เป็นหัวข้อที่สำหรับคนประกอบคอมมือใหม่ หรือ คนที่เข้ามาแรกๆอาจจะงงนิดหน่อย เมนบอร์ดมันไม่ได้ส่งผลอะไรต่อคอมพิวเตอร์มากไม่ใช่หรอ เลือกตัวถูกๆไปก็พอมั้ง ใช้งานได้เหมือนกัน ความจริงแล้ว มันใช่นะ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด แล้วมันต่างกันยังไง มีวิธีเลือกแบบไหน วันนี้ ComputeAndMore มีคำตอบให้ชมกัน
ก่อนเราจะไปดูว่าเรามีเกณฑ์การเลือกบอร์ดอย่างไรบ้าง เราต้องมาดูกันก่อนว่าข้อแตกต่างระหว่างบอร์ดแพงและบอร์ดราคาถูกนั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
1. PORT พอร์ตในที่นี้จะรวมทุกอย่างๆที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับตัวเมนบอร์ดของเราไม่ว่าจะเป็น RAM เอย M.2 SSD เอย หรือจะเป็น PORT USB เอยต่างล้วนแต่เป็นข้อแตกต่างของบอร์ดราคาถูกและราคาแพงทั้งสิ้น โดยบอร์ดราคาถูกอาจจะมีช่องอุปกรณ์สำหรับ USB มา 4 พอร์ต PCI-e ซึ่งใช้ในการใส่ M.2 SSD มา 1 ช่อง แต่ในบอร์ดราคาแพงจะมีช่อง USB มา 6-7 พอร์ตหรือ M.2 มา 2 – 3 ช่องเป็นต้น เรียกได้ว่าถ้าถูก ฟังก์ชันหรือตัวเลือกก็จะน้อยถ้าราคาแพง ก็จะมีให้หลายๆทางเลือกนั่นเอง
2. คุณภาพของบอร์ด โดยคุณภาพของบอร์ด ณ ที่นี้ มีหลายๆอย่างทั้งตัววัสดุของบอร์ด ภาคจ่ายไฟ การ์ดแลน การ์ดเสียงหรือฟังก์ชันอื่นๆเป็นต้น โดยถ้ามีวัสดุที่ดี ก็จะส่งผลไปถึงความคงทน ประสิทธิภาพ ความร้อนและ ความสะดวกสบาย ลูกเล่นต่างๆเป็นต้น
หลังจากที่พอรู้กันคร่าวๆแล้วว่าบอร์ดแพงและบอร์ดถูกมีข้อจำกัดและความแตกต่างยังไงบ้างทีนี้เราจะพาไปดูกันว่าเราสามารถเลือกเมนบอร์ดที่เหมาะกับเรายังไงโดยใช้หลักคิดพิจารณาง่ายๆ ดังนี้
ถือเป็น 1 ส่วนสำคัญมากที่เราจำเป็นต้องรู้ก่อนที่จะเลือกเมนบอร์ด เนื่องจากตัวชิปเซตจะเป็นส่วนที่ซีพียูนั้นใช้รับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์อื่นๆที่อยู่บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นแรม SSD เป็นต้น ส่วนตัว Socket นั้นเป็นเหมือนช่องสำหรับใส่พียู โดยที่ถ้า Socket ไม่ตรงรุ่นกันก็ไม่สามารถใช้ซีพียูเหล่านั้นได้นั่นเอง
ค่าย intel
กรณีของค่ายนี้ค่อนข้างจะเปลี่ยน Socket บ่อยมากๆ โดยแต่ละรุ่นจะมีการพัฒนาประสิทธิภาพของซีพียูให้มีมากขึ้น โดยซีพียูสำหรับ Intel นั้น Gen 6-7 จะใช้ socket LGA1200 ส่วน Gen 8-9 ใช้ LGA 1151v2 ซึ่งไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้นะครับ แม้จะมี Socket ชื่อที่ใกล้เคียงกันแต่เป็นคนละสถาปัตยกรรม
