คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างเป็นระบบ (System) หมายถึงภายในระบบงานคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยที่มีหน้าที่เฉพาะ ทำงานประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย ในระบบงานคอมพิวเตอร์
การที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว จะยังไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ซึ่งหากจะให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ควรจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบคือ บุคลากร (Peopleware) ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ข้อมูล(Data) สารสนเทศ(Information) และกระบวนการทำงาน ( Procedure )
1. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware ) ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วงจรไฟฟ้า ตัวเครื่อง จอภาพ เครื่องพิมพ์ คีร์บอร์ด เป็นต้นซึ่งสามารถแบ่งส่วนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็น 4 หน่วยสำคัญ ฮาร์ดแวร์ ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปจะมีฮาร์ดแวร์หลัก ๆ ได้แก่
1. ตัวเครื่อง (Case) ทำหน้าที่ในส่วนของการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาจากอุปกรณ์นำเข้าต่างๆ ซึ่งภายในตัวเครื่องจะมีอุปกรณ์หลัก ได้แก่ แผงวงจรหลัก หม้อแปลงไฟฟ้า ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง เป็นต้น
2. จอภาพ (Monitor) ทำหน้าที่แสดงผลข้อความ รูปภาพ
3. ดิสก์ไดร์ฟ (Disk drive) เป็นอุปกรณ์อ่าน-เขียนข้อมูลบนดิสก์เก็ต
4. คีย์บอร์ด (Keyboard) ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
5. เม้าส์ (Mouse) เป็นส่วนที่ใช้สั่งงานด้วยการชี้และเลือกสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนจอภาพ
6. ลำโพง (Speaker) เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลที่เป็นเสียง
1.1 หน่วยรับข้อมูลหรืออินพุต ( Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมเข้า เครื่อง มีโครงสร้างดังรูป 1.3 ได้แก่ คีย์บอรืดหรือแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เครื่องรูดบัตร Digitizer เป็นต้น
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูลมีหลากหลายอุปกรณ์ ได้แก่
1) คีย์บอร์ด (Keyboard)
อุปกรณ์รับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส เพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่ามีการกดตัวอักษรอะไร แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักขระที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์เป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต (Operator)
2) เมาส์ (Mouse)
อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ เมาส์ที่นิยมใช้มีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่
-แบบทางกล (Mechanical) ใช้ลูกกลิ้งกลม
-แบบใช้แสง (Optical mouse)
-แบบไร้สาย (Wireless Mouse)
3) OCR (Optical Character Reader)
อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล โดยใช้วิธีการอ่านข้อมูลด้วยลำแสงในลักษณะพาดขวางบนเอกสารที่มีข้อมูลอยู่ แล้วแปลงรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โอซีอาร์ที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode reader)
4) OMR (Optical Mark Reader)
อุปกรณ์นำเข้าที่ทำงานโดยการอ่านข้อมูลจากการทำเครื่องหมายด้วยดินสอและปากกาลงบนกระดาษคำตอบ (Answer sheet) ซึ่งถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ
5) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล มีลักษณะเป็นแผ่นกระดานสี่เหลี่ยม มีสายไฟฟ้าและอุปกรณ์คล้ายแว่นขยายที่มีเครื่องหมายกากบาทตรงกลาง พร้อมกับปุ่มสำหรับกด โดยปกติมักใช้ในการอ่านจุดพิกัดของแผนที่ หรือตำแหน่งของภาพกราฟิกต่างๆ
6) สแกนเนอร์ (Scanner)
เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือ รูปถ่าย สแกนเนอร์สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ
แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-Fed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษให้ผ่านหัวสแกนซึ่งอยู่กับที่
แบบแท่นนอน (Flatbed scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร เหมาะสำหรับใช้กับเอกสารทั้งที่เป็นแผ่นเดียวและเอกสารที่เป็นเล่ม
แบบมือถือ (Hand-held Scanner) สแกนเนอร์แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกัน
7) ปากกาแสง (Light Pen)
เป็นอุปกรณ์ทำงานคล้ายกับเมาส์ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับงานวาดภาพ
8) จอยสติก (Joy Sticks)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมทิศทางของวัตถุบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่เป็นแบบแบน แบบคันโยก หรือ แบบพวงมาลัย
9) จอสัมผัส (Touch Screen)
เป็นจอภาพชนิดพิเศษที่ใช้ระบบสัมผัสแทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ นิยมนำมาใช้กับงาน
10) เครื่องเทอร์มินัล (Point of Sale Terminal)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกอย่างหนึ่งที่นิยมใช้ในร้านค้า เครื่องเทอร์มินัลนี้จะมีแป้นพิมพ์สำหรับกรอกข้อมูล มีจอภาพเล็กๆ เพื่อใช้แสดงผลต่างๆ และมีเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์รายการ ทั้งนี้สามารถนำเครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ดเข้ามาช่วยในการรับข้อมูลได้ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดอันอาจเกิดจากการกรอกข้อมูลที่มีจำนวนมาก
11) แผ่นสัมผัส (Touch Pads)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้นิ้วสัมผัสลงบนแผ่นสัมผัส น้ำหนักที่กดสงไปจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า มักเห็นอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
12) กล้องดิจิทัล (Digital Camera)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแปลงข้อมูลภาพเป็นสัญญาณดิจิทัล มีลักษณะการใช้งานเหมือนกล้องถ่ายภาพทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่ไม่ต้องใช้ฟิล์มในการบันทึกข้อมูล ข้อมูลภาพที่ได้สามารถถ่ายลงสู่เครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถเรียกดูได้ทันที หรือจะใช้โปรแกรมช่วยตกแต่งภาพให้ดูสวยงามขึ้นก็ได้
13) อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไมโครโฟน
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลในรูปแบบเสียงโดยจะทำการแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณดิจิทัลแล้วจึงส่งไปยังคอมพิวเตอร์
1.2
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป
2. หน่วยควบคุม (Control Unit)
หน่วยควบคุมทำหน้าที่คงบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์แวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยคงบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อบแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
1.3 หน่วยเก็บข้อมูล ( Storage ) ซึ่งสามารถแยกตามหน้าที่ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1.3.1 หน่วยเก็บข้อมูลหลักหรือความจำหลัก ( Primary Storage หรือ Main Memory ) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเพื่อส่งออกหน่วยแสดงข้อมูลต่อไปซึ่งอาจแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ RAM ( Random Access Memory ) ที่สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ในขณะที่เปิดเครื่องอยู่ แต่เมื่อปิดเครื่องข้อมูลใน RAM จะหายไป และ ROM ( Read Only Memory ) จะอ่านได้อย่างเดียว เช่น BIOS (Basic Input Output system) โปรแกรมฝังไว้ใช้ตอนสตาร์ตเครื่อง เพื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มต้นทำงาน
หน่วยความจำหลัก ( Primary Storage ) ส่วนประมวลผลจะทำงานไม่ได้หากไม่มีหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลหรือชุดคำสั่งว่าจะให้ทำงานอะไร หน่วยความจำหลัก หรือ primary storage (อาจเรียกได้หลายชื่อเช่น main memory, primary memory, internal memory, internal storage เป็นต้น) นี้จะทำงานใกล้ชิดกับซีพียูมากที่สุดและช่วยให้การทำงานของซีพียูมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เพราะวงรอบการทำงานของซีพียูหรือที่เรียกว่า machine cycle นั้นทำงานเร็วมาก หากไม่มีที่เก็บหรือพักข้อมูลที่มีขนาดเพียงพอ จะทำให้การประมวลผลช้าลงตามไปด้วย โดยปกติแล้วจะแบ่งหน่วยความจำหลักออกเป็น 2 ประเภทคือ ROM และ RAM
