ถ้าเอ่ยถึงแบรนด์ชั้นนำอย่าง Apple, Nike, Burberry ไปจนถึงโลโก้ภาพยนตร์เรื่อง จูราสลิคพาร์ค ในมุมของงานกราฟิกดีไซน์ทั้งหลาย ก็ต้องบอกว่า ถ้าหากจะมีงานดีไซน์ระดับแบรนด์ชั้นนำ จากบรรดานักออกแบบกราฟฟิกที่มีชื่อเสียงรุ่นลายคราม มาเป็นต้นแบบเป็นแรงบันดาลใจให้ดีไซน์เนอร์ รุ่นใหม่ๆ ได้ดีเลยทีเดียว วันนี้จึงอยากแนะนำให้รู้จัก 10 อันดับ Graphic Desiner ชื่อดังในวงการโฆษณาอันดับต้นๆของโลกมาบอกเล่าให้อ่านกัน ได้แก่
โลโก้ Apple คือผลงานของ ร็อบ จาน็อฟฟ์ (Rob Janoff ) กราฟิกดีไซน์ชื่อดัง 1 ใน 10 นักออกแบบรุ่นพี่ ที่นักออกแบบรุ่นใหม่ควรรู้จักปัจจุบัน ถึงแม้ว่าโลโก้ Apple จะมีการเอาสีสันออกไปแล้วก็ตาม แต่รูปทรงพื้นฐานยังคงเหมือนเดิม ดีไซน์ของ Apple เรียบง่าย ไร้กาลเวลา แม้ว่าเขาจะใช้เวลาออกแบบแค่เพียง 2 อาทิตย์เท่านั้น
ย้อนกลับไปในปี 2013 จาน็อฟฟ์ เคยได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “มันตัดสินใจไม่ยากเลย ที่จะทำให้ดีไซน์ของแอปเปิ้ลแหว่งเว้า (รอยกัด) เราตั้งชื่อคอมพิวเตอร์เป็นผลไม้ ภาพลักษณ์ดูไม่เหมาะสักเท่าไหร่ ผมตัดสินใจใช้เวลาอีก 2-3 สัปดาห์เพื่อปรับปรุงโลโก้ให้เข้าที่เข้าทางมากที่สุด”
“แอปเปิ้ลที่โดนกัดมันคือคอมพิวเตอร์นะ (เอกลักษณ์เฉพาะตัวของแบรนด์) รอยกัด คือเรื่องบังเอิญที่สุดยอดมาก ผมคิดว่าการกัดก็เหมือนการขยิบตา หรือพยักหน้านั่นแหละ มันทำให้แอปเปิ้ลดูมีเสน่ห์ไม่เหมือนใคร”
“เหตุผลที่เราเลือกโลโก้ที่มีแถบสีก็เพราะว่าแอปเปิ้ลเป็นยี่ห้อเดียวที่มีมอนิเตอร์เล่นสีสัน และสามารถ plug in เข้ากับทีวีสีได้ความคลาสลิคของโลโก้ดั้งเดิมได้รับแรงบันดาลใจมาจากเพลงเรือดำน้ำสีเหลืองของวงเดอะบีเทิลส์”
ชิพ คิดด์ (Chip Kidd) เป็นที่รู้จักในฐานะกราฟิกดีไซน์เนอร์ชาวนิวยอร์ก เขาคือนักออกแบบหน้าปกหนังสือที่น่าทึ่ง เขาเคยทำงานร่วมกับสำนักพิมพ์อัลเฟร็ด เอ คน็อพฟ (Alfred A. Knopf) ออกแบบหน้าปกให้กับนักเขียนชื่อดังอย่าง เจมส์ อัลรอย (James Elroy) ไมเคิล คริชตัน (Michael Crichton) และเนล เกลแมน (Neil Gaiman) ฯลฯ
และผลงานที่ดังเป็นพลุแตกก็คือ หน้าปกหนังสือจูราสลิกพาร์ค ในปี 2005 เขาได้พูดถึงแนวคิดในการออกแบบครั้งนี้ว่า “เมื่อคุณพยายามที่จะสร้างสัตว์เหล่านี้ขึ้นมาใหม่ สัตว์ทุกตัวต้องกลับไปเริ่มต้นศึกษากันตั้งแต่โครงกระดูก ผมก็เริ่มต้นที่จุดๆนี้เหมือนกัน”
แคโรลิน เดวิดสัน (Carolyn Davidson) คือผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จการแบรนด์ระดับโลกอย่าง Nike เธอคือนักออกแบบที่วาดเส้นโค้งตวัดหางแหลม (Swoosh) ที่ยืนยันว่าทุกๆความสำเร็จเริ่มต้นด้วยการลงมือทำ
โลโก้ Nike ถือกำเนิดในปี 1971 จนถึงวันนี้แบรนด์มีอายุกว่า 40 ปีแล้ว ในตอนนั้นแคโรลิน เดวิดสัน เป็นนักศึกษา ได้พบกับ Phil Knight ผู้ก่อตั้งแบรนด์ เขาได้ว่าจ้างให้เธอออกแบบโลโก้ในราคา 35 ดอลล่าห์เท่านั้นเองจนถึงวันนี้มูลค่าของแบรนด์ไนกี้ประเมินมูลค่าไม่ได้เลย
ดูเผินๆ เครื่องหมายเส้นโค้งตวัดหางแหลม ดูๆ แล้วเหมือนสัญลักษณ์ของความถูกต้องแน่นอน แต่จริงๆแล้ว มีความหมายที่ลึกซึ้ง มากกว่านั้นเส้นโค้งตวัดหางแหลมมาจากปีกเทพเจ้าแห่งชัยชนะของกรีกซึ่งแบรนด์ได้ตั้งชื่อตามในภายหลังนั่นเอง
“ในปี 2011 เดวิดสัน ได้ให้สัมภาษณ์ใน ว่า การออกแบบโลโก้ Nike เป็นงานที่ท้าทายมาก เพราะต้องสื่อถึงการเคลื่อนไหว มันยากที่จะสร้างอะไรบางอย่างที่แปลกใหม่ สำหรับ Philip Knight เจ้าของผู้ก่อตั้ง เขาประทับใจโลโก้ของ Adidas มากๆ มันมีแถบสามเส้น เป็นแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองอย่างชัดเจน”
ถ้าพูดถึงกราฟิกดีไซน์เนอร์ที่มีอิทธิพลต่อผลงานศิลปะในยุค 90s หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อของ ปีเตอร์ ซาวิลล์ (Peter Saville) อยู่ในลำดับต้น ๆ ในเวลานั้น The Guardian ยกย่องว่าเขาคือดีไซเนอร์ที่โด่งดังที่สุดของเกาะอังกฤษ
นอกเหนือจากงานศิลปะ Peter Saville ยังคลั่งไคล้ดนตรีไม่แพ้กัน โดยจุดเปลี่ยนในชีวิตของเขาคือ การได้ร่วมก่อตั้งค่ายเพลงอิสระนามว่า Factory Records ซึ่งเป็นที่ ๆ ทำให้เขาได้มีโอกาสออกแบบอาร์ตเวิร์กให้กับวงดนตรีอย่าง Joy Division และ New Orderและที่แห่งนี้ยังเปรียบเสมือนเป็นประตูที่ทำให้เขาได้ร่วมงานกับศิลปินอีกหลายรายในอนาคต
ในปี 2004เขาได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการด้าน ครีเอทีฟ ของเมืองแมนเชสเตอร์อีกด้วย เขาคือผู้พลิกโฉมผลงานออกแบบให้กับแบรนด์แฟชั่นชั้นนำระดับโลก อย่าง Burberry ให้กระฉับกระเฉง คล่องแคล่วเหมาะกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
มัซซิโม วิกเนลลี (Massimo Vignelli) เป็นหนึ่งในดีไซน์เนอร์ผู้ยิ่งใหญ่ของศตวรรษที่ 20 เขาคือตำนานของงานดีไซน์ที่น่าจดจำมากว่าครึ่งศตวรรษ โดยผลงานส่วนมากของบริษัท จะเน้นไปที่การออกแบบภาพลักษณ์องค์กร (Corporate Identity) ตั้งแต่งาน IBM, Ford, Bloomingdale’s, Saks, สายการบินAmerican Airlines และแบรนด์ดังๆ อีกมากมายผลงานของ วิกเนลลี โดยเฉพาะแผนที่รถไฟใต้ดินและป้ายของเมืองนิวยอร์คในปี 1972 แผนที่ที่เขาออกแบบนี้ได้รับการปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งในปี ค.ศ. 1979 และถือเป็นผลงานต้นแบบของแผนที่ NYC Metro ฉบับปัจจุบัน
