บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : เนื้อหาสาระของตำราเล่มนี้มีบทนำที่น่าสนใจจำนวน ๗ บท ดังสรุปได้ดังนี้
บทที่ ๑. แนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา กระบวนการการเกิดนวัตกรรม ขั้นตอนการตัดสินใจยอมรับนวัตกรรม คุณลักษณะของนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการยอมรับจากนวัตกรรมสู่เทคโนโลยี ขอบเขตและองค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษา แนวคิด หลักการ ทฤษฎีพื้นฐานที่สำคัญทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา พัฒนาการทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา พัฒนาการทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
บทที่ ๒. เทคโนโลยีสาสนเทศเพื่อการศึกษา องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ประเภทของระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์การ แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก มัลติมีเดีย อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ก ระบบการเรียนการสอนทางไกล วีดีโอเทเลคอมเฟอเรนซ์ ระบบวีดีโอออนดีมานด์ อินเตอร์เน๊ต
บทที่ ๓. การสื่อสารกับการเรียนรู้ การสื่อสารกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ลักษณะของการสื่อสาร วิธีของการสื่อสาร รูปแบบของการสื่อสาร ประเภทของการสื่อสาร องค์ประกอบของการสื่อสาร แบบจำลองของการสื่อสาร การสื่อสารกับการเรียนการสอน
บทที่ ๔. วิธีระบบกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ องค์ประกอบของระบบ ระบบใหญ่และระบบย่อย การจัดระบบ การวิเคราะห์ระบบ การสร้างแบบจำลองระบบการสอน การจัดระบบการสอน การนำวิธีระบบมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้ระบบการสอน
บทที่ ๕. การออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของสื่อการสอน การออกแบบสื่อการเรียนการสอน กระบวนการการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน การวางแผนใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน การทดสอบหาประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน
บทที่ ๖. แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ ความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ ประเภทแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายสำหรับนักศึกษา คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้ การนำเครือข่ายการเรียนรู้มาใช้ในกระบวนการศึกษา
บทที่ ๗. วิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย การเปลี่ยนบทบาทของครู การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหา ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศปัญหาและแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ICT
สรุปสาระสำคัญของผลงานทางการศึกษา : นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือการดัดแปลงจากของเดิมให้ทันสมัยและใช้ได้ดียิ่งขึ้น เมื่อนำสิ่งใหม่เหล่านั้นมาใช้การทำงานแล้ว จะทำให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นวัตกรรมมี ๕ ลักษณะ คือ ความคิด หรือการกระทำนั้นใหม่ในบ้านเราทั้งๆ ที่เก่ามาจากที่อื่น ความคิดหรือการกระทำนั้นใหม่ขณะนี้ ความคิดหรือการกระทำนั้นใหม่เนื่องจากมีความคิด ฯลฯ เป็นต้น กระบวนการเกิดนวัตกรรมที่สำคัญ ๓ ขั้นตอน คือ
๑. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมกับสภาพงาน
๒. มีการตรวจสอบหรือทดลองและปรับปรุงพัฒนา
๓. มีการนำมาใช้หรือปฏิบัติในสถานการณ์จริง ซึ่งแตกต่างจากการปฏิบัติที่เคยปฏิบัติมาจึงเป็นนวัตกรรมที่สมบูรณ์
แนวคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมานั้น กว่าที่บุคคลจะเกิดการยอมรับและตัดสินใจนำไปใช้จะต้องผ่านการตัดสินใจอย่างเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นความรู้ ขั้นจูงใจ ขั้นการตัดสินใจ ขั้นการนำไปใช้และขั้นการยืนยัน คุณลักษณะของนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการยอมรับมีดังนี้
๑. การได้รับประโยชน์จากนวัตกรรม
๒. การเข้ากันได้กับสิ่งที่มีอยู่เดิม
๓. ความซับซ้อน
๔. ทดลองปฏิบัติได้
๕. สังเกตเห็นผลได้
เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการผสมผสานองค์ประกอบทั้งหลายที่จะเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
ขอบเขตและองค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษา ความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ดังนี้
๑. ช่วยนำมวลประสบการณ์เข้ามาจัดการศึกษา
๒. ช่วยขยายแหล่งวิทยากรมนุษย์ ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด
๓. ช่วยจัดสภาวะการเรียนได้อย่างหลากหลาย
๔. ทำให้คุณภาพของสถานศึกษาเท่าเทียมกัน
๕. ทำให้เกิดผลการเรียนรู้หลายด้าน
๖. ช่วยอำนายความสะดวกให้กับนักเรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
๗. ช่วยให้เกิดเหตุการณ์สอนที่สำคัญที่ทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ
๘. ช่วยทำให้เกิดภาวะเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับการเรียนการสอน
ระบบสารสนเทศ (Information System) ประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร ระเบียบปฏิบัติงานข้อมูลและการเชื่อมต่อ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ คือ ส่วนต่างๆ ที่ทำให้ระบบสารสนเทศทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ฮาร์ตแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูลและเครือข่าย ประเภทของระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กร จำแนกได้ดังนี้