• หน่วยความจำแบบ ROM (Read-Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ไม่จำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง ถึงแม้ไฟจะดับ ข้อมูลชุดคำสั่งต่าง ๆ ที่อยู่ข้างในก็จะไม่สูญหายไป ( non-volatile memory ) ส่วนใหญ่จะอ่านข้อมูลได้อย่างเดียวและติดตั้งไว้เพื่อเก็บโปรแกรมประจำเครื่อง เช่น โปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบความพร้อมในการทำงานของเครื่องเมื่อตอนเปิดขึ้นมาใหม่ โปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระดับล่าง และอื่น ๆ ซึ่งรวมเรียกว่า Basic Input Output System หรือ BIOS ( “ ไบออส ” ) ของเครื่องพีซีที่เรารู้จักกันนั่นเอง ซึ่งจะมีการใส่ชุดคำสั่งไว้ใน ROM อย่างถาวรมาแล้วตั้งแต่ในกระบวนการผลิต (เรียกชุดคำสั่งประเภทนี้ว่า firmware )
• หน่วยความจำแบบ RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าในการทำงานเพื่อไม่ให้ข้อมูลสูญหาย ( volatile memory ) RAM นี้จะถูกใช้เป็นที่พักข้อมูลและโปรแกรมในระหว่างการทำงานของซีพียู โดยซีพียูสามารถเข้าถึงและอ่านหรือแก้ไขข้อมูลตรงจุดไหนก็ได้ใน RAM จนเสร็จแล้วจึงค่อยนำออกไปเก็บถาวรที่อุปกรณ์เช่น ฮาร์ดดิสก์ เมื่อใดก็ตามที่ไฟดับหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงข้อมูลที่เก็บอยู่ไว้ภายในจะสูญหายหมด
1.3.2 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ( Secondary Storage Device ) การทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อต้องการเก็บบันทึกข้อมูล หรือกลุ่มคำสั่งต่าง ๆ ไว้ใช้ในอนาคตจะไม่สามารถเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักได้ เนื่องจากไม่มีพื้นที่เพียงพอ อีกทั้งข้อมูลที่เก็บจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง หากต้องการเก็บข้อมูลที่มากขึ้นและเอาไว้ใช้ประโยชน์ในภายหลัง ก็จำเป็นต้องหาอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง หรือที่เรียกว่า secondary storage
ตัวอย่างของหน่วยความจำสำรองแบบต่าง ๆ ที่พบเห็นในปัจจุบัน
1.4 หน่วยแสดงข้อมูลหรือเอาต์พุต ( Output Unit ) ทำหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทั้ง 4 ส่วนจะเชื่อมต่อกันด้วยบัส ( Bus )
หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy)
หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง ได้แก่
จอภาพ (Monitor)
อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)
อุปกรณ์เสียง (Audio Output)
2. หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy)
หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้เช่น
เครื่องพิมพ์ (Printer)
เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter)
2 ซอฟต์แวร์ ( Software )
ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยรับเข้าหน่วยส่งออกหน่วยความจำและหน่วยประมวลผลในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบหน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา ซอฟต์แวร์ทั่งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น
ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)
1) ดอส
เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
2) วินโดวส์
เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
3) โอเอสทู
เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน และการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
4) ยูนิกซ์
เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่อปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ วินโดว์สเอ็นท
2.1.1 โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System)
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( operating System )
ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรง โปรแกรมใช้งาน หรือโปรแกรมประยุกต์ใดๆ ที่ต้องการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยการสั่งงานของโปรแกรมระบบ ปฏิบัติการ เพื่อควบคุมการทำงานของ เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ หรือแต่ละประเภท จะมีความแตกต่างกัน เช่น โปรแกรมระบบปฏิบัติการสำหรับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง ก็จะแตกต่างกับโปรแกรมระบบปฏิบัติการของ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ของระบบอื่นๆ เป็นต้น โปรแกรมระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ได้แก่ MS-DOS, UNIX, Microsoft WINDOWS 95, 98, NT, XP เป็นต้น
หน้าที่ของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
– เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ โดยการจัดเตรียมโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใส่ไว้ในฮาร์ดดิสก์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อกับผู้ใช้เช่น ระบบปฏิบัติการ DOS ติดต่อกับผู้ใช้ โดยให้พิมพ์คำสั่ง ที่เครื่องหมายพร้อมรอรับคำสั่ง (Prompt Singe) ส่วนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้ภาพกราฟิกส์ เป็นต้น
– ควบคุมการทำงานฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ เช่น ควบคุมการใช้ดิสก์ไดรฟ์ ฮาร์ดดิสก์ คีย์บอร์ด และจอภาพ เป็นต้น
– ทำงานร่วมกับโปรแกรมที่อยู่ในรอม เมื่อเริ่มบูตเครื่อง OS จะทำงานต่อจากโปรแกรมประเภท Firmware (ซอฟต์แวร์ ที่บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ บันทึกไว้ในหน่วยความจำรอม เพื่อตรวจสอบความพร้อมของฮาร์ดแวร์ในระบบ) ที่จัดเก็บไว้ในรอม จะทำงานเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เรามักเรียกFirmware นี้ว่า BIOS (Basic Input Output System) โดย BIOS จะทำการตรวจสอบความพร้อม ระบบฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงส่งหน้าที่ให้แก่ OS เพื่อให้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
– จัดตารางการใช้ทรัพยากร การเข้าใช้หน่วยประมวลผลกลาง ของคำสั่งที่ผู้ใช้สั่งงาน เช่นกำหนดวิธีการจัดคิว (Queue) ของคำสั่ง เวลาที่ OS อนุญาตให้ใช้ซีพียู ของแต่ละคำสั่ง ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยประมวลผลกลาง ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
– จัดการข้อมูลและสารสนเทศในหน่วยความจำ ได้แก่การนำข้อมูลไปวาง (Placement)ในหน่วยความจำ การแทนที่ข้อมูลในหน่วยความจำ (Replacement) การย้ายข้อมูลในหน่วยความจำ
– จัดการระบบการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลลงบนสื่อสำรอง (Secondary Storage Unit)
– นำโปรแกรมประเภทอื่น เข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ นอกจากประมวลผลแล้วยังคอยให้บริการ เมื่อโปรแกรมต่าง ๆ ต้องการใช้ทรัพยากรของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดรฟ์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
– จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย
– จัดการเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์รอบข้างของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องสแกนเนอร์ การ์ดเสียง และ โมเด็ม เป็นต้น
คุณลักษณะของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
พิจารณาคุณลักษณะของโปรแกรมระบบปฏิบัติการตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
จำนวนงานที่ทำได้ ถ้ามีหลายโปรแกรมทำงานพร้อมกันได้ เรียกว่า Multi – Tasking OS แต่ถ้า OS ควบคุมให้โปรแกรมทำงานได้ครั้งละ 1 โปรแกรมเท่านั้น เราเรียกว่า Single – Tasking OS
จำนวนผู้ใช้ จำนวนผู้ใช้ OS สามารถควบคุมการทำงาน ให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานพร้อม ๆ กันได้ หลายเครื่องในระบบเครือข่าย ที่มีผู้ใช้หลายคน ถ้า OS สามารถจัดการระบบ ที่มีผู้ใช้หลาย ๆ คน พร้อมกันได้ในระบบเรียกว่า Multi-User OS แต่ถ้า OS สามารถจัดการระบบ ได้เพียงเครื่องเดียว หรือมีผู้ใช้ระบบ ได้เพียงครั้งละ 1 คน เรียกว่า Single – User OS
