งเสียงข้อมูลเสียงพูดออกจากเส้นทางที่ใช้ส่งข้อมูล เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสนี้สามารถสื่อสารข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุด171.2 กิโลบิตต่อวินาที
ต่อมาได้มีการปรับปรุงระบบจีพีอาร์เอสให้มีความเร็วในการสื่อสารสูงขึ้นถึง384กิโลบิตต่อวินาที เทคโนโลยีนี้มีชื่อว่าเอจ(Enhanced Data Rates for Global Evolution:EDGE ) ซึ่งจัดอยู่ในยุค 2.75G
ถ้าหากพิจารณาการนำเทคโนโลยีของโทรศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ในการรับส่งข้อมูลที่ไม่ใช่เสียงแล้วเครือข่ายแบบจีพีอาร์เอสสามารถใช้บริการรับส่งไฟล์รูปภาพ เสียงเพลง หรือไฟล์มัลติมิเดี่ยต่างๆได้ดีขึ้น
3.1 เทคโนโลยี 3G แม้ว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2.5G หรือ 2.75G จะสามารถตอบสนองการใช้งานมากกว่าการสื่อสารด้วยเสียงเพียงอย่างเดียว แต่มีข้อจำกัดหลายประการเนื่องจากเป็นการนำเทคโนโลยีเก่ามาต่อยอดการทำงานในระบบเดิมทำให้ไม่มีผู้ให้บริการรายใดสามารถให้บริการจีพีอาร์เอสที่อัตราเร็ว171.2กิโลบิตต่อวินาทีหรือเอจที่อัตราเร็ว384กิโลบิตต่อวินาที ต่อมาได้มีการพัฒนามาถึงยุคที่3 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถสื่อสารข้อมูลมัลติมีเดียด้วยความเร็วสูง สำหรับในระบบ 3G จะทำงานในระบบซีดีเอ็มเอ(Code Division Multiple Access: CDMA) อัตราเร็วในการรับส่งข้อมูล(transmission rate)ไม่ต่ำกว่า2เมกะบิตต่อวินาที ผู้ใช้สามารถใช้งานมัลติมีเดียความเร็วสูงได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การรับชมวีดิทัศน์จากอินเทอร์เน็ต การสนทนาแบบเห็นภาพคู่สนทนา
เมื่อเทคโนโลยี 3G ทำให้การสื่อสารทางโทรศัพท์เคลื่อนที่เร็วขึ้นจึงมีการพัฒนาบริการต่างๆขึ้นอีกมากมาย เช่น มีการให้บริการแบบมัลติมีเดียที่สามารถรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ มีการประชุมทางไกลผ่านหน้าจอของโทรศัพท์เคลื่อนที่
3.2 เทคโนโลยี 4G ในอนาคตเทคโนโลยี3Gอาจมีความเร็วและคุณภาพของการส่งข้อมูลไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของโปรแกรมประยุกต์ที่ต้องทำงานด้วยความเร็วสูง จึงมีการพัฒนาระบบ 4G ที่ทำให้ส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วที่สูงกว่า 3G มีการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดอัตราในการส่งข้อมูไม่ต่ำกว่า100เมกะบิตต่อวินาที
การประมวลผลภาพ
คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเกี่ยวข้องกับภาพ (image) หรือรูปภาพ (picture) ได้หลากหลายลักษณะคอมพิวเตอร์กราฟิกเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลแล้วสร้างเป็นภาพขึ้นมาส่วนการประมวลผลภาพ(image processing) เป็นการนำภาพมาเปลี่ยนเป็นขิ้มูลดิจิทัล แล้วใช้กรรมวิธีใดๆมากระทำกับข้อมูลภาพเพื่อให้ได้ภาพที่มีคุณสมบัติตามต้องการ
ตัวอย่างการนำการประมวลผลภาพไปใช้งาน เช่น ระบบตรวจกระดาษคำตอบ โดยมีการเปรียบเทียบภาพกระดาษคำตอบที่ถูกต้องกับกระดาษคำตอบที่ตรวจว่าตำแหน่งตรงกันหรือไม่ ถ้าตำแหน่งตรงกันก็จะได้คะแนน ระบบตรวจจับใบหน้าในกล้องดิจิทัล โดยกล้องจะมีระบบตรวจว่าส่วนไหนของภาพมีลักษณะคล้ายใบหน้า แล้วกล้องก็จะทำการโฟกัสตำแหน่งที่ตรวจจับเพื่อภาพมีความคมชัดมากขึ้น เช่น ระยะห่างระหว่างคิว มุมปาก จมูก โหนกแก้ม โครงหน้า ระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อรักษาความปลอดภัย โดยกล้องจะเปรียบเทียบภาพก่อนหน้าและภาพปัจจุบัน