สำรวจการใช้งานคอมพิวเตอทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณลักษณะตรงตามความต้องการและเหมาะสมกับงานมากสุด การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์ อาจแบ่งได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่มักแบ่งตามประเภทของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
ผู้ใช้ทั่วไปเป็นผู้ใช้สำหรับงานด้านเอกสาร รายงาน และเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป เช่นMicrosoft Office เพื่อจัดทำเอกสาร รายงานเพื่อนำเสนอ หรืออาจใช้โปรแกรม Photoshop แต่งภาพเล็กน้อย เป็นต้น
ส่วนผู้ใช้มือใหม่เป็นผู้ที่ยังไม่เคยสัมผัสคอมพิวเตอร์มาก่อนแนะนำให้ซื้อแบบมียี่ห้อ จะดีกว่า เพราะจะไม่ต้องกังวลเวลาที่เครื่องมีปัญหา ผู้ใช้ระดับนี้อาจใช้แบบลองผิดลองถูกบ้าง อาจทำให้เครื่องเกิดปัญหาบ่อยครั้ง จึงไม่ต้องเลือกคอมพิวเตอร์ราคาแพง
๒) ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิก (graphic user) งานด้านกราฟิก เช่น งานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโฆษณาต้องใช้ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมต่างๆที่มีคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงพอควร บางครั้งต้องใช้โปรแกรมพร้อมกันหลายตัว เช่น Photoshop ,Illustrator, CorelDraw เป็นต้น ซึ่งราคาจะอยู่ในระดับกลางถึงสูง ผู้ใช้จึงควรประกอบคอมพิวเตอร์ใช้เอง เพราะทำให้รับความรู้มากขึ้น สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องได้ตามลักษณะของเครื่องได้ตามลักษณะเฉพาะของงานด้านกราฟิก และใช้โปรแกรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓) ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกขั้นสูง (advanced graphic user) แสดงผลในรูปแบบสามมิติ หรือ 3D animation จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการคำนวณระดับสูง เช่น การสร้างภาพในรูปแบบสามมิติ โดยใช้โปรแกรม Auto CAD, 3D Studio Max เป็นต้น จึงควรประกอบคอมพิวเตอร์ขึ้นเองเช่นกัน
๔) ระดับผู้เล่นเกม (game user) เป็นเรื่องฟุ่มเฟือยที่ต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อซื้อคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรองรับเกมที่มีภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แต่ราคาอุปกรณ์ต่างๆไม่สูงมากจนเกินไป จึงควรประกอบคอมพิวเตอร์ใช้เอง จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่ชอบเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ แต่ไม่ควรเล่นเกมมากจนกลายเป็นคนติดเกม เพราะทำให้เสียการเรียนและยังสิ้นเปลืองค่ใช้จ่ายผู้ปกครองอีกด้วย
หลัง จากรู้ลักษณะการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแล้วว่าจะอยู่ในระดับใด ต่อไปเป็นการกำหนดสเป็คเครื่องที่รองรับการทำงานประจำที่จะเกิดขึ้นกับ เครื่องพีซีนั้น ซึ่งแต่ละระดับจะมีรายละเอียดสเป็คของอุปกรณ์แต่ละชิ้นที่เหมาะสมแตกต่างกัน ไป โดยมีแนวทางในการเลือก
computer หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ในที่นี้จะกล่าวถึง Computer PC หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ พีซี อะไรจะเป็นตัววัดความคุ้มค่าของ พีซี ได้ดีที่สุด เท่าที่เคยใช้ๆ ก็เห็นจะเป็นซอฟต์แวร์ทดสอบ หรือไม่ก็ราคาที่แพง บางคนก็มองแค่ภายนอกด้วยซ้ำว่าเครื่องนี้ดูสวยดี ใช้ซีพียูความเร็วสูงๆ แถมราคาสูงๆ ก็ซื้อเลย แต่ไม่ได้มองเจาะไปถึงการนำไปใช้งานของตัวเองเลยว่าจะนำไปใช้ได้เต็มประสิทธิภาพได้มากแค่ไหน แต่ก็นี่แหละคนไทย
ถ้าจะกล่าวถึง เครื่อง Computer ชุดที่ขายดีที่สุด ณ ปัจจุบัน ก็เห็นจะปฏิเสธ เครื่อง คอมพิวเตอร์ สำเร็จรูปที่จัดโดยรัฐบาล ในโครงการเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) เอื้ออาทร ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะสามารถจุดกระแสให้ประชาชนหันมาใช้เครื่องComputer กันมากขึ้นแล้ว ก็ยังเป็นการกระตุ้นตลาด เครื่อง คอมพิวเตอร์ ในบ้านเราด้วย ทำให้ผู้ผลิต เครื่อง Computerรายต่างๆ ขายดิบขายดีไปตามๆ กัน การเลือกซื้อ เครื่อง คอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้ทั่วๆไปก็จะมีอยู่ 2 แบบ สำหรับแบบแรกนั้นก็คงจะเดินไปจัดสเปคเครื่องตามร้านขาย อุปกรณ์ Computer กันเอง เปรียบเทียบราคาของแต่ละร้านหาร้านที่มีราคาถูกแล้วก็นำไปประกอบด้วยตนเอง หรือไม่ก็ให้ทางร้านที่เราซื้อ อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ร้านใดร้านหนึ่งเป็น ผู้ประกอบเครื่องให้ ซึ่งบางทีร้านเขาอาจจะคิดค่าบริการในส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อย สำหรับการเลือกซื้อแบบแรกนั้นน่าจะเหมาะสำหรับ ผู้ที่มีความรู้ทางด้าน อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ อยู่บ้าง มาดูแบบที่สองกันบ้างครับ สำหรับการเลือกซื้อแบบที่สองนั้นน่าจะเหมาะกับผู้ใช้มือใหม่ หรือผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ในด้าน อุปกรณ์ Computer เลย ซึ่งผู้ใช้ ประเภทนี้มักจะให้ทางร้านเขาจัดสเปคให้เลย โดยจะกำหนดราคาเครื่องที ต้องการใช้ให้ทางร้านไป หรือผู้ใช้บางคนที่ไม่ต้องการความยุ่งยากในการเลือกซื้อ หรือต้องการ การรับประกันจากผู้ผลิตที่ดีๆ ก็อาจจะหันไปมอง เครื่อง Computer ที่เป็นคอมพิวเตอร์ แบรนด์เนมจากผู้ผลิตทั้งใน หรือต่างประเทศที่นำออกมาวางขายในตลาดบ้านเรากันมากมาย หลากหลายยี่ห้อ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันผู้ใช้จะสามารถซื้อ เครื่อง Computer ได้ง่ายขึ้นเพียงแค่ชี้นิ้ว หรือแค่บอกความต้องการนำไปใช้งานของตนกับผู้ขาย เพื่อให้ผู้ขายจัดสเปคเครื่องให้ แล้วก็เหลือ เพียงแค่ขนเครื่องที่ซื้อมากลับไปบ้านเท่านั้นเอง
ซึ่งบางทีผู้ซื้อก็อาจจะเสียเปรียบเพราะอุปกรณ์ที่ทางร้านเขาจัดให้นั้นอาจจะมีราคาที่ถูกกว่าเงินที่ท่านจ่าย หรืออาจจะติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพให้ เพื่อให้ทางร้านได้ กำไรเยอะๆ จากตรงส่วนนี้ ซึ่งสำหรับ เครื่อง คอมพิวเตอร์ สำเร็จรูปที่จัดโดยค่ายผู้ผลิตแบรนด์เนมต่างๆก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะถ้าเครื่องมีปัญหาผู้ซื้อก็สามารถส่งเคลมได้ทันที แต่สำหรับเครื่องที่ทางร้านจัดสเปคให้นั้น ซึ่งถึงแม้จะมีการรับประกัน Void จากทางร้านมาแล้ว แต่บางทีอุปกรณ์บางชิ้นก็อาจไม่ได้คุณภาพและทางผู้ผลิตก็ไม่รับประกันด้วย เช่น พวก อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ปลอมต่างๆ ดังนั้นก่อนที่จะซื้อ เครื่อง Computer คู่ใจซักเครื่อง เราลองมาดูหน้าที่การทำงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น รวมถึงวิธีการเลือกซื้อ แบบมี ประสิทธิภาพ
สำหรับการเลือกซื้อ ซีพียู ซึ่งเป็นที่ที่สำคัญที่สุดซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงเพราะซีพียูเป็นตัวที่จะกำหนดอุปกรณ์อื่นๆด้วย และเป็นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์ การที่เครื่องเราจะแรงและเร็วแล้ว ซีพียูเป็นตัวกำหนดหลักแทบทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นผมจึงขอให้กำหนด สเป็กการซื้อคอมพิวเตอร์ จากตัวซีพียูก่อนะครับ จะขอเรียงลำคับการพิจารณาการเลือกซื้อดั้งต่อไปนี้
ความเร็วของซีพียู ซึ่งใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดนะครับ โดยมีหน่วยเป็น “เฮิรตซ์ (Hz)” ก็คือการที่ซีพียูทำงาน 1 ครั้งต่อ 1 วินาทีนั้นเอง แต่ในปัจจุบันซีพียูนั้นมีความเร็วมากอยู่ในระดับ “กิกะเฮิรตซ์ (GHz)” แล้ว เช่น 1 กิกะเฮิรตซ์ คือซีพียูทำงานได้ถึง 1 พันล้านครั้ง ต่อวินาที ยิ่งมีค่าสัญญาณนาฬิกามากเท่าไหร่ก็สามารถทำงานได้รวดเร็วเท่านั้น เช่น AMD Phenom 9650 2.3GHz
หน่วยความจำแคชก็เป็นหน่วยความจำหนึ่งที่ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ เพราะแคชมีหน้าที่ในการจัดเก็บคำสั่งและข้อมูลที่ได้ใช้บ่อยๆ เพื่อส่งไปยังซีพียู ซึ่งแคชเองทำงานร่วมกับแรมเพื่อเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง 2 อุปกรณ์ ให้เชื่อมต่อกันเพราะฉะนั้นแล้วยิ่งมีแคชมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความเร็วเท่านั้นด้วย
ในปัจจุบันเองได้มีการเพิ่มเทคโนโลยี Pre-Fetch ในบางรุ่นจะมี ที่มีแคชถึงระดับ L3 ทำหน้าที่ในการคอยอ่านข้อมูลจากแรมมายังแควตลอกเวลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น โดยความเร็วทั้ง 3 ระดับดังนี้
แคชระดับที่ 1 (L1) เป็นแคชขนาดเล็ก เป็นแคชที่มีขนาดเล็กที่สุด อยู่แค่ 32-128 KB เท่านั้น และอยู่ใกล้ชิดกับซีพียูมากที่สุด
แคชระดับที่ 2 (L2) จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมาเพราะจะทำการเก็บข้อมูลจากแรมเป็นหลัก
แคชระดับที่ 3 (L3) อยู่คั่นกลางระหว่างแรมกับแคช L2 โดยจะมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อนซึ่งมีประมาณ 2-8 MB และจะอยู่ใกล้กับบัสเพื่อสามารถที่จะถ่ายโดยข้อมูลไปยังส่วนต่างๆได้ง่ายขึ้น
ถือได้ว่ามีความสำคัญเหมือนกัน เพราะ บัสคือ นำไฟฟ้าที่เป็นทางเดินของข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบัสในคอมพิวเตอร์คือบัสข้อมูล (Data bus) ซึ่งมีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hz) จะมีค่า FSB อย่างเช่น FSB 1066 เป็นต้น
สำหรับซีพียูนี้ก็มี 2 ค่าย ใหญ่ที่ผลิตออกมาให้เราได้ใช้กันคือ Intel และ AMD
Intel เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด แล้วยังเป็นผู้ผลิต ซีพียูรายแรกอีกด้วย สำหนับซีพียู ที่ Intel ผลิตนั้นก็มีหลาย รุ่นออกมาให้เลือก และต่างมีเทคโนโลยีที่ต่างกัน ผมจะขอยกตัวอย่าง ซีพียูที่ทาง Intel ผลิตดังนี้คือ
เป็นซีพียูที่อยู่ในตลาดระดับล่าง โดยจะออกแบบให้ใช้กับการทำงานพื้นฐานต่างๆ และมีราคาที่ต่ำ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ไม่ต้องการอะไรมากนัก ใช้โปรแกรมทางด้านพื้นฐานเป็นพอ ทั้ง ดูหนังฟังเพลง หรือแค่เล่นอินเตอร์เน็ต เล่นเกมส์เฟรชบาง สามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหาเลยครับ
สำหรับ CELERON-Duo Core นี้ได้พัฒนามาจาก CELERON-D รุ่นเดิม แต่เปลี่ยนมาผลิตจากที่เป็น ซิงเกอร์คอร์มาเป็น ดูอัลคอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานดีขึ้น
เป็นซีพียูที่มีความเร็วมากกว่า CELERON ตอบสนองการใช้งานได้มากกว่า โดยได้พัฒนาจาก ซีพียูรุ่น Pentiumนั้นเอง โครงสร้างก็เป็นแบบ Duo Core คือมีลักษณะเป็น 2 หัว
เป็นซีพียูที่พัฒนามาจาก INTEL Duo Core โดยจะมีเลข 2 ก็หมายถึง พัฒนามาเป็นรุ่นที่ 2 นั่นเองครับ โดยจะมีการเพิ่ม L 2 เพิ่มขึ้นจาก Duo Core มีอยู่ 2MB มาเป็น 3MB และมีความเร็วบัสเพิ่มขึ้นด้วย
เป็นซีพียูที่ได้มีการพัฒนาจาก INTEL CORE 2 DUO โดยการนำ INTEL CORE 2 DUO มารวมกันเป็น เป็น 1ตัวได้ทั้งหมดถึง 4 หัวเลย และยังช่วยการใช้พลังงานที่ลดลงกว่า เดิมอีกด้วย
เป็นการนำเอา INTEL CORE 2 DUO มารวมตัวกันโดยเป็นการแยกการทำงานโดยอิสระ และมีการแบ่งการทำงาน ของ L2 เป็น 2 ส่วน ซึ่งเป็น ซีพียูทีมีราคมสูงมาก
เป็นซีพียูที่ ใหม่ล่าสุดที่เริ่มขายแล้ว ซึ่งยังมีราคาที่สูงอยู่ และถือได้ว่าเป็น ซีพียูที่มีความเร็วสูงที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยมีการเพิ่ม แคชระดับ L3 ที่นำมาใช้ถึง 4-8 MB และมีการลองรับ Dual Channel DDR3 เป็นครั้งแรก ซึ่งจะต้องทำงานกับแรม 3 แผงขึ้นไป เพราะฉะนั้นเราต้องใช้แรม 3 แผงเป็นอย่างต่ำ
AMD เป็นผู้ผลิตที่นอกเหนือจาก Intel ที่เข้ามาแย่งตลาดกัน โดยจะมีราคาที่ถูกกว่าเมือเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพ โดยจะมีซีพียูของด้วย AMD ดั้งนี้
Sempron เป็นซีพียูที่อยู่ในตลาดระดับล่างของ AMD เป็นซีพียูที่มาราคาถูกและตอบสนองการใช้งานด้านพื้นฐานต่างๆได้ดี
เป็นซีพียู ที่มีความเร็วมากกว่า Sempron ขึ้นมาอีกหน่อย เพรำหรับคนที่ใช้งานพื้นฐานทั่วไปและก็เล่นกราฟิกบาง เป็นหรือเกมส์บ้างพอสมควร ที่ราคาไม่แพง รองรับ HyperTransport
สำหรับตัวนี้มีการเพิ่มมาอีก 1 หัวเพื่อเพิ่มไประสิทธิภาพในการทำงานแต่ราคานั้นสูงอยู่แต่ถ้าใครต้องการก็สามารถที่จะซื้อมาได้เลยครับ
HyperTransport เป็นเทคโนโลยีของ AMD ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันได้อย่างอิสระ ระหว่าง คอร์ต่าง ๆ และหน่วยความจำภายในเครื่อง ซึ่งสามารถ ปรับความกว้างของการรับ/ส่งของของข้อมูล เป็นระบบบัสที่พัฒนาขึ้นให้มีประสิทธิภาพสูงกว่า FBS
ตารางของแตกต่างส่วนต่างๆ ของCPU Intel
ตารางของแตกต่างส่วนต่างๆ ของCPU AMD
ในสิ่งสำคัญอย่างยิ่งของใครบางคน คืองบประมาณนั้นล่ะครับ บางคนอาจจะเป็นอันดับแรกเลยก็ว่าได้ครับ ในปัจจุบันราคาต่ำมากจนแทบบอกได้ว่า ไม่ถึงพันก็มีแต่ก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพที่จะได้รับด้วย เดี๋ยวนี้ซีพียูราคาถูกๆ ก็สามารถทำงานได้หลายอย่างแล้วไม่จำเป็นที่จะต้องเลือกซื้อราคาแพงๆ
คนส่วนใหญ่ที่กำลังจะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มักหาข้อมูลทำการบ้านแต่เฉพาะในส่วนหลักสองส่วนใหญ่ ก็คือ ซีพียู และ กราฟฟิคการ์ด ซึ่งก็จริงที่ทั้งสองส่วนนี้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนที่ได้ฟังสเปกสองตัวนี้ถึงกับร้องอู้หู้เมื่อได้ยินว่าเราใช้ Intel® Core i7 940 หรือ ได้ยินว่าเราใช้กราฟฟิคการ์ด NVIDIA Geforce295GTX เพราะทั้งสองส่วนนี้เป็นตัวที่ตอบสนองความแรงในการประมวลผลไม่ว่าด้านตัวเลข หรือ ภาพ 3D แต่เคยมีใครได้สังเกตไหมว่าจริงๆ แล้วเรายอมลดสเปกอุปกรณ์บางอย่างลงไปเพื่อให้ได้มาซึ่งซีพียูหรือกราฟฟิกการ์ดที่แรง แต่เรากลับไม่ได้สนใจว่าเมนบอร์ดที่เราซื้อเพื่อใช้กับซีพียูและกราฟฟิกการ์ดนี้ มีประสิทธิภาพที่จะดึงความสามารถของซีพียู กราฟฟิกการ์ด และ ทนทานต่อการใช้งานอย่างต่อเนื่องของเราเพียงใด เทคโนโลยีที่ใช้เป็นอย่างไร มีซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับเมนบอร์ดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความปลอดภัย และ ความสะดวกให้กับเราไหม เพราะตอนนี้ซอฟท์แวร์ที่มาพร้อมกับตัวเมนบอร์ดอาจจะเป็นตัวตัดสินที่ทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจเลือกใช้เมนบอร์ดด้วยส่วนหนึง เกริ่นมาซะเยอะแล้ว วันนี้ผมจะใคร่ขออาสานำความรู้ดีๆ ในการตัดสินใจเลือกซื้อเมนบอร์ดคุณภาพครับ ตามมาเลยครับ ….. Main Board หรือ Motherboard คือ แผงวงจรหลักทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ต่างๆ เพื่อทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู หน่วยความจำ ฮาร์ดไดรฟ์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีรอมไดรฟ์ ที่ผ่านทางสายเคเบิลหรือแม้แต่การ์ดแสดงผล และการ์ดเสียงก็ล้วนแล้วแต่ต้องทำงานเข้ากันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีเสถียรภาพ เมนบอร์ดในปัจจุบันที่เราพบเห็นในตลาดมีสองค่ายเท่านั้นเองครับ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่ามีแค่สองบริษัทที่ขายเมนบอร์ดไม่ใช่แบบนั้นครับ แต่หมายความว่ามีเมนบอร์ดที่ซัพพอร์ตซีพียูระหว่าง Intel® และ AMD เท่านั้นน่ะครับ แต่ผู้ผลิตเมนบอร์ดมีอยู่มากมายหลายบริษัทให้เราเลือกใช้ โดยแต่ละบริษัทก็มีจุดเด่น จุดด้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวสินค้าที่ออกมาว่าจะโดนใจใครหลายคนหรือเปล่า แต่อย่างที่เกริ่นไว้ตั้งแต่ต้นครับว่า ปัจจุบันการต่อสู้ทางการตลาดของสินค้าประเภทเมนบอร์ดไม่ได้วัดกันที่เฉพาะอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บนเมนบอร์ด หรือ แค่สเปกของเมนบอร์ดเท่านั้น แต่ยังต้องรวมถึงซอฟท์แวร์ยูทิลิตี้ที่มาพร้อมกับเมนบอร์ดด้วย ว่าสามารถทำประโยชน์ และเพิ่มความสามารถในการใช้งานเมนบอร์ดในด้านใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มความเร็วให้กับซีพียู, เพิ่มความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพิ่มเติม คราวนี้ผมจะแยกส่วนสาระสำคัญของฮาร์ดแวร์ที่อยู่บนเมนบอร์ด เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้อ่าน เพื่อที่จะตัดสินใจในการครอบครองเมนบอร์ดได้อย่างถูกต้อง และได้ใช้ประโยชน์สูงสุดครับ อย่างแรกเลยในการเลือกซื้อเมนบอร์ดเราก็ต้องรู้จักเมนบอร์ดก่อนว่าทำมาจากวัสดุอะไร เราคงเคยได้ยินกันคุ้นหูว่า PCB เป็นพลาสติกลายปริ้นทองแดงที่นำมาเป็นแผงวงจรหลักในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ลงไป เช่น ชุดจ่ายกระแสไฟฟ้า (Power Phase), ชุดประจุไฟฟ้า (Capacitor) และรวมถึงชุดต้านทานไฟฟ้าต่างๆ ด้วย ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ทั้งหลายที่อยู่บนเมนบอร์ดล้วนมีผลโดยตรงต่อการดึงศักยภาพของฮาร์ดแวร์ตัวอื่นขึ้นมาใช้อย่างเต็มที่ เพราะเครื่องพีซีของเรามีพื้นฐานในการส่งสัญญาณเป็นไฟฟ้าองค์ประกอบ ฮาร์ดแวร์เหล่านี้จึงต้องมีคุณภาพที่สูงเช่นกัน เราลองมาสังเกตวิธีการเลือกเมนบอร์ดกันเลยครับ อย่างแรกลองดูเรื่องของทองแดงที่นำมาใช้เป็นสื่อไฟฟ้าว่ามีขนาดเหมาะสมไหม ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะใช้ขนาด 1ออนซ์เป็นมาตรฐาน แต่มีผู้ผลิตเมนบอร์ดบางรายใช้ทองแดงเพิ่มขึ้นเป็น 2 ออนซ์ ซึ่งส่งผลดีในแง่ของการระบายความร้อน และ สัญญาณไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพสูงด้วย ต่อมาในส่วนของตัวชุดจ่ายกระแสไฟฟ้าก็ต้องสังเกตว่าผู้ผลิตออกแบบมาด้วยจำนวนเฟรสกี่ตัว ยิ่งมากก็ยิ่งส่งผลดีในแง่ของความเสถียรในการจ่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความร้อนที่จะเกิดขึ้นเมื่อต้องทำงานอย่างต่อเนื่องด้วย เพราะการมีเฟรสหลายๆ ตัวทำให้เฟรสแต่ละตัวมีภาระในการจ่ายกระแสไฟฟ้าต่ำ ทำให้ไม่เกิดความร้อนสะสมเมื่อทำงานแบบต่อเนื่อง อีกตัวที่สำคัญเช่นกันและมักจะเสียหายก่อนใครเพื่อนเลยก็คือตัว capacitor หรือ ชุดประจุไฟฟ้าหน้าตาเหมือน ถังเก็บน้ำ ซึ่งตัวหุ้มของอุปกรณ์ดังกล่าวมักจะทำจากสังกะสีทำให้เมื่อสัมผัสกับอากาศที่มีความชื้นมักจะเกิดคราบสนิท และ ปริแตก ส่งผลให้เมนบอร์ดชำรุดเสียหาย แต่ปัจจุบันผู้ผลิตเมนบอร์ดหลายรายได้เปลี่ยนมาใช้เป็น Solid Capacitor บนเมนบอร์ดทั้งหมดเหมือนกันเพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว ที่ผมได้กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งแรกที่เราต้องศึกษาเมนบอร์ดให้ดีๆ ก่อนตัดสินใจเลือกความสำคัญของชิ้นส่วนอื่น ที่จะมาเชื่อมต่อกับเมนบอร์ด อย่างที่เล่าให้ฟังว่าปัจจุบันมีแค่สองค่ายยักษ์ใหญ่ที่ผลิตซีพียูนะครับ โดยแต่ละซีพียูที่ผลิตออกมาก็มีซ็อคเก็ตชนิดแตกต่างกันไป เราจึงจำเป็นต้องรู้ไว้บ้างเหมือนกันว่า แต่ละค่ายในปัจจุบันมีซ็อคเก็ตแบบไหนบ้าง ผมขอเริ่มจากค่าย Intel® ก่อนแล้วกันครับ ปัจจุบันก็จะมีซ็อคเก็บแบบ LGA775 (Core2 Quad, Core2 Duo, Pentium และ Celeron Processor), LGA1366 จะใช้กับซีพียูกลุ่ม Core i7 920, 940 และ 965 ครับ และ ซ็อคเก็ตใหม่ที่ค่ายอินเทลเพิ่งเปิดตัวไปนั่นก็คือ LGA1156 สำหรับ Core i5 750 และ Core i7 860 และ 870 มาทางด้านค่าย AMD ก็จะมีอยู่หลายซ็อคเหมือนกัน จะมี AM3, AM2+, AM2 ใช้กับซีพียูตระกูล Phenom II, Phenom, Athlon II and Athlon processor ครับ ซึ่งเราจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องของฟีเจอร์ซีพียูในแต่ละตระกูลว่าโดดเด่นกันในด้านใด แต่ผมไม่ได้พูดถึงในบทความนี้นะครับ Random Access Memory หรือที่เราหลายคนเรียกกันว่า RAM ครับ RAM คือหน่วยความจำสำรองที่ทำหน้าเก็บชุดคำสั่ง หรือ ข้อมูลที่จะถูกนำไปประมวลผลกับซีพียูนะครับ อันนี้ก็เป็นส่วนที่สำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผลของพีซีเช่นกัน โดยวิธีปัจจุบันที่มีรองรับบนเดสก์ท็อปเมนบอร์ดจะมีสองชนิดด้วยกันคือ ชนิด DDR 2 และ DDR 3 ซึ่งจะมีความเร็วที่แตกต่างกันโดย DDR 3 จะมีความเร็วของ FSB เริ่มต้นที่ 1066MHz จนถึง 1600MHz โดยในผู้ใช้นิยมทำการโอเวอร์คล็อกให้มีความเร็วสูงขึ้นจากมาตรฐานเดิมของแรม