ประเภทคอมพิวเตอร์ที่ใช้ได้ ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ Generic Operation System ( ระบบปฏิบัติการ ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้หลายประเภท ไม่ยึดติด กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ประเภทใด ) กับอีกประเภทหนึ่งคือ Proprietary Operating System ( ระบบปฏิบัติการ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ ระบบหนึ่งระบบใด หรือยี่ห้อหนึ่ง ยี่ห้อใดเท่านั้น) ตัวอย่างสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมา เพื่อใช้กับไมโครโปรเซสเซอร์ประเภทเดียว ไม่สามารถนำไปใช้ กับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ ได้ เช่น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่อง Macintosh และเครื่องในตระกูล Apple II ซึ่งใช้ซีพียู ยี่ห้อ Motorola ไม่สามารถนำระบบปฏิบัติการนี้ มาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร ์ทั่ว ๆ ไปได้
ประเภทของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ DOS มีข้อเสียคือ ติดต่อกับผู้ใช้ไม่สะดวก เพราะผู้ใช้ต้องจำ และพิมพ์คำสั่งให้ถูกต้อง โปรแกรมจึงจะทำงาน ดังนั้นประมาณปี ค.ศ. 1985 บริษัทไมโครซอฟต์ ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ Microsoft Windows Version 1.0 และได้พัฒนาเรื่อยมาจนถึง Version Microsoft Windows 3.11 ในปีค.ศ. 1990 ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ทำงานในสภาพแวดล้อม ที่เป็นกราฟิกเรียกว่า Graphic User Interface(GUI) ทำหน้าที่แทนดอส ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก ทำให้ Microsoft Windows 3.11 ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติเด่นของ Windows 3.11 คือทำงานในกราฟิกโหมด เป็น Multi-Tasking และ Generic OS แต่ยังคงทำงานในลักษณะ Single-User OS แต่ก็ยังคงต้องอาศัยระบบปฏิบัติการดอส ทำการบูตเครื่องเพื่อเริ่มต้นระบบก่อน
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์95 :::: ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ และวางจำหน่ายในช่วงปลายปี 1995 เป็นซอฟต์แวร ์ที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป ที่มีคุณลักษณะฮาร์ดแวร ์และหน่วยความจำ สูงกว่าระบบปฏิบัติการดอส ต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็ว ในการประมวลผลด้วย ตัวโปรแกรมต้องใช้พื้นที่ฮาร์ดดิสก์ประมาณ 40 MB มีรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) เป็นภาพกราฟิก ทำให้ง่าย และสะดวกต่อการใช้งานยิ่งขึ้น (Friendly User Interface)
วินโดวส์ 95 ติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้ภาพกราฟิก การใช้งานควบคุมโปรแกรม โดยใช้เมาส์เป็นส่วนใหญ่ ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่ง สะดวกต่อการใช้งานมาก นอกจากนั้นยังมี DOS Prompt ให้สามารถใช้คำสั่ง ที่จำเป็นของดอสในวินโดวส์ 95 ได้อีกด้วย ความสามารถของวินโดวส์ 95 คือเตรียมโปรแกรม สำหรับการควบคุม การเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก ไว้จำนวนมาก สามารถตรวจสอบอุปกรณ์ ที่นำมาเชื่อมต่อใหม่ได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้สะดวกอย่างมาก ในการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ เข้ากับคอมพิวเตอร์ การทำงานในลักษณะนี้เรียกว่า Pnp (Plug and Play) นอกจากนี้ยังมีความสามารถ จัดการในการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบจุดต่อจุด (Peer-to-Peer) เพื่อใช้ทรัพยากรของระบบเครือข่ายร่วมกัน
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98 :::: วินโดวส์ 98 เป็นระบบปฏิบัติการ ที่มีความสามารถสูง พัฒนาต่อเนื่องมาจาก วินโดวส์ 95 สามารถทำงานแบบหลายงาน (Multi-Tasking OS) มีผู้ใช้ในระบบเพียงคนเดียว แบบ Single- User OS ได้ อีกทั้งยังสามารถ นำไปใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ได้ทั่วไป เรียกว่าเป็นแบบ Generic Operating System การทำงานของวินโดวส์ 98 ติดต่อกับผู้ใช้แบบ Graphic User Interface (GUI) เช่นเดียวกับวินโดวส์ 95 แต่ปรับรูปแบบให้ดูสวยงาม อัตโนมัติยิ่งขึ้น มีความสามารถ ในการเชื่อมต่อ กับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้สะดวกยิ่งขึ้น มีโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือ สำหรับการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มาพร้อมคือโปรแกรม Internet Explore
ข้อด้อยของโปรแกรม ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98 คือ ต้องการทรัพยากรของระบบ ได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์มัลติมีเดียสูง คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำ ไม่สามารถติดตั้งวินโดวส์ 98 ได้ แต่มีข้อดีคือ ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก มากกว่าวินโดวส์ 95 มีซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่าง ๆ สนับสนุนทำงานบนระบบวินโดวส์ 98 เป็นจำนวนมาก รองรับการใช้งาน ด้านอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี
ระบบปฏิบัติการ Windows ME :::: Windows ME (Windows Millennium Edition) เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95และ98 ซึ่งออกแบบมาให้เหมาะสม กับผู้ใช้ตามบ้าน เป็นระบบปฏิบัติการที่ทันสมัย ฉลาด และเข้าใจผู้ใช้ มากกว่าวินโดวส์ 95 และวินโดวส์ 98 หน้าตาของ Windows ME จะมีรูปลักษณ์เหมือนวินโดวส์ 98 มาก แต่มันมีคุณลักษณะพิเศษ ที่เหนือกว่าเดิมมาก เช่นสามารถสร้างระบบเครือข่าย ภายในบ้านได้ นอกจากนี้ยังมีความสามารถ ด้านอินเทอร์เน็ต และมัลติมีเดีย มากกว่าวินโดวส์ 98 อีกด้วย
ระบบปฏิบัติการ Windows 2000 :::: Windows 2000 เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนอง ระบบเครือข่าย และเป็น OS ที่สร้างขึ้นมาเป็น GUI ตั้งแต่ต้น ดังนั้นการนำ Application เดิม ๆ ที่เคยใช้กับระบบปฏิบัติการดอส หรือโปรแกรม ที่สั่งงานฮาร์ดแวร์โดยตรง มาใช้บนระบบปฏิบัติการ วินโดวส์2000 อาจไม่ยอมทำงานให้ แต่การทำงานระบบ Multi-Tasking และ Multi-User ใช้งานได้ดีกว่าตระกูล วินโดวส์ 95 และ 98 โดยทำการควบคุม ขบวนการทำงาน ของแต่ละโปรแกรมได้ดีขึ้น
ระบบปฏิบัติการ Windows XP :::: WindowsXP เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เริ่มวางตลาดในปี ค.ศ. 2001 โดยตั้งชื่อ ให้รับกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดว่า Microsoft Windows XP โดยคำว่า XP ย่อมาจาก experience แปลว่ามีประสบการณ์ โดยทางบริษัทผู้สร้าง กล่าวว่าการตั้งชื่อเช่นนี้ มีเหตุผลมาจากที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงการ ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการใช้ Windows XP ทุก ๆ ประมาณ 2 ปี บริษัทไมโครซอฟต์ผู้ผลิตโปรแกรมวินโดวส์ จะวางตลาดวินโดวส์รุ่นใหม่ ๆ โดยได้ใส่เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นข้อด้อยของวินโดวส์รุ่นเก่า เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ Windows XP มีจุดเด่นและความสามารถมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบใช้งานที่ดูสวยงาม และง่ายกว่าวินโดวส์รุ่นเก่า ๆ มีระบบช่วยเหลือในการปรับแต่งมากมาย เช่นระบบติดตั้งฮาร์ดแวร์ ติดตั้งเครือข่าย และสร้างผู้ใช้ในเครือข่าย การสร้างแฟกซ์ด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมรุ่นใหม่ แถมมาให้หลายโปรแกรม เช่นโปรแกรมดูหนังฟังเพลง (Windows Media Player 8)และโปรแกรมท่องโลกอินเทอร์เน็ต (Internet Explorer 6) เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์มือใหม่ และผู้ใช้งานทั่วไปอย่างยิ่ง
Windows XP มีให้เลือกใช้สองรุ่นคือ Windows XP Home Edition ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน ที่ไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย และอีกรุ่นคือ Windows Xp Professional Edition ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานในองค์กร ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ดี คนที่ใช้วินโดวส์เวอร์ชั่น XP จะต้องใช้เครื่องที่มีทรัพยากรมาก เช่น ซีพียู เพนเทียม 300 MHz ขึ้นไป แรมไม่ต่ำกว่า 128 MB ฮาร์ดดิสก์เหลือกพื้นที่ว่างมากกว่า 1.5 GB เป็นต้น
ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Vista เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ล่าสุดจากไมโครซอฟท์ ที่พัฒนาต่อมาจาก Microsoft Windows XP และ Microsoft Windows Server 2003 ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความล้ำสมัย ทั้งรูปร่างหน้าตา (Interface) และฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆ นอกจากที่ Vista จะมีความพิเศษในเรื่องฟังก์ชั่นต่างๆ แล้ว ไมโครซอฟท์ได้ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยและเน็ตเวิร์คให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปัจจุบันได้วางจำหน่ายให้กับองค์กรธุรกิจวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และวางจำหน่ายให้กับผู้ใช้ทั่วไปวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550 ไมโครซอฟท์ประกาศใช้ชื่อ Microsoft Windows Vista อย่างเป็นทางการแก่สื่อมวลชนในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แทนที่ชื่อรหัส ลองฮอร์น (Longhorn) โดยคำว่า วิสตา ในภาษาอังกฤษ หมายถึงมุมมอง หรือทิวทัศน์
2.1.2 ตัวแปลภาษา (Translator) จาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจ ให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง ซึ่ง เป็นภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์ ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่จะนำไปประมวลผล ตัวแปลภาษาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พีทเตอร์ (Interpeter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อน แล้วทำการลิ้ง (Link) เพื่อให้ได้คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่ง แล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้น จะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งมี 2 แบบได้แก่ ภาษาแบบโครงสร้าง เช่น ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา(Java)ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษา SQL ภาษา HTML เป็นต้น ภาษาแบบเชิงวัตถุ ( Visual หรือ Object Oriented Programming ) เช่น Visual Basic,Visual C หรือ Delphi เป็นต้น
2.1.3 ยูติลิตี้ โปรแกรม (Utility Program)
โปรแกรมยูทิลิตี้ (Utilities Program)และการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์
สาระสำคัญ
ในการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นหากผู้ใช้ทำการใช้งานเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ทำการบำรุงรักษา สิ่งที่จะเกิดขึ้นมาในอนาคต หรือปัจจุบันก็ คือ การประมวลผลและการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่ต่ำลง กว่ามาตรฐาน ซึ่งจากเหตุผลนี้เองได้มีการนำโปรแกรมยูทิลิตี้ มาใช้ในการบริหารจัดการและควบคุมดู แลระบบให้กับผู้ใช้ นอกจากการดูแลในส่วนของโปรแกรมแล้วนั้นผู้ใช้ยังจำเป็นที่ต้องดูแลอุปกรณ์ ภายนอกอีกด้วยเพื่อให้คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานนั้นมีสภาพใช้งานที่คงทนและใช้งานได้ตามอายุการใช้งาน
สาระการเรียนรู้
1. การใช้งานโปรแกรมยูทิลิตี้
2. การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ผลการเรียนที่คาดหวัง
1.สามารถใช้งานโปรแกรมยูทิลิตี้ในการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.สามารถเรียนรู้เข้าใจการทำงานและการดูแลบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง
โปรแกรมยูทิลิตี้ เป็นโปรแกรมที่นำมาใช้งานเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งมีมากมายหลายชนิด และโปรแกรมยูทิลิตี้บางตัวก็จัดเป็นโปรแกรมหนึ่งที่ใช้สำหรับการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์โปรแกรมยูทิลิตี้ดังกล่าวจะถูกติดตั้งให้โดยอัตโนมัติ หลังจากที่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ซึ่งก็คือโปรแกรม Scandisk และโปรแกรม Defragmenter โดยโปรแกรมยูทิลิตี้ทั้งสองนี้ ถือเป็นโปรแกรมในกลุ่มที่ใช้งานเพื่อบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ นั่นก็ คือ เป็นการบำรุงรักษาด้านซอฟต์แวร์ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
การใช้งานโปรแกรมยูทิลิตี้
การใช้งานโปรแกรม Scan Disk
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์สำคัญในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งการอ่านเขียนบนผิวดิสก์ในบางครั้งอาจ เกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ถ้าจุดที่ผิดพลาดเป็นไฟล์ข้อมูลไฟล์นั้นอาจเสียหรือใช้งานไม่ได้ดังนั้นโปรแกรม Scandisk ที่บรรจุอยู่ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ สามารถทำการตรวจสอบซ่อมแซมพื้นที่ที่เสียเหล่านั้น กลับมาให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ตามปกติ และเป็นโปรแกรมยูทิลิตี้ที่สามารถใช้งานได้ทั้งบน ฮาร์ดดิสก์และแผ่นดิสก์เก็ต การเรียกใช้โปรแกรม Scandisk บน Windows 98 เรียกใช้โปรแกรม Scandisk โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และเลือก Accessories เลือกที่ System Tools และเลือก Scandisk ตามรูปตัวอย่าง
2.1.4 ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setupและ Driver ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Setup Microsoft Office โปรแกรม Driver Sound , Driver Printer , Driver Scanner ฯลฯ เป็นต้น
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน
ซอฟต์แวร์สำเร็จ
ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)
1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ
เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล
ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก
2.2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software)
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะการประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละรายซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย
2.2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงาน ซึ่งขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
3 บุคลากร ( Peopleware )
หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)
คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User)
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น
3.1 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis)
1. ระบบคืออะไร และ นักวิเคราะห์ระบบคือใคร
ระบบ (System) คือ สิ่งต่างๆ ที่มีการติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดร่วมกัน กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ
ที่ทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์อันเดียวกัน ระบบอาจจะประกอบด้วยบุคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้ พัสดุ วิธีการ ซึ่งทั้งหมดนี้
จะต้องมีระบบจัดการอันหนึ่งเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์อันเดียวกัน
1.What คือ ระบบทำอะไร , วัตถุประสงค์ของระบบคืออะไร มีแผนงานขั้นตอนอย่างไรเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ (Goal)
2.Who คือ ทำโดยใคร ,บุคคลหรือใครที่รับผิดชอบ
3. When คือ ทำเมื่อไร , การเริ่มดำเนินงานและผลสำเร็จของงานจะสำเร็จลุล่วงได้เมื่อไร ควรมีการจัดตารางการทำงาน
อย่างมีระบบ การทำงานโดยไม่มีการจัดตารางการทำงานที่แน่นอน ส่งผลให้ระบบงานยืดเยื่อ ไม่สามารถปิดงานได้
ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
4. How คือ ทำอย่างไร มีวิธีการทำงานอย่างไร ต้องใช้เครื่องมือใดเพื่อให้งานสำเร็จได้รวดเร็ว
ระบบที่เราควรทราบเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และออกแบบได้แก่ ระบบธุรกิจ และ ระบบสารสนเทศ (MIS)
ระบบธุรกิจ (Business System) ได้แก่ระบบที่ทำงานเพื่อจุดประสงค์ด้านธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรมเป็นระบบธุรกิจเพื่อ