ถ้ามีส่วนใดเปลี่ยนแปลงระบบจะบันทึกเฉพาะภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการเก็บภาพและสามารถตรวจสอบได้ในภายหลัง ระบบอ่านบาร์โค้ด โดยระบบนี้จะอ่านรหัสจากบาร์โค้ด แล้วแปลงเป็นข้อมูลซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้ เช่น QR code, Microsoft tag ภาพที่นำมาประมวลผลนั้นเป็นได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ในการนำภาพนิ่งเข้ามาประมวลผลนั้น โปรแกรมจะอ่านไฟล์ภาพขึ้นมาแล้วถอดรหัสจากค่าสีของภาพแต่ระจุดเป็นตัวเลข เพื่อนำมาประมวลผลสำหรับการประมวลผลภาพเคลื่อนไหวนั้นโปรแกรมจะมองเป็นภาพนิ่งหลายภาพที่เรียงต่อกันนั้นเอง
การแสดงภาพ3 มิติ
ภาพ3มิติ เป็นวิธีแสดงภาพให้ผู้ชมมองเห็นภาพมีมิติในแนวกว้าง แนวยาว และแนวลึก ปัจจุบันมีการนำเอาเทคนิคการแสดงภาพ3มิติไปใช้ในการผลิตภาพยนต์ต่างๆ เพื่อให้มีมิติมากขึ้น จะเห็นตัวอย่างภาพยนต์ที่ฉายในโรงภาพยนต์หรืออยู่ในรูปแบบวีซีดี เทคนิการแสดงภาพ3มิติ เป็นการนำภาพ2มิติมาแสดงผล โดยมีเทคนิคการแสดงภาพที่ทำให้ตาข้างซ้ายและข้างขวามองเห็นภาพของวัตถุเดียวกันในมุมมองที่แตกต่างกันส่งผลให้สมองตีความเป็นภาพที่มีความลึก
ตัวอย่างเทคนิคการแสดงภาพ3มิติมีดังนี้
5.1 การแสดงภาพแบบแอนากลิฟ การแสดงภาพแอนากลิฟ (anaglyph) เป็นการฉายภาพสำหรับตาซ้ายและตาขวาที่มีโทนสีแตกต่างกันลงบนฉากรับภาพเดียวกัน โทนสีที่ใช้มักจะใช้เป็นสีแดงและน้ำเงิน การมองด้วยตาปล่าวจะทำให้เห็นเป็นภาพซ้อนและเหลื่อมกันเล็กน้อย การมองภาพให้เป็นภาพ3มิติ จึงต้องใช้แว่นที่มีแผ่นกรองแสงด้านหน้ามีข้างหนึ่งเป็นสีแดงและอีกข้างหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน แว่นนี้ทำหน้าที่ตัดสีที่ตรงกับสีของแว่นออกไป โดยที่แว่นตาข้างที่มีสีแดงจะตัดภาพสีแดงออกไป ทำให้เห็นแต่ภาพที่มีแต่สีน้ำเงินส่วนแว่นตาข้างที่เป็นสีน้ำเงินจะตัดภาพส่วนที่เป็นสีน้ำเงินออกไปทำให้เห็นแต่ภาพที่เป็นสีแดงซึ่งจะทำให้ตาทั้งสองข้างมองเห็นภาพในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป และสมองจะตีความให้เสมือนว่ามองเห็นภาพเห็น3มิติ
5.2 การแสดงภาพแบบโพลาไรซ์3มิติ การแสดงภาพแบบโพลาไรซ์3มิติ (polarized 3-D) มีการทำงานที่คล้ายกับแอนากลิฟโดยการฉายภาพลงที่ฉากรับภาพเดียวกัน และมีมุมมองของภาพที่แตกต่างกันแต่เปลี่ยนจากการใช้สีเป็นตัวตัดภาพไปใช้วิธีการวางตัวของช่องมองภาพแต่ละภาพที่ฉายซ้อนกันแทน เช่น แว่นตาข้างซ้ายจะมองเห็นภาพผ่านช่องในแนวตั้งส่วนแว่นข้างขวาจะมองเห็นภาพผ่านช่องในแนวนอนทำให้ตาแต่ละข้างมองเห็นภาพไม่เหมือนกันเมื่อสมองรวมภาพจากตาซ้ายและตาขวาจะมองเห็นภาพเป็น3มิติดังรูปที่1.11แว่นตาที่ใช้เป็นแว่นตาโพลาไรซ์สำหรับมองภาพโพลาไรซ์โดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้ภาพมีสีสันสมจริงมากกว่าแบบแอนะกลิฟเทคนิคนี้นิยมใช้ในภาพยนต์3มิติ
5.3 การแสดงภาพแบบแอ็กทิฟชัตเตอร์ การแสดงภาพแบบแอ็กทิฟชัตเตอร์ (active shutter) จะต้องอาศัยการฉายภาพที่มีความถี่ในการแสดงภาพอย่างน้อย120เฮิรตซ์ เนื่องจากจะต้องแสดงภาพสำหรับตาซ้ายและตาขวาสลับกัน ดังนั้นการแสดงภาพจะเป็นลำดับซ้าย-ขวา สลับไปจนครบ120ภาพใน1วินาทีตาข้างซ้ายและข้างขวาจึงเห็นข้างละ60ภาพใน1วินาทีซึ่งเป็นความถี่ขั้นต่ำที่ทำให้ไม่รู้สึกว่าภาพสั่น การฉายภาพลักษณะนี้จะต้องใช้แว่นตาแอ็กทิฟชัตเตอร์ มาช่วยในการมองภาพโดยแว่นตาจะสื่อสารกับเครื่องฉายว่าจะบังตาข้างไหนในขณะฉายภาพ เช่น ภาพสำหรับตาซ้าย เครื่องฉายจะส่งสัญญาณให้แว่นบังตาข้างขวา หรือถ้าเครื่องฉายแสดงภาพที่ต้องใช้ตาขวาดู เครื่องฉายก็จะส่งสัญญาณให้แว่นบังตาข้างซ้าย