โดยต้องขึ้นอยู่กับความสามารถในการรองรับการโอเวอร์คล็อกของเมนบอร์ดด้วย โดยที่ DDR 3 มีความเร็วที่สูงกว่า และ ยังกินพลังงานต่ำกว่า DDR 2ด้วย ส่วนแรมชนิด DDR 2 มีความเร็ว FSB เริ่มต้นตั้งแต่ 533MHz จนถึง 800MHz โดยแต่ละเมนบอร์ดก็จะรองรับการทำงานได้โดยแรมชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้งานแรมสองชนิดพร้อมกันได้ เป็นศูนย์กลางของเส้นทางในการรับส่งข้อมูลผ่านไปยังฮาร์ดแวร์ส่วนตัวต่างๆ ที่ต่อเชื่อมกับเมนบอร์ด ซึ่งการเลือกซื้อ เลือกใช้ต้องอ้างอิงจากตัวซีพียูเป็นหลัก โดยปกติแล้วผู้ผลิตซีพียูอย่างเช่น Intel® ก็เป็นผู้ผลิตชิปเซ็ต Intel® ไม่ว่าจะเป็น X58, P55, P45, G45, G31Chipset และ อื่นๆ อีกมากมายด้วยเช่นกัน ส่วนฝั่ง AMD หลังจากได้รวมกิจการกับ ATI ก็ใช้ชิปเซ็ตหลักเป็น ATI ไม่ว่าจะเป็น 790X, 785 และ 770 Chipset และผู้ผลิตก็จะมีการกำหนดมาตรฐานการใช้งานระหว่างซีพียู กับชิปเซ็ตไว้อยู่แล้ว รวมถึงมีบทความ หรือ ข้อมูลแนะนำในการจับคู่กันอยู่แล้วครับ อันนี้เป็นเรื่องของกราฟฟิคที่ผมได้เกริ่นไว้ตอนต้นเหมือนกันครับ ว่าเป็นฮาร์ดแวร์หลักที่คนส่วนใหญ่นึกถึงต้นๆ ในส่วนของเมนบอร์ดเองก็จะมีตัว interface หรือ connector รองรับอยู่ด้วยกันสองแบบหลักๆ ครับ อย่างแรกก็คือ แบบกราฟฟิคบิวท์อินบนบอร์ดมาอยู่แล้ว และ เมนบอร์ดยังมีพร้อม interface แบบ AGP หรือ PCI-Express มาให้ด้วย โดยเทคโนโลยีปัจจุบันยังสามารถทำให้กราฟฟิคชิปที่เป็นแบบบิวท์อิน และแบบการ์ดทำงานร่วมกันได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการแสดงผลภาพ และอีกแบบที่ผมจะพูดต่อมาก็คือแบบที่มี interface หรือ connector แบบ PCI-Express ที่มีให้มากกว่าหนึ่งสล็อต เพื่อที่จะรองรับการทำงานแบบ Multi-VGA สามารถต่อเชื่อม หรือ รวมกันเพื่อเพิ่มความสามารถในการประมวลผลภาพขั้นสูง โดยปัจจุบันมีสองค่ายที่มีนำเสนอออกมา ได้แก่ ATI CrossFire™ X Technology และ NVIDIA SLI Bridge เหมาะสำหรับนักเล่นเกมส์ตัวยง หรือ คนที่ทำงานด้านกราฟฟิคเรนเดอร์ที่ต้องการความสามารถดังกล่าว ความสามารถในเชิงสัญญาณเสียงมักถูกละเลยไป แต่ทั้งนี้ที่เราไม่ควรมองข้ามเพราะปัจจุบันผู้ผลิตสื่อต่างๆ มีเทคโนโลยีไปไกลมากแล้ว สามารถผลิตสื่อมัลติมีเดียที่มีความสามารถในการแสดงผลในส่วนของเสียงที่ดีขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกภาพยนตร์แบบระบบเสียง Dolby Surround 8.1 สามารถส่งสัญญาณเสียงได้ถึง 8 ช่องทาง ซึ่งสื่อเหล่านี้จะไม่มีประโยชน์เลยหากระบบเสียงบนเมนบอร์ดของเราไม่ได้รองรับความสามารถดังกล่าว รวมทั้งเมนบอร์ดบางรุ่นบางผู้ผลิตยังมาพร้อมช่องสัญญาณเสียงแบบดิจิตอล ผ่านช่องสัญญาณ S/PDIF แบบ Optical และ Coaxial เพื่อเติมเต็มคุณภาพของสัญญาณเสียงแบบสมจริง และใกล้เคียงคุณภาพของชุดเครื่องเสียงจริงๆ ฉะนั้นระบบเสียงที่บิวท์อินมากับตัวเมนบอร์ดจึงเป็นปัจจัยหนึงที่สำคัญเช่นกันในการเลือกซื้อเมนบอร์ด เป็นสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยเหมือนกันเพราะโลกในปัจจุบันเป็นยุคที่ไร้พรมแดนซึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายผ่าน Ethernet หรือ เราเรียกกันภาษาบ้านๆ ว่า ระบบ LAN ซึ่งมีความเร็วตั้งแต่ 10Mbps จนถึง 1000Mbps หรือ 1Gbps ซึ่งถ้าดูจากเมนบอร์ดที่มีขายในปัจจุบันจริงๆ มีผู้ผลิตบางรายใช้เป็น 1Gbps ทั้งหมดแล้วเหมือนกัน แต่สามารถรองรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์พวกสวิทช์ที่เป็น 10/100Mbps ได้ไม่มีปัญหา เมื่อก่อนผู้ใช้ตามบ้านอาจจะมองว่าแลนไม่ได้ใช้งานแต่อย่างใดเมื่อใช้ที่บ้าน� แต่ปัจจุบันเนื่องด้วยอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่าง ADSL โตขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย และ เทคโนโลยีดังกล่าวต้องทำงานร่วมกับแลน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องใช้พิจารณาในการเลือกซื้อเมนบอร์ดเช่นกัน ไอโอ คอนเน็ตเตอร์ คือ In Put/Out Put Connector หรือ ช่องที่ใช้เชื่อมต่อเพื่อรับส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์หลายประเภท อย่างเช่น USB Port ที่ใช้รับส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์หลายชนิดเช่น Key Board, Mouse, Flash Drive, Bluetooth, Printer, Modem, Wireless USB เป็นต้น หรือจะเป็น PS2 ที่เมื่อก่อนเราใช้ติดต่อกับคีย์บอร์ด และ เมาส์ หรือ SATA และ P-ATA ที่ใช้เชื่อมต่อกับฮาร์ดไดรฟ์ และ ออปติเคิลไดรฟ์ อย่างซีดีรอม ซึ่งไอโอพอร์ตเหล่านี้ติดตั้งมาพร้อมกับตัวเมนบอร์ดทุกรุ่นทุกค่ายอยู่แล้ว เพียงแต่บริษัทผู้ผลิตใดสามารถออกแบบให้สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้มากกว่ากัน และ สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงในการทำงาน รวมถึงทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพด้วย คำว่า RAID หรือ Redundant Array of Independent