จุดประสงค์ด้านการผลิต นอกจากนี้ระบบขนส่ง ระบบโรงแรม ระบบการพิมพ์ ระบบธนาคาร และอื่นๆ อีกมาก ล้วนแล้วแต่เป็น
ระบบธุรกิจทั้งนั้น ซึ่งมีจุดประสงค์แตกต่างๆกันออกไป ระบบธุรกิจอาจจะแบ่งย่อยๆลงไปได้อีก เช่น ในโรงงานเราจัดแบ่ง
เป็นฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายสินค้าคงคลัง หรืออาจจะรวมฝ่ายขายเข้ามาอยู่ด้วยก็ได้ในระบบย่อยของ
ฝ่ายขายจะต้องทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น รับใบสั่งสินค้าจากลูกค้า ส่งใบเก็บเงินไปให้ลูกค้า สำหรับฝ่ายบัญชีทำหน้าที่จ่ายเงิน
เดือนพนักงานเป็นต้น นักวิเคราะห์ต้องทราบขั้นตอนการทำงานในระบบที่ได้รับมอบหมายและทำความเข้าใจให้ดี
ระบบสารสนเทศ (Management Information System) ระบบนี้ช่วยจัดการข้อมูลที่ต้องการใช้ในระบบธุรกิจ
ช่วยเก็บตัวเลขและข่าวสารเพื่อช่วยในการดำเนินธุรกิจและการตัดสินใจ เช่น ระบบการเก็บเงินลูกค้า เราต้องการที่จะทราบว่า
ลูกค้าแต่ละคนชื่ออะไร อยู่ที่ไหน สินค้าและจำนวนที่ขายให้แก่ลูกค้าแต่ละคนเป็นอย่างไร การจ่ายเงินของลูกค้าเป็นอย่างไร
ติดค้างนานหรือไม่ หรือหนี้สูญ รวมทั้งจำนวนเงินที่ลูกค้าจะต้องชำระ
นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysts) คือ ผู้ที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างระบบสารสนเทศกับกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง
ได้แก่ เจ้าของระบบ (System Owners) ผู้ใช้ระบบ (System Users) และผู้สร้างระบบ (System Builders) เพื่อพัฒนา
ระบบสารสนเทศขององค์กรขึ้นมา ทั้งนี้หน้าที่หลักของนักวิเคราห์ระบบจะแบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 วิเคราะห์ระบบ (System Analysis) เป็นการศึกษา วิเคราะห์ และแยกแยะถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ
พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขตามความต้องการของผู้ใช้งานและความเหมาะสมต่อสถานะทางการเงินขององค์กร
ส่วนที่ 2 ออกแบบระบบ (System Design) เป็นวิธีการออกแบบ และกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคโดยนำระบบ
คอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อแก้ปัญหาที่ได้ทำการวิเคราะห์มาแล้ว
2. หน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ
1.รวบรวมข้อมูล
เป็นการรวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบใหม่
ทั้งนี้อาจจะทำแบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์เพื่อเก็บรายละเอียดต่างๆ จากผู้ใช้ระบบ จากผู้ใช้ระบบ เพราะผู้ใช้ระบบเป็นผู้
ที่เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดีที่สุด
2. จัดทำเอกสาร
ในระหว่างการทำพัฒนาระบบนั้น นักวิเคราะห์ระบบจะต้องจัดทำเอกสารประกอบในแต่ละขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ
โดยละเอียด และปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อความคล่องตัวหากมีการเปลี่ยนทีมงานในระหว่างการพัฒนาระบบ
3. จัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
เป็นการรวบรวมเอกสารทั้งหมด และอธิบายถึงเอกสารต่างๆ ที่ต้องมีการใช้งานในระบบ พจนานุกรมข้อมูลจัดเป็นสิ่งหนึ่ง
ที่นักวิเคราะห์ระบบจำเป็นต้องใช้ในการติดต่อประสานงานกับโปรแกรมเมอร์และเจ้าของระบบ
4.ออกแบบระบบ
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ และมีความ
เหมาะสมมากที่สุด รวมทั้งออกแบบลักษณะการติดต่อของโปรแกรมกับผู้ใช้งาน ฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่จะนำมาใช้ในระบบ กำหนดลักษณะของเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ กำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัย
ของระบบ รวมไปถึงการประมาณการค่าใช้จ่ายต่างๆ ในส่วนที่จะเกิดขึ้น
5.สร้างแบบจำลอง
ทำการสร้างแบบจำลองของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำเสนอแก่เจ้าของระบบและผู้ใช้งาน ในบาง องค์กรหน้าที่การสร้าง
แบบจำลองจะเป็นของโปรแกรมเมอร์
6. ทดสอบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น
ในบางครั้งนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์จะเป็นผู้ทดสอบโปรแกรมเอง แต่หากมอบหมายให้ผู้ใช้ระบบเป็นผู้ทดสอบ
จะมีผลการทดสอบที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เนื่องจากผู้ใช้ระบบเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจระบบงานอย่างแท้จริง จึงสามารถบอกได้ว่า
โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมานั้นทำงานได้สอดคล้องกับการทำงานจริงมากน้อยเพียงใด
7. ติดตั้งและทำการปรับเปลี่ยนระบบ
ทำการติดตั้งและปรับเปลี่ยนระบบเดิมเป็นระบบใหม่ ซึ่งสามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น ติดตั้งทั้งหมดทันที ติดตั้งเป็น
บางส่วนก่อน หรือติดตั้งระบบใหม่ควบคู่ไปกับการทำงานของระบบเก่า เป็นต้น
8. จัดทำคู่มือ
จัดทำคู่มือและจัดเตรียมหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ผู้ใช้ระบบ เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบซึ่ง หมายรวมถึงการ
เปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงาน ลักษณะของโปรแกรมที่ใช้งานก็เปลี่ยนแปลงไป การที่ผู้ใช้ระบบจะสามารถเข้าใจและรับรู้การ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว คือ การได้รับการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง
9. จัดทำแบบสอบถาม
จัดทำแบบสอบถามถึงผลการดำเนินงานของระบบใหม่ที่ได้ติดตั้งไปแล้วในรูปแบบของรายงานผลการใช้งาน (Feedback)
เพราะจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบทราบว่าผลของการติดตั้งระบบใหม่เป็นอย่างไร และมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นตามมาบ้างเพื่อจะ
ได้นำปัญหาเหล่านั้นมาทำการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้เป็นระบบที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ได้ในที่สุด
10. บำรุงรักษาและประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบ
เป็นการดูแลระบบเมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น รวมทั้งเป็นการปรับปรุง ดัดแปลง หรือแก้ไขทั้งโปรแกรมและขั้นตอนการทำงาน
ของระบบ เพื่อให้ระบบมีการทำงานที่ถูกต้องมากที่สุด นอกจากนั้นยังทำให้สามารถประเมินผลการปฏิบัติงานของระบบใหม่ได้อีกด้วย
11. เป็นผู้ให้คำปรึกษา
คอยให้คำปรึกษาแก่ผู้ใช้ระบบและทุกคนในระบบ (Consulting) ภายหลังจากการติดตั้งระบบแล้ว การใช้งานอาจเกิดข้อ
สงสัยหรือข้อผิดพลาดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะต้องคอยให้คำปรึกษา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการใช้โปรแกรม
หรือทางด้านเทคนิคก็ตาม
12. เป็นผู้ประสานงาน
ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ (Coordinator) เพื่อให้เข้าใจในเหตุการณ์หรือข้อมูลที่
เกิดขึ้นภายในองค์กรได้ถูกต้องตรงกันที่สุด
13. เป็นผู้แก้ไขปัญหา
ในที่นี้จะเป็นผู้ที่นำแนวคิดของคำว่า “ระบบ” มาใช้ในการแก้ปัญหาทั้งการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์กร และแก้ปัญหา
ด้านระบบสารสนเทศด้วย โดยการเปรียบเทียบในลักษณะของงานทางธุรกิจคือระบบ ซึ่งจะต้องกำหนดขอบเขตของระบบผู้ที่
เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบพิจารณาว่าข้อมูลที่เข้าและออกจากระบบนั้นเกิดจากบุคคลฝ่ายใดหรือเกิดจากขั้นตอนการ
ทำงานขั้นตอนใด เพื่อให้เการแก้ไขปัญหานั้นสามารถดำเนินการได้อย่างชัดเจนภายในขอบเขตของระบบนั้น
14. เป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลง
นักวิเคราะห์ระบบเป็นผู้ที่สามารถแสดงให้ทุกคนเล็งเห็นถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงจากระบบเก่า
เป็นระบบใหม่ได้
15. เป็นผู้เตรียมข้อมูลให้กับองค์กร
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบแล้ว นักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้ที่ทราบรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงดีที่สุด ซึ่งสามารถ
เตรียมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการแข่งขัน หรือการหาตลาดใหม่ขององค์กรได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์
3. คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ
1.มีความชำนาญหลากหลายในศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมภาษา ฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.มีความเข้าใจในระบบธุรกิจ ระบบการเงิน และระบบการตลาด เป็นอย่างดี
3.มีความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นอย่างดี
4.ต้องเป็นนักสำรวจ ที่ช่างสังเกตในรายละเอียดต่างๆ ของระบบ รวมไปถึงองค์ประกอบภายนอกที่เกี่ยวข้องกับระบบ เพื่อนำ
มาเป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาระบบ
5.มีจรรยาบรรณต่อองค์กรที่พัฒนาระบบให้ ไม่นำข้อมูลที่ได้ซึ่งเป็นความลับขององค์กรไปเผยแพร่ภายนอกอันอาจจะก่อ
ให้เกิดผลเสียแก่องค์กรนั้นได้
6.ต้องทำงานเป็นทีมได้เป็นอย่างดี เช่น ทีมพัฒนาระบบ ทีมนักวิเคราะห์ระบบ เป็นต้น
7.มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีการติดต่อประสานงานระหว่างบุคคลหลายกลุ่มเพื่อคอยอำนวย
ความสะดวกและเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อการพัฒนาระบบ
8.สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง
9.มีความสามารถสูงในการนำเสนอข้อมูลให้ทั้งผู้บริหารระดับสูงรวมไปถึงผู้ใช้ระบบ ให้สามารถเข้าใจได้โดยง่าย และตรงกัน
10.มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ดี หากองค์กรนั้นสื่อสารภายในเป็นภาษาอังกฤษ
11.สามารถทำงานภายใต้ภาวะกดดันได้ เนื่องจากต้องทำงานกับบุคคลหลายฝ่าย ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีปัญหา
เกิดขึ้นจากบุคคลต่างๆ มากมาย
12.เป็นนักจิตวิทยา ในการที่จะพูดคุยหรือติดต่อกับกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลมาอย่างละเอียด
ถูกต้องและสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ใช้ระบบได้
4. นักวิเคราะห์ระบบพัฒนาการระบบสารสนเทศอย่างไร
การที่มีนักวิเคราะห์ระบบในองค์กรนั้นเป็นการได้เปรียบเพราะจะรู้โดยละเอียดว่า การทำงานในระบบนั้นๆ เป็นอย่างไร
และอะไรคือความต้องการของระบบ ในกรณีที่นักวิเคราะห์ระบบไม่ได้อยู่ในองค์กรนั้น ก็สามารถวิเคราะห์ระบบได้เช่นกัน
โดยการศึกษาสอบถามผู้ใช้และวิธีการอื่นๆ ซึ่งจะกล่าวในภายหลัง ผู้ใช้ในที่นี้ก็คือ เจ้าของ และผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ
นั่นเอง ผู้ใช้อาจจะมีคนเดียว หรือหลายคนก็ได้ เพื่อให้นักวิเคราะห์ระบบทำงานได้อย่างคล่องตัวมีลำดับขั้น และเป้าหมายที่
แน่นอนนักวิเคราะห์ระบบควรจะทราบถึงว่า ระบบสารสนเทศนั้นพัฒนาขึ้นมาอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร
วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle)
คือ กระบวนการทางความคิด (Logical Process) ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจและตอบสนอง
ความต้องการของผู้ใช้ได้ โดยระบบที่จะพัฒนานั้น อาจเริ่มด้วยการพัฒนาระบบใหม่เลยหรือนำระบบเดิมที่มีอยู่แล้วมา
ปรับเปลี่ยนให้ดียิ่งขึ้น ขั้นตอนในวงจรการพัฒนาระบบ ช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถดำเนินการได้อย่างมีแนวทางและเป็น
ขั้นตอน ทำให้สามารถควบคุมระยะเวลาและงบประมาณในการปฏิบัติงานของโครงการพัฒนาระบบได้
ระบบสารสนเทศทั้งหลายมีวงจรชีวิตที่เหมือนกันตั้งแต่เกิดจนตาย วงจรนี้จะเป็นขั้นตอนที่เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนเสร็จเรียบร้อย
เป็นระบบที่ใช้งานได้ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าในแต่ละขั้นตอนจะต้องทำอะไร และทำอย่างไร ขั้นตอน
การพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอนคือ
1.ค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project Identification and Selection) เนื่องจากในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันมีสภาวะ
แข่งขันของธุรกิจค่อนข้างสูง จึงทำให้องค์กรจำเป็นต้องหากลยุทธ์ทางการแข่งขันเพื่อเพิ่มความได้เปรียบต่อคู่แข่งขัน และ
แย่งส่วนแบ่งใน ตลาดให้ได้มากขึ้นอันจะนำไปสู่ผลกำไรที่มากขึ้น ซึ่งกลยุทธ์การแข่งขันดังกล่าวอาจจะเป็นการพัฒนา
ระบบงานที่ดำเนินการ อยู่ในปัจจุบันหรือพัฒนาระบบใหม่ แต่จะมีระบบงานใดบ้างนั้น จะต้องค้นหาจากผู้ที่ปฏิบัติงานกับ
ระบบงานจริง โครงการที่ รวบรวมมาได้อาจมีหลายโครงการ แต่อาจดำเนินการพร้อมกันหมดไม่ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่อง
ของต้นทุนและเวลาที่ใช้ใน การดำเนินการ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการเลือกสรรโครงการที่เหมาะสมและให้ผลประโยชน์แก่องค์กร
มากที่สุดในสภาวะการณ์ ปัจจุบัน โดยที่บุคคลากรในองค์กร อาจต้องการพัฒนาระบบภายในองค์กรขึ้นมาหลากหลายโครงการ
ที่ล้วนแต่เป็นการพัฒนา ประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร แต่การดำเนินการพัฒนาระบบในทุกๆ โครงการพร้อมกัน
อาจเป็นไปไม่ได้เนื่องจาก มีข้อจำกัดเรื่องของต้นทุนที่ใช้ในการพัฒนา การพัฒนาระบบงานสารสนเทศในขั้นตอนแรกของ
วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) เป็นขั้นตอนที่อธิบายถึงการค้นหาโครงการของระบบงานที่ต้องการพัฒนา และพิจารณาเลือก
โครงการที่จะทำให้องค์กรได้รับ ผลตอบแทนมากที่สุด
เริ่มจากการที่ผู้บริหารขององค์กรหรือบุคลากรมีความต้องการที่จะพัฒนาระบบงาน จึงได้มีการแต่งตั้ง
กลุ่มบุคคลเพื่อค้นหาโครงการที่เห็นสมควรว่าควรได้รับการพัฒนา จากกิจกรรมการค้นหาโครงการนี้ ส่ง ผลให้เกิดโครงการ
พัฒนาขึ้นมาหลายโครงการ ผู้บริหารและนักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการจำแนกกลุ่ม ของโครงการให้เป็นหมวดหมู่อย่างมี
หลักเกณฑ์ เช่น จำแนกตามความสำคัญ หรือจำแนกตามผลตอบ แทนที่จะได้รับ กิจกรรมสุดท้ายของขั้นตอนนี้จะทำการ
เลือกโครงการที่เหมาะสมที่สุด และตรงกับวัตถุ ประสงค์ (Objective) ขององค์กรในสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด
2.เริ่มต้นและวางแผนโครงการ (Project Initiating and Planning) รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเริ่มต้นจัดทำโครงการที่ได้รับ
อนุมัติ โดยเริ่มจากการจัดตั้งทีมงาน เพื่อเตรียมการดำเนินงานจากนั้นทีมงานดังกล่าวร่วมกันค้นหา สร้างแนวทาง และเลือก
ทางที่ดีที่สุดในการนำระบบใหม่มาใช้งาน เมื่อได้ทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุดแล้ว ทีมงานจึงเริ่มวางแผนดำเนินงานโครงการ
โดยศึกษาความเป็นไปได้ กำหนดระยะเวลาดำเนินงานแต่ละขั้นตอนและกิจกรรม เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารพิจารณาอนุมัติให้
ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
3.วิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ศึกษาขั้นตอนการดำเนินการของระบบเดิมเพื่อหาปัญหาที่เกิดขึ้น รวบรวมความ
ต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบแล้วนำความต้องการเหล่านั้นมาศึกษาและวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการใช้แบบ
จำลองต่างๆ ช่วยในการวิเคราะห์
เริ่มจากทำการศึกษาถึงขั้นตอนการดำเนินงานของระบบเดิมหรือระบบปัจจุบันว่าเป็นไปอย่างไรบ้าง ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร
หลังจากนั้นจึงรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ โดยอาจจะมีการใช้เทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น
การออกแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาทำการวิเคราะห์ด้วยการจำลองแบบข้อมูลเหล่านั้น
ได้แก่ แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ (Process Model) แบบจำลองข้อมูล (Data Model) โดยมีการใช้เครื่องมือ
ในการจำลองแบบชนิดต่างๆ เช่น แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
(Entity Relationship Diagram) เป็นต้น
4.ออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design) เป็นขั้นตอนในการออกแบบลักษณะการทำงานของระบบตามทางเลือกที่ได้
ทำการเลือกไว้จากขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ โดยการออกแบบในเชิงตรรกะนี้ยังไม่ได้มีการระบุถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์
ที่จะนำมาใช้ เพียงแต่กำหนดถึงลักษณะของรูปแบบรายงานที่เกิดจากการทำงานของระบบ ลักษณะของการนำข้อมูลเข้าสู่
ระบบและผลลัพธ์ที่ได้จากระบบขั้นตอนการออกแบบเชิงตรรกะจะสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบเป็น
