ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต รวมไปถึงสายอาชีพที่จะต้องไปทำในอนาคตก็ต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุค วันนี้เรามาอัปเดตกันหน่อย มีอาชีพไหนในสายเทคโนโลยีที่ถ้าเรียนแล้วยังไงก็ไม่ตกยุคแน่นอน สมัยนี้มีอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นมามากมายยิ่งอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ทั้งสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ทำให้การใช้ชีวิตของเราง่ายขึ้นเยอะ อยู่ไกลแค่ไหนก็เจอกันได้ จะทำความสะอาดบ้านทั้งทีก็จบครบในตัวเดียว หรือจะเป็นเกมที่ดูเสมือนจริงยิ่งกระตุ้นความอินในการเล่นมากขึ้น ยิ่งทำให้สายอาชีพด้านเทคโนโลยีเป็นที่ต้องการมากๆ วันนี้ได้รวบรวมอาชีพในยุคดิจิทัลที่น่าสนใจส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีอาชีพอื่นๆ อีกมากให้ได้เลือก และ ม.กรุงเทพ มีหลักสูตรที่ตอบโจทย์มากมาย จะมีอาชีพไหนที่โดนใจบ้าง ไปดูกัน
อาชีพยอดฮิตที่ใครได้ทำก็ถือว่าเท่เอามากๆ งานของโปรแกรมเมอร์ คือการเขียน คิด และพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ตามโจทย์ที่ได้รับ เมื่อเขียนเสร็จก็ทำการทดสอบระบบเพื่อตรวจหาจุดบกพร่องก่อนเอาไปใช้จริง คนที่จะทำอาชีพนี้ได้จะต้องมีความละเอียด เข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบ มีความรู้ในภาษาคอมพิวเตอร์ หรือชอบเขียนโปรแกรม ก็ถือว่ามีพื้นฐานในอาชีพนี้บ้างแล้ว
ถ้าใครมีพื้นฐานในด้านโปรแกรมเมอร์ที่ดีแล้วหรือทำงานจนมีประสบการณ์มากๆ สามารถพัฒนาไปเป็นนักวิเคราะห์ระบบหรือรับทำระบบให้องค์ต่างๆ ได้อีก ด้วย คณะที่ตอบโจทย์ในสายอาชีพนี้ คือ
- สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เน้นการเรียนรู้ครอบทุกด้านที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Hardware Software และหุ่นยนต์ รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
- สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม เน้นการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การจัดการระบบปฏิบัติการ ฐานข้อมูล วิเคราะห์และออกแบบซอฟแวร์ โดยมีหลักสูตรต้นแบบจากองค์กร IEEE และ ACE ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ฐานข้อมูลในตอนนี้มีเยอะมากในโลกดิจิทัลทั้งข้อมูลแบบทั่วไปไปจนถึงข้อมูลขององค์กร สายงานนี้จึงเป็นที่ต้องการมากในยุคปัจจุบัน งานหลักของอาชีพนี้คือ การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสามารถนำข้อมูลนี้ไปพัฒนาหรือต่อ ยอดได้ในอนาคต คนที่จะทำอาชีพนี้ได้ต้องมีใจรักในการวิเคราะห์ หรือทำงานรวมกับฐานข้อมูลที่มีเยอะมากๆ คณะที่ตอบโจทย์ในสายอาชีพนี้ คือ
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และวิทยาการข้อมูล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม สาขานี้จะเน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูล (Data) และเสริมความปลอดภัยด้านไซเบอร์ เรียนรู้การวิเคราะห์แบบเจาะลึก และการดูแลระบบความปลอดภัยและความมั่นคงไซเบอร์ที่มีความจำเป็นขององค์กร
อาชีพนี้ต้องบอกว่าไม่ใช่แค่ชอบการเล่นเกม แต่ต้องมีความหลงใหลจนอยากพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม นักพัฒนาเกมคืออาชีพคล้ายกันกับโปรแกรมเมอร์ แต่ต่างกันที่อาชีพนี้คือโปรแกรมเมอร์ด้านเกม มีหน้าที่สร้างและพัฒนาระบบเกมในการเขียนโปรแกรมและการเขียนโค้ด แต่ไม่ได้ออกแบบตัวละครหรือฉากในเกม ปรับระบบภายในเกมให้ตรงตามต้องการ หรือแม้แต่การอัปเดตเวอร์ชั่นเกมให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ใครที่สนใจอาชีพนี้จะต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรม ภาษาที่ใช้เขียน และที่สำคัญชอบที่จะพัฒนาและมีไอเดียใหม่ๆ ถ้าได้ภาษาอังกฤษด้วยจะดีมากๆ เลยล่ะ คณะที่ตอบโจทย์ในสายอาชีพนี้ คือ
สาขาวิชาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม เรียนรู้การสร้างสื่ออินเทอร์แอคทีฟ (สื่อแบบผสมที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้) ไม่ว่าจะเป็นเกม การเรียนการสอน หรือสื่อทางการแพทย์ เรียนรู้ทั้งทางเทคนิค การใช้อุปกรณ์การสร้างสื่อ รวมไปถึงการคิดวิเคราะห์ให้สามารถไปสู่การเป็นผู้ประกอบการได้
อีกหนึ่งอาชีพงานศิลปะหรือจิตกรสายเกม ใครสายปั้น 3D ชอบการวาดรูป การออกแบบเสมือนจริงต้องอาชีพนี้ “นักออกแบบและพัฒนาโลกเสมือนจริงแบบ 3 มิติ ” อาชีพที่เรียกว่านำงานคิดในจิตนาการ สร้างให้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นต่อจากอาชีพ Game Designer ที่จะคิดค้นวิธีการเล่น กฎกติกาภายในเกม แต่ 3D Developer จะต้องนำงานนั้นมาสร้างและออกแบบให้เป็นไปตามโจทย์นั้น โดยต้องเชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรมการออกแบบ
คณะที่ตอบโจทย์ในสายอาชีพนี้ไม่ได้มีแค่สาขาเดียว เพราะต้องอาศัยความร่วมมือและความชำนาญจากส่วนอื่นๆ แต่ละสาขาจะมีความแตกต่างกันไป
- สาขาวิชาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม เน้นการเรียนรู้ด้านเกมและสื่อเชิงโต้ตอบเป็นหลัก พื้นฐานของการสร้างเกม การออกแบบหรือการเขียนโปรแกรมให้เกมนั้นๆ สามารถเกิดขึ้นมาได้
- สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ เน้นการเรียนรู้โดยใช้ศาสตร์ของศิลปะและการออกแบบโดยใช้โปรแกรมออกแบบบนคอมพิวเตอร์ การออกแบบแอนิเมชั่นสองมิติ สามมิติ และการออกแบบภาพเคลื่อนไหว การออกแบบกราฟิกสำหรับสื่ออินเตอร์แอคทีฟ
- สาขาวิชาการผลิตเนื้อหาสร้างสรรค์และประสบการณ์ดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ เรียนรู้การผลิตสื่อคู่กับเทคโนโลยีดิจิทัล การออกแบบการสร้างงาน 3D หรือการออกแบบภาพเคลื่อนไหวที่ดูเสมือนจริง เน้นใช้ในงานอีเว้นท์หรือบนหน้าจอและสื่อต่างๆ
- สาขาวิชาสื่อดิจิทัล คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ เรียนรู้การทำอนิเมชั่น ทั้ง 2D และ 3D การเคลื่อนไหวของตัวละคร รวมถึงการใส่คาเรคเตอร์ให้มีชีวิตยิ่งขึ้น
อาชีพแห่งยุคที่ไม่มีวันหมดไปถ้าโลกของเรายังใช้อินเทอร์เน็ต “วิศวกรเครือข่าย” อาชีพที่เน้นความรู้ด้านไอทีและระบบเครือข่าย งานหลักที่ต้องทำคือ การดูแลระบบเครือข่ายขององค์กร การติดตั้งเครือข่าย บริหารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร รวมถึงการควบคุมสิทธิ์ของผู้ที่จะใช้งาน การป้องกันการบุกรุกเครือข่าย คนที่จะสามารถทำอาชีพนี้ได้ จะต้องมีความรู้เรื่องระบบเครือข่าย ศึกษาและตามทันเทคโนโลยีเครือข่ายที่พัฒนาอยู่ตลอด และสายงานด้านนี้ส่วนใหญ่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษด้วยนะ คณะที่ตอบโจทย์ในสายอาชีพนี้ คือ
- สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เรียนรู้แบบครอบคลุมเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การเขียนโปรแกรม การดูแลระบบและข้อมูล รวมทั้ง Hardware Software และหุ่นยนต์
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม เรียนรู้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การจัดการระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล เครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
นอกจากเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายที่พัฒนาไปรวดเร็ว หุ่นยนต์ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และในปัจจุบันทั้งโรงงาน อุตสาหกรรมและสินค้าในชีวิตประจำวันเริ่มใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกบ้างแล้ว อาชีพนี้จึงเป็นที่ต้องการของตลาดมากๆ งานหลักของวิศวกรออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์ ก็ตรงตามชื่อเลยค่ะ ออกแบบ ทดสอบ และพัฒนา เพื่อการใช้งานที่หลากหลาย และยังต้องมีไอเดียใหม่ๆ ที่สามารถนำหุ่นยนต์ไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมหรือสินค้าเทคโนโลยที่สามารถเข้าถึงคนทั่วไปได้ด้วย