Disks หรือการนำเอาฮาร์ดดิสก์หลายๆ ตัวมาเชื่อมต่อกันผ่านชุดคอนโทรลเลอร์ (Controller) เพื่อเพิ่มความจุ, ความเร็วในการอ่าน และเขียนข้อมูล และ ความปลอดภัยของข้อมูลจากการสูญหาย โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยี RAID มีให้เห็นตั้งแต่ RAID 0, 1, 5, 6 และ 10 กันเลยทีเดียว ซึ่งผู้ใช้บางรายที่ต้องการประสิทธิภาพในส่วนของการเรียกใช้ข้อมูลจากตัวฮาร์ดไดรฟ์ดังกล่าวก็สามารถเลือกซื้อเมนบอร์ดที่มี RAID Technology ได้เช่นกัน BIOS ถือเป็นสมองหลักของตัวเมนบอร์ดเลยทีเดียว เพราะเป็นที่เก็บข้อมูล และ คำสั่งความสามารถของตัวไบออสดังกล่าว รวมถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนค่าการทำงานต่างๆ ที่ยืดหยุ่นเพื่อรองรับการทำงานที่หลากหลายของแต่ละผู้ใช้ด้วย โดยถ้าไบออสดังกล่าวถูกโจมตีด้วยไวรัส หรือ ซอฟท์แวร์บางประเภทก็อาจทำให้เครื่องพีซีที่เราใช้อยู่นั้นไม่สามารถบูตเครื่องได้เลย ผู้ผลิตเมนบอร์ดบางเลยจึงหาวิธีป้องกันภัยคุกคามจากสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการใช้ไบออสสองตัวเพื่อป้องกันหากไบออสตัวหลักเสียหายไม่สามารถทำงานได้ ตัวที่สองสามารถทำงานแทนได้ หรือบางผู้ผลิตก็ใช้ซอฟท์แวร์ในการจัดการกู้คืนค่าให้กับไบออสเหมือนกัน นอกจากเทคโนโลยีที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีเรื่องของซอฟท์แวร์อรรถประโยชน์ดังกล่าวเข้ามาเกี่ยวข้องในการเลือกซื้อเมนบอร์ดด้วย เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีของฮาร์ดแวร์ตัวอื่นๆ สูงขึ้นมากไม่ว่าจะเป็นตัวซีพียูที่สามารถอัพสปีดสูงเกินค่ามาตรฐานได้ รวมถึงแรม และ กราฟฟิคการ์ดด้วย ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตเมนบอร์ดเองก็ต้องตระเตรียมซอฟท์แวร์ที่มาช่วยจัดการเพิ่มความสามารถ หรือ ดึงขีดความสามารถสูงสุดของฮาร์ดแวร์ดังกล่าว นอกจากนั้นยังต้องมีซอฟท์แวร์ในส่วนการจัดการด้านความปลอดภัยในการเข้าใช้ข้อมูล รวมถึงอาจจะมีการเก็บบันทึกการเปิด และ ปิดเครื่องพีซีด้วยเช่นกัน อีกทั้งเราอาจจะต้องเลือกเมนบอร์ดที่มีความสามารถในการประหยัดพลังงานด้วยเหมือนกัน เพราะเทรนปัจจุบันทุกคนต้องร่วมมือกันเพื่อลดปัญหาโลกร้อน เรื่องนี้จึงเป็นเทรนให้กับสินค้าทุกชนิดที่ผลิตขึ้นมาใช้งาน ส่วนใหญ่ผู้ผลิตแทบทุกรายจะรับประกันเมนบอร์ดให้ 3 ปี แต่นอกจากเรื่องของระยะเวลาในการรับประกันแล้ว เราอควรต้องเลือกซื้อกับผู้ขายที่มีประวัติดีและต้องดูว่าผู้ขายเองซื้อสินค้าจากผู้แทนจำหน่ายรายใด ปัจจุบันมีไม่เยอะมาก เนื่องด้วยผู้แทนจำหน่ายสินค้าประเภทไอทีในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่ทำสินค้าหลากหลายอยู่แล้ว จึงต้องพิจารณาจากประวัติชื่อเสียงจากหลายๆ ทาง และ รวมถึงพิจารณาจากจำนวนศูนย์บริการที่มีให้บริการในทุกพื้นที่ และ ทุกจังหวัดด้วย
สำหรับแรมผมได้กล่าวไว้แล้วว่ามีหน้าอะไรบ้าง สำหรับแรมก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเช่นกันเพราะฉะนั้นแล้วเราควรเลือกให้ถูกวิธีด้วย สำหรับขึ้นตอนการเลือกซื้อแรม มีขั้นตอนการเลือกซื้อดังต่อไปนี้
แน่นอนครับสำหรับประเภทของแรมนั้น ก็จะถูกจำกัดด้วยเมนบอร์ดที่เราจะเลือกซื้อเช่นกัน โดยเมนบอร์ดก็จะต้องถูกบังคับจากซิปเซต สำหรับคนที่จะซื้อในขนาดนี้จะมีอยู่ 2 ประเภทที่ผมจะแนะนำนะครับ ซึ่งทั้ง 2 มีความเร็วที่แต่ต่างกัน
สำหรับ DDR 2 นั้นมีความนิยมเป็นอย่างยิ่งในขนาดนี้ถือเป็นแรมตลาดเลยที่เดียว เพราะในปัจจุบันนี้เมนบอร์ดเองก็สามารถรองรับการทำงานของแรมชนิดนี้ได้หมดแล้ว แล้วราคาในขณะนี้ก็มีราคาที่ไม่แพงเลยเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ และในเรื่องของความเร็วก็สามารถใช้ได้เร็วมากเลยที่เดียว มีความเร็วตั้งแต่ 400-1,066 MIz ใช้แรงดันไฟฟ้า 1.8 V
เป็นแรมประเภทมี่พึ่งมาใหม่ล่าสุดเลย ซึ่งมีความเร็วสูงสุด ถึง 1,600-2,000 MHz เลยทีเดียวครับ แล้วใช้แรงดันไฟฟ้าแค่เพียง 1.5 V เท่านั้น ถือได้ว่ามีความเร็วสูงกว่าทุกประเภทแต่ปัจจุบันนี้ได้มี DDR4 มาแล้วเอาไว้คราวหน้าตอนที่มีคนใช้เยอะๆ จะมาเล่าให้ฟังนะครับ ส่วนราคาตอนนี้ยังสูงอยู่ แต่ถ้าใครต้องการซื้อหรือมีตังพอไม่ขัด ครับ เพราะว่ากำลังจะเป็นที่นิยมกันแล้ว แต่ต้องดูด้วยว่าเมนบอร์ดของเรานั้นรองรับหรือไม่ เพราะว่ายังมีเมนบอร์ดที่ยังไม่รองรับอีกเยอะครับ ที่สำคัญ DDR3กับ DDR2 ใช้สล็อตเดียวกันไม่ได้เพราะฉะนั้นแล้วไม่ต้องกลัวว่าจะใส่ผิด
แรมนั้นมีหน่วยความจำหลัก ที่จำเป็นต้องการความจำสูงเพื่อประสิทธิภาพของการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย โดยหน่วยความจำของแรมนั้น มีหน่วยเป็น GHz ยิ่งมีความจำมากก็ทำให้เครื่องเราเร็วขึ้นไปด้วย ราคมของแรมที่มีความจุสูงๆ เดี่ยวนี้ราคาไม่แพงมากนัก แต่ก็ควรที่จะดูว่าขนาดไหนเหมาะกับเรา เพื่อจะได้ไม่สิ้นเปลืองมากกว่าปกติ