อย่างมาก เนื่องจากอาจจะมีการนำแผนภาพที่แสดงถึงความต้องการของผู้ใช้ระบบที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบมาทำ
การแปลงเพื่อให้ได้ข้อมูลเฉพาะของการออกแบบ (System Desing Specification) ที่สามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้
สะดวกขึ้น เช่น การออกแบบส่วนนำเข้าข้อมูลและผลลัพธ์นั้นต้องอาศัยข้อมูลที่เป็น Data Flow ที่ปรากฎอยู่บนแผนภาพ
กระแสข้อมูลในขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ
5.ออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design) ระบุถึงลักษณะการทำงานของระบบทางกายภาพหรือทางเทคนิค โดยระบุ
ถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้เทคโนโลยี โปรแกรมภาษาที่จะนำมาใช้เขียนโปรแกรม ฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการ
และระบบเครือข่ายที่เหมาะสม สิ่งที่ได้จากขั้นตอนการออกแบบทางกายภาพนี้จะเป็นข้อมูลเฉพาะของการออกแบบ
(System Design Specification) เพื่อส่งมอบให้กับโปรแกรมเมอร์เพื่อใช้เขียนโปรแกรมตามลักษณะการทำงานของระบบที่
ได้ออกแบบและกำหนดไว้ทั้งนี้ในการออกแบบที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ ขึ้นอยู่กับระบบขององค์กรว่าจะต้องมีการเพิ่มเติม
รายละเอียดส่วนใดบ้างแต่ควรจะมีการออกแบบระบบความปลอดภัยในการใช้ระบบด้วย โดยการกำหนดสิทธิในการใช้งาน
ข้อมูลที่อยู่ในระบบของผู้ใช้ตามลำดับความสำคัญ เพื่อป้องกันการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้นักวิเคราะห์
ระบบอาจจะมีการตรวจสอบความพึงพอใจในรูปแบบและลักษณะการทำงานที่ออกแบบไว้ โดยอาจจะมีการสร้างตัวต้นแบบ
(Prototype) เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้งาน
6.พัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation) เป็นการนำระบบที่ออกแบบแล้วมาทำการเขียนโปรแกรมเพื่อให้
เป็นไปตามคุณลักษณะและรูปแบบต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้หลังจากเขียนโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว นักวิเคราะห์จะต้องทำการ
ทดสอบ โปรแกรม ตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา และสุดท้ายคือการติดตั้งระบบไม่ว่าจะเป็นระบบใหม่
หรือเป็นการ พัฒนาระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยทำการติดตั้งตัวโปรแกรม ติดตั้งอุปกรณ์ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือและจัดเตรียม
หลักสูตร อบรมให้แก่ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องเริ่มจากการเขียนโปรแกรมซึ่งโปรแกรมเมอร์จะได้รับชุดเอกสารที่เกิดขึ้นตั้งแต่
ขั้นตอนการออกแบบ โดยเฉพาะข้อมูลส่วนของการออกแบบที่จะช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้น หลังจากนั้นจะต้องมีการ
ทดสอบโปรแกรมเพื่อหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นและทำการแก้ไขในเบื้องต้น เมื่อโปรแกรมผ่านการทดสอบแล้ว กิจกรรมต่อไป
คือการติดตั้งระบบใหม่ พร้อมทั้งจัดทำคู่มือประกอบการใช้โปรแกรม จัดหลักสูตรฝึกอบรมผู้ใช้ระบบและคอยช่วยเหลือใน
ระหว่างการทำงาน
7.ซ่อมบำรุงระบบ (System Maintenance) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวงจรพัฒนาระบบ (SDLC) หลังจากระบบใหม่ได้
เริ่มดำเนินการ ผู้ใช้ระบบอาจจะพบกับปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่คุ้นเคยกับระบบใหม่ และอาจค้นพบวิธีการแก้ไขปัญหา
นั้นเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้เอง ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์จะต้องคอยแก้ไขและเปลี่ยนแปลง
ระบบที่พัฒนาขึ้นมาจนกว่าจะเป็นที่พอใจของผู้ใช้ระบบมากที่สุด ปัญหาที่ผู้ใช้ระบบค้นพบระหว่างการดำเนินการนั้นเป็นผลดี
ในการทำให้ระบบใหม่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ใช้ระบบเป็นผู้ที่เข้าใจในการทำงานทางธุรกิจเป็นอย่างดี ซึ่ง
สามารถให้คำตอบได้ว่าระบบที่พัฒนามานั้นตรงต่อความต้องการหรือไม่เริ่มจากการมีการใช้งานระบบใหม่ที่ได้ติดตั้งแล้วใน
ระยะแรก ผู้ใช้จะพบกับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะมีการทำการบันทึกปัญหาเหล่านั้นไว้เพื่อส่งให้นักวิเคราะห์ระบบและ
โปรแกรมเมอร์ทำการแก้ไขต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และแก้ไขระบบที่เพิ่มมีการติดตั้งใช้งาน
ในระยะเริ่มต้น โดยนักวิเคราะห์ระบบจะทำการพิจารณาถึงปัญหาเหล่านั้นเพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป
5. เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบ (Computer-Aided Systems Engineering Tools: CASE Tools)
แม้ว่าในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาระบบ จะมีการนำเทคนิค แบบจำลอง และแผนภาพ ชนิดต่างๆ อธิบายแทนข้อมูล
จากเอกสารที่เป็นข้อความอธิบายลักษณะการทำงานของระบบ และวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นก็ตาม หากขั้นตอนในการทำงาน
เหล่านี้สามารถลดระยะเวลาลงได้ จะทำให้สามารถเพิ่มเวลาในขั้นตอนอื่น ที่เห็นว่าควรใส่ใจในรายละเอียดเพิ่มขึ้นได้ ส่งผล
ให้การพัฒนาระบบมีความถูกต้องมากขึ้นและผิดพลาดน้อยลงได้
ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่ช่วยสร้างแผนภาพ รายงาน โค้ดโปรแกรม ในระหว่างการวิเคราะห์และออกแบบระบบให้เป็นไป
โดยอัตโนมัติ นั่นคือ Computer-Aided Systems Engineering(CASE) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์หรือซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่ง
ของเทคโนโลยี ที่ช่วยในการพัฒนาระบบ คอยสนับสนุนการทำงานในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนา ด้วยการเตรียมฟังก์ชัน
การทำงานต่างๆ ที่ทำให้การทำงานแต่ละขั้นตอนมีความรวดเร็วและมีคุณภาพมากขึ้น
CASE จะช่วยแบ่งเบาภาระของนักวิเคราะห์ระบบได้มาก ตั้งแต่การช่วยสร้าง Context Diagram, Flowchart, E-R Diagram
สร้างรายงานและแบบฟอร์ม ตลอดจนการสร้างโค้ดโปรแกรม (Source Code) ให้อัตโนมัติอีกด้วย
5.1. ขอบข่ายของเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบ (CASE Tool Framework) CASE ที่ใช้ในการพัฒนา
ระบบถูกแบ่งขอบข่ายการทำงานออกเป็น 2 ช่วง โดยการแบ่งนั้นอ้างอิงจากขั้น ตอนการพัฒนาระบบในวงจร SDLC ซึ่งมีดังต่อไปนี้
Upper-CASE : เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการทำงานในขั้นตอนต้นๆ ของการพัฒนาระบบ ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน
ขั้นตอนการวิเคราะห์ และขั้นตอนการออกแบบระบบ
Lower-CASE : เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการทำงานในขั้นตอนสุดท้ายในการพัฒนาระบบ ได้แก่ ขั้นตอนการออกแบบ
ขั้นตอนการพัฒนาและทดสอบระบบ และขั้นตอนการให้บริการหลังการติดตั้งระบบ จะเห็นว่า CASE ทั้งสองระดับนี้ มีการ
ทำงานที่ซ้ำซ้อนกันอยู่ บางครั้งองค์กรอาจเลือกใช้งาน CASE Tools ทั้งสองระดับร่วมกันได้
5.2. คุณสมบัติและความสามารถของ CASE (Facilities and Functions)ในการทำงานของ CASE จะมีการเรียกใช้
ข้อมูลจาก Repository ซึ่งจะทำให้ CASE มีความสามารถและจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักวิเคราะห์ระบบใน
การพัฒนาระบบได้ ดังนี้
1. เครื่องมือช่วยสร้างแผนภาพ (Diagram Tools) ใช้ในการเขียนแผนภาพเพื่อจำลองสิ่งต่างๆ ของระบบ ซึ่งสามารถ
เชื่อมโยงกับแบบจำลองส่วนอื่นได้
2. เครื่องมือช่วยเก็บรายละเอียดต่างๆ ของระบบ (Description Tools) ใช้ในการบันทึก ลบ และแก้ไข รายละเอียดต่างๆ
ของระบบได้ รวมทั้งยังสามารถแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบเอกสารแสดงรายละเอียดได้
3. เครื่องมือช่วยสร้างตัวต้นแบบ (Prototyping Tools) ใช้ในการสร้างโปรแกรมต้นแบบเพื่อจำลองระบบออกมาทดลอง
ใช้งานได้ในระดับที่สามารถบอกถึงความพอใจของผู้ใช้ได้
4. เครื่องมือช่วยสร้างรายงานแสดงรายละเอียดของแบบจำลอง (Inquiry and Reporting) ใช้ในการสร้างรายงานราย
ละเอียดต่างๆ ของแบบจำลองซึ่งถูกเก็บไว้ใน Repository ได้
5. เครื่องมือเพื่อคุณภาพของแบบจำลอง (Quality Management Tools) ช่วยในการสร้างแบบจำลอง เอกสาร และตัว
ต้นแบบต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมีคุณภาพ โดยมีการตรวจสอบความถูกต้องและความสอดคล้องกันได้ อีกทังหากเกิดข้อ