คณะที่ตอบโจทย์ในสายอาชีพนี้คือ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เรียนรู้ระบบคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์เพื่อการพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมเทคโนโลยีที่จะนำมาปรับใช้กับหุ่นยนต์ในอนาคต
อีกหนึ่งอาชีพที่เป็นความต้องการของตลาดมากๆ มีเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ เพราะยังขาดบุคลากรทางด้านนี้อีกเยอะ หน้าที่หลักคือต้องคิดค้นหรือสามารถพัฒนาระบบ AI ให้สามารถใช้งานได้ดีขึ้นและตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมในระดับต่างๆ นอกจากนี้ต้องคอยตามเทคโนโลยีอยู่ตลอดไม่มีตกยุค เพื่อสามารถพัฒนาระบบได้เสมอ ยิ่งถ้าพัฒนาได้ดีและแตกต่างจากที่เคยมีมาก็จะยิ่งเป็นความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น คณะที่ตอบโจทย์ในสายอาชีพนี้ คือ
สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล คณะวิศวกรรมศาสตร์ เรียนรู้การคิดวิเคราะห์และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พร้อมเทคโนโลยีใหม่ๆ ทักษะปัญญาประดิษฐ์ วิทยาการข้อมูล และความรู้ด้านธุรกิจ เพื่อสามารถนำความรู้ไปต่อ ยอดในธุรกิจ Start-Up ในอนาคต
ถ้าโลกนี้ยังมีเว็บไซต์ ยังไงก็ต้องมีนักพัฒนาเว็บไซต์อยู่แน่นอน อีกหนึ่งอาชีพไม่ตกยุคและยังคงต้องการอยู่เสมอ หน้าที่หลักคือการพัฒนาเว็บไซต์โดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ เขียนโค้ด วิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้งาน รวมถึงดูแลและแก้ไขปัญหาของเว็บไซต์ คณะที่ตอบโจทย์ในสายอาชีพนี้ คือ
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม เน้นการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเขียนโค้ด และการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์และออกแบบซอฟแวร์ เรียนรู้จากหลักสูตรต้นแบบจากองค์กร IEEE และ ACE องค์กรชั้นนำด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
อีกหนึ่งอาชีพที่น้อยคนจะรู้จัก เพราะอาชีพนี้ถือว่ามีมานานมาก หน้าที่หลักของอาชีพนี้คือ การออกแบบภาพให้สามารถเคลื่อนไหวได้ โดยต้องใช้โปรแกรมในคอมพิวเตอร์เป็นตัวช่วย และต้องมีความคิดสร้างสรรค์และไอเดียใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อที่จะสามารถสร้างผลงานออกมาให้ตรงตามโจทย์ที่กำหนด อาชีพนี้ก็เปรียบเสมือนงานศิลปะรูปแบบหนึ่ง น้องๆ ที่จะมาทำอาชีพนี้ก็ต้องมีความสามารถในการออกแบบ การวาดภาพ และที่สำคัญคือการใช้โปรแกรมการออกแบบได้เป็นอย่างดี คณะที่ตอบโจทย์ในสายอาชีพนี้ คือ
สาขาวิชาการผลิตเนื้อหาสร้างสรรค์และประสบการณ์ดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ เรียนรู้การออกแบบภาพเคลื่อนไหวผ่านโปรแกรมต่างๆ บนคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานนิทรรศการ งานอีเว้นท์ หรือบนหน้าจอในสื่อต่างๆ
ใครเคยไปเดินงานนิทรรศการ พิพิพิธภัณฑ์อาร์ต หรืองานอีเว้นท์ ที่มีการออกแบบเจ๋งๆ เดินไปแล้วรู้สึกอินไปหมด บางงานมีการใช้เทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาร่วมด้วยต้องหันมามองอาชีพนี้แล้วล่ะ “ผู้ออกแบบเทคโนโลยีสร้างสรรค์ในงานนิทรรศการ” อาชีพนี้เรียกได้ว่าเหมาะมากสำหรับคนที่ชอบคิดไอเดียใหม่ๆ เสพงานอาร์ตงานศิลป์ในแบบไม่จำเจ เพราะต้องออกแบบนิทรรศการหรืองานต่างๆ ตามคอนเซ็ปต์ และต้องเข้าใจพฤติกรรมของผู้ร่วมงานได้อย่างดี จะได้รู้ว่าจะสามารถสื่อสารหรือออกแบบงานในรูปแบบไหนให้โดนใจผู้มาร่วมงาน และยังต้องอัพเดทเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในผลงานอีกด้วย คณะที่ตอบโจทย์ในสายอาชีพนี้ คือ
- สาขาวิชาการผลิตเนื้อหาสร้างสรรค์และประสบการณ์ดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ เรียนรู้การออกแบบและการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล ที่สามารถนำไปปรับใช้ในงานอีเว้นท์หรืองานนิทรรศการต่างๆ
- สาขาวิชาการผลิตอีเว้นท์และการจัดการนิทรรศการและการประชุม คณะนิเทศศาสตร์ เรียนรู้การจัดอีเว้นท์ตั้งแต่เริ่มต้น การควบคุมการผลิต และการสร้างสรรค์อีเว้นท์ให้ตรงตามความต้องการ