มาในส่วนของ Chipset ถ้าเป็น Intel เราจะขอพูดถึง Gen 8-9 เลยเนื่องจากเป็นรุ่นล่าสุดที่ Intel ออกมา (ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ ) โดยซีพียูเจนนี้จะใช้ Chipset 300 –series และ รหัสบอร์ด B H Z ตามลำดับไป จะประกอบไปด้วย H310 / B360 / B365 / H370 ซึ่งเหมาะกับ ผู้ใช้งานทั่วไป และ Z370 / Z390 ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้ที่ต้องการนำไป Overclock เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สูงขึ้น อีกทั้งแต่ละบอร์ดก็จะมีออฟชั่นต่างๆแตกต่างกันออกไปเช่น จำนวนPCI-e slot , Ram Slot , Support optane Memory , total usb port, PCI-lane , Bus speed เป็นต้น
ค่าย AMD
ในกรณีของค่ายสีแดงนี้จะไม่เปลี่ยน Socket มากนักโดยจะใช้ AM4 มานานทั้ง Ryzen 1 , Ryzen 2 และ Ryzen 3 รุ่นปัจจุบัน ถือว่าเป็นข้อดีของการใช้ AMD เลยก็ว่าได้เมื่อซื้อบอร์ดตัวนึงสามารถใช้ได้อย่างยาวนานนั่นเออง
มาในส่วน Chipset โดย AMD จะประกอบไปด้วย A320,B350/B450,X370/X470 และ X570 โดยข้อดีของบอร์ด AMD คือสามารถ Overclock ได้ทุกบอร์ด จะมีเพียง A320 เท่านั้นที่ไม่สามารถ Overclock ได้ โดยแต่ละชิปเซตแต่ละบอร์ดนั้นจะมีความต่างเรื่องจำนวนพอร์ต, สล็อต และเฟสไฟต่างๆ นั้นเอง
หลายคนเวลาซื้อเมนบอร์ดอาจจะสงสัยเอ๊ะ บอร์ดรุ่นเดียวกัน หนิทำไมราคาต่างกันจัง นั่นเพราะ แต่ละรุ่นอาจจะมีขนาดของ Form Factor ต่างกันไปนั่นเอง โดยปัจจุบันนั้นประกอบไปด้วย E-ATX , ATX , Micro-ATX และ Mini-ATX และขนาดของบอร์ดนั้นมีความสำคัญต่อจำนวนพอร์ตภายในบอร์ดด้วยนั่นเอง ยิ่งบอร์ดเล็กก็จะยิ่งตัดพอร์ตที่ให้มาเกินความจำเป็นทิ้งเหลือไว้เพียงพอร์ตที่จำเป็นต้องใช้จริงๆนั่นเอง
แทบจะเรียกได้ว่าเป็นคำถามของใครหลายๆคนเลยในเรื่องของแรมว่าสามารถรันบัสได้เท่าไหร่ มีแรมสล็อตกี่ช่อง แบบ 2 ช่องหรือแบบ 4 ช่องดี กว่ากัน ซึ่งถ้าจากการแนะนำ ถ้าเราคิดว่าคอมนี้เราจะไม่อัพเกรดมาก 2 สล็อตก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าในอนาคตมีการเพิ่มเติมหรืออัพเกรดคอมแนะนำให้เลือกแบบ 4 ช่องเลยที่สะดวกต่อการอัพเกรด รวมไปถึง M.2 ด้วยเช่นกันบางบอร์ดอาจจะสามารถใส่ได้ 1 ชิ้น แต่ถ้ามี 2 สล็อตก็จะมีช่องทางในการเพิ่มความจะได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่คนมองข้าม บางคนอาจจะรู้แค่มันมี Port USB กี่รูก็พอแต่ที่จริงแล้วพอร์ตแต่ละประเภทก็จะมีความเร็วแตกต่างกันไปเหมือนกันครับ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับ Port กันคร่าวๆก่อน
- USB 2 เป็นพอร์ตรุ่นเก่าใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีตจะช้ากว่าพอร์ตรุ่นใหม่ แต่สามารถใช้งานได้