ความเร็วหรือว่า บัสของแรมนั้นก็มีความสำคัญเพาะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การถ่ายโดนข้อมูลได้เราขึ้น ซึ่งก็ได้กล่าวไปแล้ว่าประเภทของแรมนั้นก็มีความเร็วที่แตกต่างกัน แล้วก็ต้องขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดเราอีกนั้นล่ะว่าจะรองรับได้มากแค่ไหน หรือถ้าใครซื้อแรมชนิดไหนก็ได้ที่มีความเร็วสูงไปที่เมนบอร์ดจะรองรับก็สามารถจะใส่ได้เมื่อซื้อแรมที่เป็นประเภทเดียวกันเท่านั้นแต่ความเร็วของแรมก็เท่ากับ เมนบอร์ดรองรับ และใครที่ซื้อแรมมา 2 ตัวแต่ มีความเร็วเท่ากัน มันก็จะใช้แรมที่มีความเร็วต่ำกว่านั้นเอง
การเลือกยี่ห้อนั้นแล้วแต่ศรัทธาครับ ไม่ว่ากันแต่จะมีการรับประกันที่แต่ต่างกันนิดหน่อยเท่านั้นเองครับ อย่างเช่นการเครมที่ไหม้ได้ไม่ได้ รวมทั้งราคาของแรมด้วยประสิทธิภาพจะแตกต่างกันหรือไม่นั้นส่วนตัวผมเอง ใช่มาหลายยี่ห้อแล้วไม่ต่างกันเลย เพราะฉะนั้นอยากได้ยี่ห้อไหนรับประกันดีเป็นพอครับ
สำหรับฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่มาก เพราะฉะนั้นแล้วจึงมีการเลือกซื้อให้เหาะสมกับความต้องการของเรา ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ได้มีราคาต่อความจุถูกมาก และมีความเร็วที่แตกต่างกัน จะข้อแนะนำการเลือกซื้อดังต่อไปนี้
ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ๆ กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ (สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อภายนอกจะขอกล่าวในลำดันถัดไป)
– แบบ IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ ที่จะบอกว่ารุ่นเก่าแล้วก็ว่าได้ เพราะว่ามีรุ่นใหม่ที่เร็วกว่าประหยัดทั้งพื้นที่ประทั้งพลังงานได้ดีกว่า และเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะราคาแพงกว่า SATA ด้วยซ้ำ
– แบบ SATA เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามามนตอนนี้และได้มีความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะว่าในเมนบอร์ดรุ่นใหม่นั้นก็ลองรับได้หมดแล้ว และมีราคาที่ถูกกว่า ฮาร์ดดิสก์ แบบSATA
ความจุของฮาร์ดดิสก์หรือพื้นจัดเก็บข้อมูล นั้นมีความสำคัญว่าเราจะใช้งานประเภทใดและต้อง เลือกความจุขนาดใดใครที่ชอบทำงานด้านมัลติมีเดียก็ต้องเลือกความจุมากๆ ปัจจุบันนี้มีความจุ ถึง 2 GB ไปแล้วซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจนลืมไปเลยว่าซื้อมาตอนไหน ไม่รู้จักเต็มสักที แต่ก็ยังมีราคาที่สูงอยู่นั้นเอง
ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นย่อมมีผลโดยตรงต่อความเร็วของฮาร์ดดิสก์ คือถ้าฮาร์ดดิสก์มีความเร็วรอบสูงแล้ว ข้อมูลก็จะเคลื่อนมาถึงหัวอ่านได้อย่างรวดเร็วขึ้น ความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์นั้นมีหน่วยเป็น “รอบต่อนาที (rpm) ในปัจุจบันความเร็วรอบนั้น 5,400-7,200 rpm แล้ว และยังมีการพัฒนาความเร็วได้ถึง 10,000 rpm
บัฟเฟอร์ก็คือหน่วยความจำแคชของฮาร์ดดิสก์นั้นเองครับ เป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกความเร็วและประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ ถ้าเกิดฮาร์ดดิสก์ไหนที่มีขนาดบัฟเฟอร์ขนาดใหญ่ก็จะช่วยให้ไม่ต้องเสียเวลาที่จะกลับไปนำข้อมูลนั้นมาใช้ซ้ำอีก โดยการทำงานนั้นจะทำงานรวมกับแรม แรมจะนำข้อมูลจากบัฟเฟอร์มาใช้โดยตรง ในปัจจุบันแล้วขนาดบัฟเฟอร์ ก็มีจำนวน 8-32 MB ไปแล้ว
ช่วงเวลาในการเข้าถึงข้อมูล (Seek Time) คือช่วงเวลาที่ตำแหน่องบนจานของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนมาพอดีกับตรงที่หัวอ่านพอดี ความเร็วนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์เอง ยิ่งมีความเร็วที่น้อยก็สามารถที่จะทำให้ฮาร์ดดิสก์นั้นอ่านเขียนได้เร็วขึ้น
ฮาร์ดดิสก์แบบนั้นคือเป็นเทคโนโลยีที่นำหน่วยความจำมาเป็นแฟลช มาทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์โดยลักษณะจะเหมือนการทำงานของแฟลชไดร์ โดยหน่วยความจำที่นำมาใช้นั้นจะช่วยเพิ่มที่จะช่วยโหลดไฟล์ที่ใช้งานบ่อยๆ หรือเก็บมาไว้ใช้ชั่วคราว ก็ช่วยเพิ่มทั้งความปลอดภัยและความรวดเร็วของของมูล
จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสงเป็นภาพบน จอภาพ แบ่งเป็น 3 ประเภท
คือ จอภาพที่รับสัญญาณภาพแบบอะนะล็อก พัฒนามาจากหลอดภาพโทรทัศน์ด้วยการใช้หลอดภาพในการแสดงผลเช่นเดียวกันคะ จอซีอาร์ที จะทำงานโดยอาศัยหลอดภาพที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ซึ่งมีสารประกอบของฟอสฟอรัสฉาบอยู่ที่ผิว เมื่อถูกแสงอิเล็กตรอนมากระทบ สารเหล่านี้เจะกิดการเรืองแสงขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นภาพนั่นเอง
จอภาพ LCD คือ จอแสดงผลแบบ (Digital ) ที่ใช้วัตถุที่เป็นผลึกเหลว (liquid crystal) แทนการใช้หลอดภาพในจอซีอาร์ที และใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในการผลิตแสงสว่าง จึงทำให้จอภาพแอลซีดีใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าจอแบบซีอาร์ทีประมาณหนึ่งในสามโดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น