๑. ระบบประมวลผลรายการ (TPS)
๒. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS)
๓. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)
๔. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (EIS)
๕. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
สื่อ (Media) คือ ตัวกลางที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราว สาระ ความรู้สึกและ ฯลฯ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ วิธีของการสื่อสารแบ่งออกเป็น ๒ วิธี คือ การสื่อสารโดยอาศัยคำเป็นสัญลักษณ์หรือเรียกว่า วจนภาษา (Verbal Communication) กับการสื่อสารโดยอาศัยสัญลักษณ์อย่างอื่นนอกจากคำหรือเรียกว่า อวัจนภาษา รูปแบบการสื่อสาร แบ่งออกเป็น ๒ รูปแบบ คือ การสื่อสารทางเดียว (One – Way Communication) กับการสื่อสารสองทาง (Two – Way Communication) ประเภทการสื่อสารแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ การสื่อสารภายในตัวบุคคล (Interpersonal Communication) องค์ประกอบของการสื่อสาร คือ สิ่งที่ประกอบกันเข้าจนเป็นกระบวนการสื่อสารที่สมบูรณ์มีผู้ส่งสารหรือต้นแหล่งของสาร สาร สื่อหรือช่องทาง ผู้รับ ผล และข้อมูลป้อนกลับ
วิธีการนำระบบมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน ดังนี้
๑. การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขต
๒. การออกแบบ
๓. การพัฒนารูปแบบและการทดลองใช้
๔. การประเมินและการปรับปรุง
ประโยชน์ของการใช้ระบบการสอน สามารถนำไปได้ดังนี้ คือ ระบบการสอนเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จัดวางองค์ประกอบของการสอนไว้อย่างเป็นระเบียบ ส่งเสริมให้การจัดการสอนมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ครูทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้ครูได้นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะต่างๆ ไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการเรียนการสอนและการนำวิธีการเชิงระบบไปใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา
การจำแนกสื่อประเภทสื่อตามทรัพยากรการเรียนรู้มี ๕ แบบ คือ คน (People) วัสดุ (Material) อาคารสถานที่ (Setting) เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tool and Equipment) และกิจกรรม (Activities)
แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่านการค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นแหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติและเป็นแหล่งสร้างเสริมความรู้ความคิด วิทยาการและประสบการณ์ ประเภทของแหล่งการเรียนรู้แบ่งได้ตามลักษณะการแบ่งของแต่ละบุคคล มี ๒ ประเภท ดังนี้
๑. จัดตามลักษณะของแหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ แหล่งการเรียนรู้ตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ป่าไม้ กรวด หิน ทราย ชายทะเล เป็นต้น แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดศิลปวัฒนธรรม เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ เป็นต้น และบุคคลถ่ายทอดความรู้ความสามารถ
๒. จัดตามแหล่งที่ตั้งของแหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้สำหรับการศึกษา ได้แก่ ห้องสมุดและฐานข้อมูล แหล่งทัศนศึกษา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี
ตัวอย่างเครือข่ายการเรียนรู้ในประเทศไทย เช่น เครือข่ายยูนิเน็ต (UNINET) สคูลเน็ต (School Net) เครือข่ายนนทรี (http://llocs. และโทรทัศน์ครู
จุดเด่นและความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : หนังสือนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษานี้มีจุดเด่นที่น่าสนใจสำหรับการศึกษาโดยเฉพาะ ได้แก่
จุดเด่นที่ ๑. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีรวมกันกับการออกแบบโปรแกรมการสอนมาใช้ช่วยสอน เรียกทั่วไปเรียกว่า บทเรียน ปัจจุบันอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) หมายถึงการนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวเหมาะกับการศึกษาด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนได้ตลอด
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายแบบ มีลักษณะการใช้ดังนี้
๑. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการสอน (Tutoring)
๒. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการฝึก (Drill and Practice)
๓. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation)
๔. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อเป็นเกมในการเรียนการสอน
๕. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการทดสอบ (Testing)
๖. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการไต่ถามข้อมูล (Inquiry)
จุดเด่นที่ ๒. ระบบการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) หมายถึง การเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน ใช้วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์ โดยอาศัยสื่อประสมในหลายรูปแบบ ได้แก่ สื่อที่เป็นหนังสือ สื่อทางไปรษณีย์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ การประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ช่วยให้ผู้เรียนที่อยู่ต่างถิ่นที่กันสามารถศึกษาความรู้ได้
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนทางไกล ได้แก่