ในปีที่เขาเสียชีวิต นักออกแบบเว็บไซต์ Justin Reynolds ได้กล่าวถึง Vignelli ไว้ว่า “แนวการทำงานของ วิกเนลลี เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับนักดีไซน์ ถึงแม้ว่าเว็บไซต์จะมาที่หลัง แต่หลักการในการออกแบบของ วิกเนลลีช่วยไกด์แนวทางในการออกแบบงานสื่อแบบเดิมและงานสื่อดิจิตอลของ Reynolds ให้มีความลึกซึ้งในกระบวนการทำงาน และหลักสุนทรียศาสตร์
ไมเคิล เบรุต (Michael Bierut) เป็นทั้งนักออกแบบกราฟิก อาจารย์ นักเขียน นักวิจารณ์งานออกแบบ บรรณาธิการที่มีผลงานต่อเนื่องยาวนานกว่า 35 ปี เป็นหุ้นส่วนของเอเจนซี่ชื่อดังอย่าง Pentagram มากว่า 27 ปี และยังไม่เคยมีเอเจนซี่ทางด้านการออกแบบใดที่จะได้รับการยอมรับเทียบเท่ากับ Pentagram อีกแล้ว
ส่วนตัวของ ไมเคิล เบรุต เขาได้รับรางวัลเป็นร้อยๆ รายการจากการประกาศผลชิงรางวัลด้านการออกแบบมาตลอด 27 ปี ก่อนหน้าที่เขาจะทำงานที่นี่ เขาเคยทำงานที่ Vignelli ประมาณ 10 ปี โปรเจ็คงานออกแบบของ Pentagram สร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์อย่าง Benetton,เครื่องบินเจ็ท, Walt Disney และออกแบบงานป้ายโฆษณาและนิตยสาร และนี่คือรายละเอียดเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับของพอร์ตโพลิโอที่ยาวเหยียดของเขา
เบรุต ยังรับหน้าที่เป็นนักวิจารณ์ผลงานกราฟิกดีไซน์ซีเนียสให้กับมหาวิทยาลัย Yale สาขา ศิลปะ และล่าสุดเขาได้ผลิตหนังสือ ออกมาในปี 2015 ชื่อว่า How To
ในปี 2013 เขาได้พูดถึงทัศนคติในการเฟ้นหาคนรุ่นใหม่เพื่อมาร่วมงานว่า คนที่ดีที่สุด คือคนที่มีออร่าและสร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง มีผลงานเจ๋งๆ อยู่ในพอร์ต กับคนพวกนี้ผมจะขลุกอยู่ได้ทั้งวันเลย อย่างที่สองก็คือ พวกเขามีผลงานที่เยี่ยมยอด ไม่ใช่เก่งแต่พรีเซนต์ พวกเขาต้องทุ่มเทให้กับการทำงานเพื่อสร้างคุ้มค่า
ไม่ใช่แค่ตัวอักษรหรือการเลือกใช้เอฟเฟคต่างๆในโฟโต้ช็อป แต่ลงลึกในประเด็นหลัก ความน่าสนใจและแรงบันดาลใจของพวกเขา
ในแวดวงนักออกแบบตัวอักษร Typographer ชื่อเสียงเรียงนามของ โจนาธาน บาร์นบรูค (Jonathan Barnbrook) เป็นที่รู้จักกันดีในระดับโลกตั้งแต่ยุค 90’s เป็นต้นมา ด้วยผลงานการสร้างสรรค์ Font หรือ ตัวพิมพ์อักษรภาษาอังกฤษที่สามารถนำไปใช้ในการออกแบบสื่อโฆษณาต่างๆ ได้อย่างมีสีสันและมีสไตล์ที่หลากหลาย