5.4 การแสดงภาพแบบพาราแลกซ์บาร์เรีย การแสดงภาพ 3 มิติก่อนหน้านี้จำเป็นจะต้องใช้แว่นตาในการมองเห็นเป็นภาพ3มิติ แต่การแสดงภาพแบบพาราแลกซ์บาร์เรีย(parallax barrier)จะไม่ใช้แว่นตา ซึ่งโดยวิธีนี้จะแบ่งภาพที่มีมุมกล้องต่างกัน ออกเป็นแท่งแล้วนำไปวางสลับกันโดยมีชั้นกรองพิเศษที่เรียกว่า พาราแลกซ์บาร์เรีย ในการแบ่งภาพให้ตาแต่ละข้างที่มองผ่านชั้นกรองนี้เห็นภาพที่แตกต่างกัน แล้วสมองจะรวมภาพจากตาซ้ายและตาขวาที่มีมุมมองต่างกันนี้ให้เป็นภาพเดียว ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพ3มิติ ได้ด้วยตาเปล่า
มัลติทัช
ในการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะใช้คีบอร์ด เมาส์ และแป้นสัมผัสเป็นอุปกรณ์รับข้อมูล นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์ที่ออกแบบพิเศษที่ติดเข้ากับจอภาพหรือจอภาพชนิดพิเศษที่สามารถรับข้อมูลโดยใช้นิ้วสัมผัสที่จอภาพโดยตรงเรียกว่า จอสัมผัส (touch screen) ทำให้การใช้งานมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้โดยตรง ตัวอย่างเช่นจอสัมผัสตู้เอทีเอ็ม จอสัมผัสแสดงข้อมูลร้านค้าในห้างสรรพสินค้า จอสัมผัสเครื่องจีพีเอส จอสัมผัสเครื่องพีดีเอ จอสัมผัสสมาร์ทโฟน จอสัมผัสเหล่านี้สั่งการโดยใช้สไตลัส(stylus)หรือ นิ้วสัมผัสบนจอ การสั่งการที่สัมผัสจอภาพทีละจุด เรียกว่า ซิงเกิลทัช(single tonch)
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถรองรับคำสั่งผ่านหน้าจอสัมผัสได้หลายจุดพร้อมกัน เรียกว่า มัลติทัช (multi touch)เทคโนโลยีนี้ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ พีดีเอ และสมาร์ทโฟนแตกต่างกันออกไปแทนที่จะให้อุปกรณ์นั้นรับรู้การเลือกเพียงจุดเดียวในเวลาหนึ่ง ก็ทำให้อุปกรณ์รับรู้สิ่งที่สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเลือกหลายจุดพร้อมกันในเวลาเดียวกัน การรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากรูปแบบการเคลื่อนไหวของนิ้วมือลายนิ้วของผู้ใช้สัมผัสไปที่จอภาพโดยตรงหรือในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ผู้ใช้สามารถสัมผัสที่แผงแป้นสัมผัสหรือที่เรียกว่าทัชแพด (tonchpad) เพื่อเลือกเลื่อนหรือขยายวัตที่แสดงผลอยู่
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่มีการนำเทคโนโลยีมัลติทัชมาใช้ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์แสดงภาพกล้องดิจิทัล แท็บเล็ต จอภาพคอมพิวเตอร์ การใช้งานเทคโนโลยีมัลติทัชจำเป็นต้องอาศัยการออกแบบโปรแกรมให้เหมาะสมกับรูปแบบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย อาจแยกได้เป็นสองลักษณะ คือ จุดที่เกิดเหตุการณ์และทิศทางการเคลื่อนไหวของจุดที่เกิดเหตุการณ์เช่น จุดที่วางนิ้ว การเลื่อนนิ้วไปทางทิศเดียวกันจากซ้ายไปขวาการเลื่อนนิ้วไปคนละทิศห่างออกจากกันหรือเข้าหากัน รูปแบบเหตุการณ์อาจจะมีตั้งแต่1จุด ที่ใช้นิ้วเดียวในการทำงานจนกระทั่งหลายจุดที่ใช้หลายนิ้วในการทำงาน โปรแกรมที่ใช้งานแบบมัลติทัชจำเป็นต้องอาศัยฮาร์ดแวร์ที่รองรับการทำงานแบบ มัลติทัชด้วย เช่น จอแสดงภาพแบบมัลติทัชแป้นสัมผัสแบบมัลติทัช
อ้างอิง
กูหารง บูซาแล. (ม.ป.ป.). ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ12 ธันวาคม 2558.
ปานไพลิน ปะวะภูตา. 2556. บทความเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2558.
เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2558