- USB 3 / USB 3.1 Gen 1 เร็วขึ้นอ่านข้อมูลได้ไวขึ้นกว่า USB 2.0
- USB 3.1 Gen 2 เร็วขึ้นกว่า Gen1 พัฒนามาเพื่อเพิ่มความไวในการส่งข้อมูลมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ได้มีในบอร์ดทุกรุ่น
- USB Type-C เป็น Port ที่สามารถเชื่อมต่อได้ที่ความเร็วของทั้ง USB 3.1 Gen 1 และ Gen 2
- HDMI / DISPLAY PORT มีมาให้ในบอร์ดที่เราจำเป็นต้องใช้ออร์นบอร์ดร่วมกับ CPU
- PS/2 เป็นพอร์ตรุ่นเก่าๆ สีม่วงกับเขียว หรือ ดำไว้ใช้ต่อคีบอร์ดรุ่นเก่าหรือเม้าส์ลูกกลิ้งนั่นเอง
- Thunderbolt 3 เป็นพอร์ตที่เรียกว่าเร็วที่สุดแล้ว แต่มักจะอยู่ในบอร์ดรุ่นท็อปราคาแพงๆ เลย
- Audio โดยปกติทั่วไปจะมีมาให้แบบ 3 รู ใช้ I/O port 1 แต่ในบางบอร์ดถ้ามีชิพเซตเสียงแบบดีๆ ระบบเสียงเทพก็อาจจะมีพอร์ตแบบ 5.1 หรือ 5.1 แยกย่อยมาให้เสียบเพิ่มเติมได้อีกเป็นต้น
หลายคนเคยสงสัยบางทีเราใช้งาน SSD ที่มีความเร็วสูงเกิน 3000 Mb/s แต่ใช้งานจริงวิ่งได้อยู่ที่ 800-1500 Mb/s หรือทำไมการ์ดจอถึงวิ่งแค่ PCIe 3.0x8 เอง โดยที่มาของปัญหานี้เกิดจากอะไร เราต้องย้อนไปดูที่บอร์ดของ Chipset จะมีการบอกสเปคมาอยู่ว่าง รองรับ PCIe 3.0 กี่ Lane มี PCIx2.0 มีการซัพพอร์ต M.2 ที่สล็อตไหนบ้างความเร็วเท่าไหร่ เช่น M.2 Socket 3 With M key support on PCIex1_1 , PCIex1_3 หมายถึง M.2 NVME ซัพพอร์ตที่ช่อง 1 และ 3 ถ้าเราเอาไปเสียบช่องที่ 2 จะสามารถใช้งานได้ความเร็วเท่ากับแบบ M.2 SATA นั่นเอง
และประการสำคัญที่สุดสำหรับคนที่คิดว่าจะซื้อคอมเพิ่มไปสตรีมมิ่งโดยมีการเสียบ Card Capture เพิ่มเติมจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงจำนวนพอร์ต PCIe ด้วยว่ามีรองรับพอไหมด้วย
หรือพูดง่ายๆว่าออฟชั่นเสริมนั่นเอง ตัวนี้ถึงจะเป็นออฟชั่นเสริมจริง แต่แทบจะเป็นปัจจัยหลักๆที่คนมานั่งเลือกกันเลยก็ว่าได้ (ฮ่าๆ) เพราะว่าภายในนั้นจะมีคุณสมบัติต่างๆที่ทางผู้ผลิตเสริมเป็นพิเศษให้แก่เรา เช่น ฟีเจอร์ป้องกันไฟกระชากเอย คุณภาพของภาคจ่ายไฟตัวคาปาซิเตอร์อย่างดี Sync RGB บนบอร์ด หรือ อัพเดทไบบอสจาก USB โดยไม่จำเป็นต้องเข้าหน้าเมนูไบออสเป็นต้น
เลือกเมนบอร์ดแบบไหนก็ได้หมดเพราะสามารถใช้งานได้เหมือนกัน ต่างกันที่ออฟชั่น คุณสมบัติ ความเหมาะสม ถ้าเราเลือกเมนบอร์ดที่ราคาแพงมาโดยซื้อมาไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเมนบอร์ดนั้นแบบเต็มที่ สู้เราลดเป็นเมนบอร์ดพื้นฐานสเป็คแบบครบแล้วไปเน้นที่อุปกรณ์อื่นก็เหมาะสมเช่นกันครับ