โจนาธาน บาร์นบรูคมีชื่อเสียงโด่งดังมากขึ้นเมื่อได้ออกแบบผลงานหน้าปกซีดีเพลง “The Next Day” และ “Blackstar” ให้กับนักร้องอย่าง ‘เดวิด โบวี่’ (David Bowie) ก่อนหน้านั้นเขาได้ออกแบบ ตัวอักษรพิมพ์ อย่าง Exocet
ตัวพิมพ์อักษรภาษาอังกฤษ ออกแบบโดย โจนาธาน บาร์นบรูคตัวพิมพ์อักษรของ โจนาธาน บาร์นบรูค เป็นไวรัลมาตลอด 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ตัวพิมพ์อักษรอย่าง “Bastard” และ “Tourette” เป็นตัวพิมพ์อักษรที่ดูร่วมสมัยและทำให้ผู้คนถกเถียงถึงสไตล์การออกแบบของมันผลงานสร้างชื่อให้โจนาธาน บาร์นบรูค หน้าปกซีดีอัลบั้ม “Blackstar” ของ เดวิด โบวี่
เคท โมรอส นักออกแบบสุดจี๊ดจ๊าดที่เปี่ยมไปด้วยพลังของรุ่นใหม่แห่งลอนดอน เธอคือหัวหน้าฝ่ายครีเอทีฟ ของ โมรอส-สตูดิโอ ในปี 2008 ผลงานที่สร้างชื่อให้กับนักออกแบบผู้นี้ คือ การออกแบบเครื่องหมายทางการค้าที่เป็นตัวพิมพ์อักษร ด้วยบุคลิกกระฉับกระเฉงและสไตล์การวาดที่ไหลลื่นอย่างเหลือเชื่อ
โมรอส ได้กลายเป็นหนึ่งในนักออกแบบที่คนลอนดอนต้องการตัวมากที่สุด เธอประสบความสำเร็จมากที่สุดในบรรดานักออกแบบทั้งหลาย ผลงานของเธอมากมายทั้งปกหนังสือ ปกนิตยสาร การสร้าง แบรนด์ มิวสิควีดีโอ และแม้กระทั่งการออกแบบการถ่ายภาพสดให้กับวงบอยแบนด์ชื่อดังแห่งยุคอย่าง One Direction
เธอให้สัมภาษณ์ว่า “ฉันไม่เชื่อในอิทธิพลของบางสิ่ง ฉันไม่ได้เด็กนักเรียนแล้ว” โมรอส ให้สัมภาษณ์กับ ที่ CreativeBloq (ครีเอทีฟ บล็อก) ในปี 2011“ ฉันจะไม่ดูภาพวาดของแวน โก๊ะเพื่อกลับไปสเก็ตภาพเลียนแบบเขาหรอกนะ ฉันไม่อ่านนิตยสาร ไม่ไปแกลเลอรี่ศิลปะ และฉันไม่เดินตามธรรมเนียมที่เขาทำๆ กัน”
“แต่ฉันได้ไอเดียมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน ไปช็อปปิ้ง คุยกับคนขับรถบัส หรือ บังเอิญไปรู้ไปเห็นฉันไม่ได้คนรวบรวมเรื่องราวทางวัฒนธรรม แต่แค่ปล่อยให้ทุกอย่างมันเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ฉันคิดว่าสิ่งที่มีอิทธิพลต่อเราก็คือ อะไรที่มีผลต่อบุคลิกลักษณะ ชีวิต อารมณ์ของคุณ อย่างสิ่งที่เห็นในทีวี ภาพยนตร์นั่นแหละ”
ในแง่ของนักออกแบบนิตยสาร จอร์จ โลอิส เขาคือคนนอกรีต ตั้งแต่ปี 1962 จนถึงปี 1972 ถือเป็น 10 ปีที่น่าทึ่งที่เขาทำงานอยู่ที่นิตยสาร Esquire ด้วยสไตล์ที่โดดเด่น สร้างประเด็นให้พูดถึงอยู่ตลอด และอิงประวัติศาสตร์อย่างในปี 1968 ที่ได้ มูฮัมหมัด อาลี ขึ้นปก เขานำเสนอไอเดียที่บรรเจิดแต่ทว่านำเสนอในแบบที่เรียบง่าย