ผิดพลาดขึ้นเครื่องมือชนิดนี้สามารถบ่งบอกถึงข้อผิดพลาดนั้นได้
6. เครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Tools) จัดเตรียมสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่จะเกิดขึ้นระหว่าง
การพัฒนาระบบ เช่น ช่วยนักวิเคราะห์ระบบประมาณการและวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของแนวทางแก้ไขปัญหา เป็นต้น
7. เครื่องมือช่วยจัดการเอกสาร (Documentation Oraanization tools) ใช้ในการสร้าง จัดการ และแสดงรายงานสาร
สนเทศต่างๆ ซึ่งถูกเก็บไว้ใน Repository เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารและผู้ใช้ระบบได้
8. เครื่องมือช่วยออกแบบ (Design Generation Tools) ใช้ในการออกแบบระบบคร่าวๆ ในเบื้องต้นได้ ภายใต้ความต้องการ
ที่รวบรวมมาแล้ว เช่น CASE สามารถออกแบบฐานข้อมูลที่ได้สร้างแบบจำลอง ข้อมูลมาแล้ว
9. เครื่องมือช่วยสร้างโค้ดโปรแกรม (Code Generator Tools) ใช้ในการสร้างโค้ดของโปรแกรมทั้งหมดหรือ
สามารถสร้างเพียงบางส่วนได้
10. เครื่องมือช่วยทดสอบ (Testing Tools) ช่วยให้นักวิเคราะห์และโปรแกรมเมอร์สามารถทดสอบโปรแกรมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
11. เครื่องมือช่วยให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน (Data Sharing Tools) เตรียมการนำเข้า (Import) และนำออก (Export)
ของสารสนเทศระหว่าง CASE Tools ที่ต่างกันได้คุณสมบัติและความสามารถของ CASE เป็นสิ่งที่คอยอำนวยความ
สะดวกให้กับนักวิเคราะห์ระบบในการพัฒนาระบบ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานมีความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องมากยิ่งขึ้น
5.3. ประโยชน์ที่ได้จากการใช้ CASEการเลือกใช้ CASE ช่วยในการพัฒนาระบบนั้นสามารถแบ่งเบาการทำงานของนัก
วิเคราะห์ระบบ ช่วยให้เอกสารหรือแผนภาพต่างๆ ที่จัดทำขึ้น ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยและมีคุณภาพ ที่สำคัญคือช่วยลดเวลา
ในการทำงานได้มาก นอกจากนี้แล้วยังส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ดังนี้
1. มีการพัฒนาคุณภาพในการทำงาน เนื่องจาก CASE สามารถตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ของแผนภาพและโปรแกรมได้
2. มีการสร้างเอกสารที่ดี
3. ประหยัดเวลาในการบำรุงรักษาให้ข้อมูลนั้นเป็นปัจจุบันมากที่สุด เพียงเข้าไปทำการแก้ไขในฐานข้อมูล Repository
เท่านั้นก็สามารถสร้างเอกสารให้เป็นปัจจุบันได้ โดยไม่ต้องตามไปแก้ไขเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเอง
6. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อนักวิเคราะห์ระบบ
6.1. แหล่งปัจจัยที่สามจากภายนอก (External Third Party)
1. แหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร (Outsourcing) แบ่งลักษณะได้ดังนี้
1.1. ว่าจ้างบุคคลภายนอกองค์กรมาทำการพัฒนาระบบ โดยลักษณะการว่าจ้างนั้น อาจมีได้หลายรูปแบบ ตามความเหมาะสม
ขององค์กร เช่น
– พัฒนาทั้งโครงการ โดยการให้นักวิเคราะห์ระบบจากภายนอกเข้ามาดำเนินการพัฒนาระบบขององค์กรทั้งหมดตั้งแต่ต้น
จนเสร็จสิ้นโครงการ ซึ่งจะมีคนในองค์กรคอยให้ข้อมูลแก่นักเคราะห์ระบบทีมนั้น ลักษณะการจ้างงานแบบนี้ จะเป็น
โครงการ (Project) ที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างประจำ ดังนั้นเมื่อทำการพัฒนาเสร็จสิ้นตามขั้นตอนที่ทีมพัฒนาระบบจากภายนอก
ได้วางแผนไว้แล้ว ก็หมดสัญญาการว่าจ้าง
– พัฒนาบางขั้นตอนของโครงการ เช่น ว่าจ้างเพื่อให้นักวิเคราะห์ระบบดำเนินการเพียงการวิเคราะห์ปัญหาที่ได้กำหนด
ไว้แล้วโดยทีมงานในองค์กรเอง หรือ ว่าจ้างเพื่อดำเนินการเพียงขั้นตอนของการออกแบบระบบ เป็นต้น
1.2. การซื้อโปรแกรมประยุกต์สำเร็จรูป (Application Software Package) มาใช้ในระบบ
3.2 โปรแกรมเมอร์ ( Programmer ) คือบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนซอฟต์แวร์ต่างๆ(Software )หรือเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
3.3 ผู้ใช้ ( User ) เป็นผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นผู้ปฏิบัติหรือกำหนดความต้องการในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ว่าทำงานอะไรได้บ้าง ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
3.4 ผู้ปฏิบัติการ (Operator ) สำหรับระบบขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ที่คอยปิดและเปิดเครื่อง และเฝ้าดูจอภาพเมื่อมีปัญหาซึ่งอาจเกิดขัดข้อง จะต้องแจ้ง System Programmer ซึ่งเป็นผู้ดูแลตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมระบบควบคุมเครื่อง (System Software) อีกทีหนึ่ง
3.5 ผู้บริหารฐานข้อมูล ( Database Administrator : DBA ) กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจะควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดสิทธิการใช้งานข้อมูล กำหนดในเรื่องความปลอดภัยของการใช้งาน พร้อมทั้งดูแลดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server) ให้ทำงานอย่างปกติด้วย
3.6 ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน เป็นผู้ที่มีความหมายต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเป็นอย่างมาก
4. ข้อมูลและสารสนเทศ
4.1 ข้อมูล (Data) หมายถึง
aaaaaในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจต้องอาศัยข้อมูลเป็นหลัก จึงมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยจัดการข้อมูลอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการแข่งขันการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ ข้อมูลเป็นหัวใจของการดำเนินงานเป็นแหล่งความรู้ที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ บริษัทหรือองค์การจึงดำเนินการอย่างจริงจังให้ได้มาซึ่งข้อมูล และปกป้องดูแลข้อมูลของตนเป็นอย่างดี เพราะข้อมูลเป็นสิ่งมีค่ามีราคา การโจรกรรมข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้น ดังที่ปรากฎเป็นข่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
รูปที่ 2.1 กระดานอิเล็กทรอนิกส์แสดงราคาหลักทรัพย์
aaaaaข้อมูล (data) คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังจะเห็นจากกระบวนการการเลือกตั้งที่ผ่านมา หลายพรรคการเมืองมีการเทคโนโลยีรวบรวมข้อมูล หาวิธีการที่จะให้ได้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว และเมื่อสถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างผันแปรขึ้น การเตรียมการหรือการแก้สถานการณ์จะดำเนินการได้อย่างทันท่วงที
aaaaaกรรมวิธีการรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงาน การรวบรวมข้อมูลที่ดีจะได้ข้อมูลรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ดังนั้นผู้ดำเนินการจะต้องให้ความสำคัญที่จุดนี้โดยเฉพาะความรวดเร็ว ความรวดเร็วของการเก็บข้อมูลจึงผูกพันกับเทคโนโลยีซึ่งมีหลายวิธี เช่น การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมต่อกับระบบปลายทางเพื่อรับข้อมูล การใช้โทรสาร การใช้ระบบอ่านข้อมูลอัตโนมัติ เช่น เครื่องกราดตรวจ (scaner) อ่านข้อมูลที่เป็นรหัสแท่ง (barcode)
4.2 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อสรุปต่างๆ ที่ได้จากการนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ หรือผ่านวิธีการที่ ได้กำหนดขึ้น ทั้งนี้เพื่อนำข้อสรุปไปใช้งานหรืออ้างอิง เช่น
· เกรดเฉลี่ยของวิชาภาษาไทยของนักเรียน
· อายุเฉลี่ยของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
· ราคาขายสูงสุดของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
· ข้อสรุปจากการสำรวจคำตอบในแบบสอบถาม
5. กระบวนการทำงาน ( Procedure )
กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง
รับข้อมูลเข้า (Input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์
ประมวลผล (Process) เมื่อคอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมคำสั่งที่กำหนดไว้
แสดงผล (Output) คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผล ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์
จัดเก็บข้อมูล (Storage) คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสเก็ต