๑. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่มีอิสระในการกำหนดเวลา สถานที่ และวิธีเรียน เช่น การสอนสดโดยผ่านสื่อสารทางไกลและผ่านระบบสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
๒. ผู้สอนเน้นการสอนโดยใช้สื่อสารทางไกลแบบ ๒ ทาง และอาศัยสื่อหลายชนิด ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้ด้วยตนเองได้
๓. ระบบบริหารและการจัดการ จัดโครงสร้างอื่นๆ เพื่อเสริมการสอน เช่น การจัดศูนย์วิทยุบริการ จัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ระบบการผลิตสื่อและจัดส่งสื่อให้ผู้เรียนโดยตรง
๔. การควบคุมคุณภาพ จัดทำอย่างเป็นระบบและดำเนินการต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยเน้นการควบคุมคุณภาพในด้านองค์ประกอบของการสอน เช่น ขั้นตอนการวางแผนงานละเอียด ฯลฯ เป็นต้น
กระบวนการการเรียนการสอน มีขั้นตอนสำคัญๆ ๓ ขั้นตอน คือ การเรียน-การสอน การถาม-ตอบ และการประเมินผล
จุดเด่นที่ ๓. อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีรากฐานความเป็นมา โดยการสนับสนุนของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาที่มีความประสงค์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ อินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ต่อการศึกษามาก ทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ตื่นตัวต่อการใช้ ทั้งนี้เพราะว่าในระบบเครือข่ายมีข้อมูล ข่าวสารที่ต้องการมากมาย จึงมีอัตราการขยายตัวของผู้ใช้สูง และครอบคลุมทุกแห่งทั่วโลก จึงทำให้อินเตอร์เน็ตมีบทบาทต่อการศึกษาดังนี้
๑. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล
๒. ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตมีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก
๓. การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต มีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกันและติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลก ทำให้การค้นหาข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้น
๔. ฐานข้อมูล เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสารและมีรูปภาพจนมาปัจจุบัน ฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นแบบมัลติมีเดีย มีทั้งข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์และเสียง
๕. การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่ม บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย
๖. การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ FTP (Files Transfer Protocol) สามารถโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆ ได้ โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว
๗. การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกล ผู้เรียนอาจจะเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลเป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้และต่างมหาวิทยาลัยได้ด้วย
อื่นๆ ตามความเหมาะสม : เนื้อหาสาระที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาสาระอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ได้ อาทิเช่น
๑. การออกแบบสื่อการเรียนการสอน เป็นการวางแผนสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการเรียนการอสนให้มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น หลักการ ทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา ทฤษฎีจิตวิทยาการศึกษาและหลักการทางศิลปะ ฯลฯ เป็นต้น ลักษณะการออกแบบที่ดีควรเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของการนำไปใช้ ง่ายต่อการทำความเข้าใจเหมาะสมกับสภาพการใช้งานของสื่อและควรมีความกลมกลื่นกับส่วนประกอบและสภาพแวดล้อม
๒. ปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน หรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ๓ ด้าน คือ พุทธพิสัย จิตตพิสัยและทักษะพิสัย การออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน ผู้ออกแบบต้องศึกษาองค์ประกอบของการออกแบบหรือส่วนประกอบในการสร้างภาพ ได้แก่ จุด (Dots) เส้น (Line) รูปร่าง (Shape) รูปทรง (Form) แสงและเงา (Light and Shade) สี (Color) และลักษณะพื้นผิว (Texture)
๓. การใช้นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย ๓.๑ ใช้วิธีระบบ (System Approach) ๓.๒ ศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center)
สื่อช่วยสอนที่ทันสมัย
๑) การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม เช่น โรงเรียนวังไกลกังวล
๒) เคเบิลทีวีใช้สอนสำหรับการศึกษาทั้งในและนอกโรงเรียน เช่น การสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น
๓) วิดีโอดิสก์ (Video Disc) เป็นสื่อนิยมใช้ปัจจุบันมีขนาดเล็ก เก็บรักษาง่าย
๔) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยครูในการเรียนการสอนจะบรรจุเนื้อหาที่จะสอนไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหา
๑. ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดจากปัญหาเด็กติดเกม ปัญหาการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนในสังคมลดลง ปัญหาภาพโป๊หรือคลิปวีดีโออนาจาร
๒. ปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
๑. มีผลกระทบต่อความคิดและพฤติกรรมมนุษย์
๒. เทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
๓. เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อสังคม
๔. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต
ปัญหาและแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ICT