จอภาพ LED ใช้หลอดแอลอีดีมาเรียงกันบนพาแนลแล้วทำให้เกิดภาพด้วยการติด ดับของหลอดแอลอีดีซึ่งก็ได้ภาพที่ตาเรามองออกมา ซึ่งในเหล่านี้มันยังมีราคาสูงมากๆ
1. งานเอกสาร หรือ ในสำนักงาน ควรเลือกจอภาพ ขนาด 17-19 นิ้วเพื่อถนอมสายตา
4. ควรเลือกแบบจอแบน เพราะจอแบนจะมีคุณสมบัติในการหักเหของแสงสะท้อนที่ตกกระทบบนจอภาพออกไปในทิศทางที่หลบออกจากสายตาผู้ใช้
1.ไดรฟ์ CD-ROM เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีได้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้ ซึ่งความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีนับกันเป็น x โดย 1x เทียบเท่ากับความเร็วในการเล่นแผ่น CD Audio ซึ่งเท่ากับ 150 KB/s โดยปัจจุบันไดรฟ์ชนิดนี้ที่มีขายตามท้องตลาด ส่วนใฆญ่จะมีความเร็วอยู่ที่ 52x แต่ไดรฟ์ชนิดนี้ไม่สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีได้ 2.ไดรฟ์ CD-RW เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีชนิดพิเศษได้ ซึ่งก็คือ แผ่น CD-R และ CD-RW นั่นเอง และถ้าเป็นแผ่น CD-RW จะสามารถใช้ไดรฟ์ชนิดนี้ลบข้อมูลในแผ่นแล้วเขียนทับลงไปใหม่ได้ด้วย ซึ่งความเร็วของไดรฟ์ชนิดนี้จะบอกด้วยตัวเลข 3ชุดด้วยกัน เช่น 52x32x52x โดยตัวเลขชุดแรก (52x) เป็นความเร็วสูงสุดในการเขียนแผ่น CD-R ตัวเลขชุดที่ 2 (32x) เป็นความเร็วสูงสุดในการเขียนแผ่น CD-RW และตัวเลขชุดสุดท้าย (52x) เป็นความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูล โดยไดรฟ์ชนิดนี้ไม่สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีได้ 3.ไดรฟ์ DVD-ROM ไดรฟ์ชนิดนี้จะคล้ายกับไดรฟ์ CD-ROM คือสามารถอ่านแผ่นได้อย่างเดียวไม่สามารถเขียนแผ่นได้ แต่นอกจากจะอ่านแผ่นซีดีได้แล้ว ยังสามารถอ่านแผ่นดีวีดีได้อีกด้วย ซึ่งความเร็วในการอ่านข้อมูลของไดรฟ์ชนิดนี้นับกันเป็น x เช่นเดียวกัน แต่ 1x ของไดรฟ์ชนิดนี้ไม่เหมือนกับ 1x ของไดรฟ์ CD-ROM เพราะความเร็ว 1x ของไดรฟ์ DVD-ROM เท่ากับ (1350 KB/s) ในกรณีที่อ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีแต่ถ้าเป็นการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีธรรมดา จะสามารถอ่านข้อมูลได้ 600 KB/s ซึ่งนับว่าสูงกว่าไดรฟ์ CD-ROM มากที่เดียว โดยปัจจุบันไดรฟ์ชนิดนี้ที่มีขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่จะมีความเร็วอยู่ที่ 16x หรือสามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีได้สุงสุด 21.6 MB/s และอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีธรรมดาได้สูงสุดถึง 9600 KB/s (9.6 MB/s) 4.ไดรฟ์ Combo เป็นไดร์ที่รวมคุณสมบัติของไดรฟ์ CD-RW กับไดรฟ์ DVD-ROM เข้าด้วยกัน ทำให้ไดรฟ์ชนิดนี้มีความสามารถเหมือนไดร์ CD-RW ทุกประการและยังสามารถอ่านแผ่นดีวีดีได้อีกด้วย โดยการบอกความเร็วของไดรฟ์ชนิดนี้ จะเอาความเร็วของไดรฟ์ CD-RW ขึ้นก่อน แล้วตามด้วยเครื่องหมายบวกและความเร็วของการอ่านแผ่นดีวีดี เช่น 52x32x52x + 16x คือ เขียนแผ่น CD-R ได้เร็วสุงสุด 52x เขียนแผ่น CD-RW ได้เร็วสุงสุด 32x อ่านแผ่น CD-ROM ได้เร็วสุงสุด 52x และสามารถอ่านแผ่น DVD-ROM ได้สุงสุดถึง 16x แต่ไดรฟ์ชนิดนี้ไม่สามารถเขียนแผ่น DVD ได้ 5.ไดรฟ์ DVD+/-RW ไดรฟ์ชนิดนี้มีความสามรถทั้งอ่านและเขียนแผ่นดีวีดีและยังสามารถอ่านและเขียนแผ่นซีดีได้อีกด้วย รวมถึงยังสามารถลบและเขียนซ้ำแผ่นดีวีดีชนิดพิเศษได้ด้วย ซึ่งก็คือ DVD-RW และ DVD+RW นั่นเองและเนี่องจากความสามารถในการอ่านและเขียนแผ่นได้หลายแบบมาก ดังนั้นโดยปกติการบอกความเร็วของไดรฟ์ชนิดนี้ ผู้ขายจึงมักระบุเป็นเลขชุดเดียว คือความเร็วสูงสุดในการเขียนแผ่นดีวีดี เช่น 16x แต่จริงๆ แล้วยังมีตัวเลขที่เป็นรายละเอียดอีกมาก เช่น ไดรฟ์ยี่ห้อ Lite-On รุ่น SHW – 16H5S มีรายละเอียดความเร็วดังนี้ 16x8x8x /16x6x4x / 16x +48x24x48x โดยตัวเลขชุดแรก (16x8x8x) หมายถึง ความเร็วในการเขียนแผ่น DVD+R DVD+RW และ DVD+R9 ตามลำดับ ส่วนตัวเลขชุดที่ 2 (16x6x4x) หมายถึง ความเร็วในการเขียนแผ่น DVD-R DVD-RW และ DVD-R9 ตามลำดับ ตัวเลขชุดที่ 3 (16x) หมายถึง ความเร็วในการอ่านแผ่นดีวีดี และตัวเลขชุดสุดท้าย (48x24x48x) ก็คือ ความเร็วในการเขียนแผ่น CD-R ความเร็วในการเขียนแผ่น CD-RW และความเร็วในการอ่านแผ่นซีดี ตามลำดับนั่นเอง 1.ความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูล ยิ่งเนการเลือกซื้อไดรฟ์ DVD+/-RW จะต้องพิจารณาความเร็วในการอ่านและเขียนแผ่นแต่ละชนิดให้ดีด้วย 2.ขนาดบัฟเฟอร์ ซึ่งบัฟเฟอร์ก็คือหน่วยความจำสำหรับพักข้อมูลระหว่างการอ่านและเขียนข้อมูล ยิ่งขนาดบัฟเฟอร์ใหญ่เท่าใดยิ่งทำให้การอ่านและเขียนข้อมูลเร็วขึ้นเท่านั้น 3.รูปแบบการเชื่อมต่อ เพราะไดรฟ์เหล่านี้มีให้เลือกทั้งแบบ Internal(เชื่อมต่อภายใน) และแบบ External (เชื่อมต่อภายนอก) ซึ่งไดรฟ์แบบ External จะติดตั้งง่ายและเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นสะดวก แต่ราคาจะแพงกว่า