เขาได้ให้สัมภาษณ์กับ Design Boom ในปี 2014 ว่า เขามีเวทมนต์ในการสร้างความประหลาดใจให้กับผู้คน “เมื่อผมสร้างสรรค์ภาพขึ้นมา 1 ภาพ ผมต้องการให้ผู้คนร้อง “โอ่ว” ด้วยความทึ่งตั้งแต่แรกเห็น ภาพทีสื่อสารในดีกรีที่เข้ม แล้วค่อยไปหาความหมายของมัน ผมอยากจะทำให้ผู้คนเข้าใจความพิเศษของสินค้าหรือความน่าตื่นเต้น ความน่าสนใจของนิตยสารฉบับนั้น”
“ทักษะที่เจ๋งที่สุดของผมก็คือ การทำให้บางอย่างน่าจดจำ และยังอยู่ในสามัญสำนึก ซึ่งมันช่วยขายของนะ”ในฐานะนักออกแบบนิตยสารที่ประสบความสำเร็จ โลอิสเป็นตัวท็อปในวงการโฆษณาผลงานที่ผ่านมาอย่าง MTV, VH1 สถานีโทรทัศน์ทางดนตรีอเมริกัน, ESPN สถานีเคเบิลทีวีของอเมริกาที่ผลิตและแพร่ภาพรายการเกี่ยวกับกีฬาตลอด 24 ชั่วโมง และ Tommy Hilfiger
ไม่ได้กล่าวเกินจริงไปหรอกที่ว่า ซอล เบสส์ (Saul Bess) คือ นักออกแบบกราฟฟิคที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20 ด้วยผลงานด้านกราฟฟิค โปสเตอร์ ไตเติ้ลภาพยนตร์ โลโก้และอีกมากมาย และผลงานที่โด่งดังที่สุดของเขาก็อาจจะเป็นซีนเปิดของหนังของอัลเฟร็ด ฮิทช์ค็อก
จริงๆ แล้ว เครดิตในฐานะนักออกแบบไตเติ้ลภาพยนตร์ของเขามีมายาวนานกว่า 5 ทศวรรษ จวบกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตในปี 1996 ผลงานภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายเขาทำให้กับ มาร์ติน สกอร์เซซี ในเรื่อง Goodfellas และ Casino
มีบทความในปี 2011 ของ สกอร์เซซี พูดถึงความอัจริยะของเบสส์ไว้ว่า ผมอยากจะทำไตเติ้ลหนังเรื่อง Goodfellas แต่มันยังไม่ลงตัวซะทีเดียว มีคนแนะนำให้ผมรู้จักกับซอล และหลังจากนั้นเขาก็ได้มีผลงานออกมาต่อเนื่องเลย อย่าง Vertigo, Psycho, Anatomy of a Murder เมื่อผ่านกาลเวลาและเห็นหนังมาหลายเรื่องผลงานการออกแบบของซอล มีเอกลักษณ์สะดุดตาจริงๆ
เขาดูหนังพร้อมตั้งคำถาม และเมื่อเขาเข้าใจจังหวะ โครงสร้าง และอารมณ์ของหนังเรื่องนั้นๆ เขาก็เข้าถึงหัวใจของหนัง และค้นพบปริศนาที่ซ่อนอยู่
ดีไซน์เนอร์ทุกคนมีลายเซ็นต์ชัดเจนในแต่ละชิ้นงาน หลายๆคนเข้าถึงปรัชญาของงานออกแบบ เข้าถึงแก่นสาร รู้จังหวะ เข้าใจถึงตัวตนของแบรนด์อย่างถ่องแท้ สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้งานออกแบบมีจิตวิญญาณ แตะไปถึงหัวใจของผู้บริโภคสร้างยอดขายที่ถล่มถลายให้กับแบรนด์ทั้งสิ้น
10 สุดยอดการออกแบบ ที่โลกควรเรียนรู้แต่ไม่ควรลอกเลียนเพราะเชื่อว่าดีเอ็นเอของนักออกแบบแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน บางทีเราไม่จำเป็นต้องเดินย้ำรอยเท้าของใคร แต่เราควรที่จะมีทางเดินในแบบของเราเอง ขอเพียงเราเข้าให้ถึงเนื้อหาสาระที่แท้จริงของสิ่งๆ นั้น อย่างลึกซึ้ง อย่างเข้าถึง แล้วระเบิดมันออกมา