แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 บริษัทไอบีเอ็มได้นำไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่าย ไมโครคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ 8088
เพียงไม่กี่ปีต่อมาก็ได้พัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ 80286 หากย้อนกลับไปในอดีตพบว่า ไมโครคอมพิวเตอร์เปลี่ยน
รุ่นใหม่บ่อยมาก บริษัทผู้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ได้คิดค้นและพัฒนาให้ขีดความสามารถเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ในปี พ.ศ. 2545
ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นเพนเทียมโฟร์ของบริษัทอินเทล และรุ่นเอธรอนของบริษัทเอเอ็มดี ทำงานได้ด้วยความเร็วกว่า 2,000 เมกะเฮิรตซ์
ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ รุ่นนี้มีความเร็วในการคำนวณเพิ่มขึ้น มีผลทำให้พัฒนาการทางซอฟต์แวร์ก้าวหน้าไปจากเดิมมาก
ขณะเดียวกันความจุของหน่วยความจำหลักที่ใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์ก็เพิ่มขึ้น เป็นลำดับ ไมโครคอมพิวเตอร์ที่บริษัทไอบีเอ็มพัฒนาขึ้น
ในปี พ.ศ 2524 มีหน่วยความจำเพียง 64 กิโลไบต์ แต่ปัจจุบันแนวโน้มของหน่วยความจำในไมโครคอมพิวเตอร์เป็นหลายร้อยเมกะไบต์จนม
ีแนวโน้มถึงกิกะไบต์ในไม่ช้านี้
ความจุของฮาร์ดดิสก์ก็เช่นเดียวกัน ฮาร์ดดิสก์รุ่นแรกที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีความจุเพียง 10 เมกะไบต์ ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่มีขายกันอยู่ทั่วไปมีฮาร์ดดิสก์หลายสิบกิกะไบต์ นั่นหมายความว่า ความจุของฮาร์ดดิสก์ได้เพิ่มขึ้นหลายพันเท่า ในขณะเดียวกันราคาของฮาร์ดดิสก์
30 กิกะไบต์ ก็ถูกกว่าราคาของฮาร์ดดิสก์ 10 เมกะไบต์ ในเวลานั้นมาก
จากแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมานี้ พอจะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในเชิงประสิทธิภาพ และปริมาณความจุ
อย่างต่อเนื่องทุกปี ขีดความสามารถเหล่านี้ทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ตอบสนองความต้องการผู้ใช้ ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่
มีขีดความสามารถประมวลผลรูปภาพได้ดี และมีการใช้งานกับอุปกรณ์สื่อประสมที่ต้องการทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง และวีดิทัศน์มากขึ้น
หากพิจารณาแนวโน้มของขีดความสามารถในเรื่องความเร็วของการสื่อสารข้อมูล พบว่าความเร็วของการสื่อสารข้อมูลก็เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเช่นกัน การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบอีเธอร์เน็ตเริ่มมีใช้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2526 ส่วนรูปแบบการสื่อสารแบบโทเค็นริง ก็ได้พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2527 จึงทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เริ่มแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ขณะนี้ความเร็วของการสื่อสารในเครือข่ายแลนที่ใช้เอทีเอ็มสวิตช์มีความเร็ว 155
ล้านบิตต่อวินาที และ 622 ล้านบิตต่อวินาที เรามีตัวกลางที่ใช้ในการนำสัญญาณที่เป็น
เส้นใยนำแสง ทำให้ความเร็วในการสื่อสารเพิ่มได้อีกมากในอนาคต
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการจัดการสารสนเทศมักมีเทคโนโลยีสื่อสาร เข้ามาเกี่ยวข้องจึงมีการเรียกรวมกันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT)
คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง
การพัฒนาซีพียู
พัฒนาการคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมาแล้วทำให้การผลิตชิปที่เป็นซีพียูมีจำนวน ทรานซิสเตอร์อยู่ในชิปได้มากมายหลายล้านตัว เช่น เพนเทียมโฟร์ มีจำนวนทรานซิสเตอร์ในชิปมากกว่า 30 ล้านตัว ขนาดของทรานซิสเตอร์ภายในชิปมีขนาดเล็กลงเหลือเพียง 0.09 ไมโครเมตร (1 ไมโครเมตร เท่ากับ หนึ่งในล้านเมตร) แนวโน้มในส่วนนี้ยังคงทำให้วงจรซีพียูมีความซับซ้อนขึ้นได้อีก
การที่คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มิได้อยู่ที่การเพิ่มความเร็วของจังหวะการคำนวณภายในชิปอย่างเดียวยังขึ้น อยู่กับ
รูปแบบการทำงานที่เป็นแบบขนาน ซีพียูรุ่นใหม่ เช่น เพนเทียมโฟร์ ได้รับการพัฒนาให้ทำงานภายในเป็นแบบขนาน หมายความว่า
ซีพียูอ่านคำสั่งหลายคำสั่งเข้าไปทำงานพร้อมกัน ภายในซีพียูเองก็มีหน่วยคำนวณและตรรกะหลายชุด การทำงานแบบขนานนี้ทำให้การทำงานโดยรวมสูงขึ้น
บางบริษัทได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแบบมัลติโพรเซสเซอร์โดยให้ซีพียูแต่ละตัวมีรูปแบบการคำนวณหรือการแบ่งแยกงานและ
ทำงานขนานกันไป เรียกคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ว่า คอมพิวเตอร์แบบขนาน (Massively Parallel Processor : MPP)
เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการออกแบบให้มีจำนวนซีพียูและอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ จำนวนมาก เพื่อเสริมสร้างให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ดีขึ้นเรียกว่า
เครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Performance Computer : HPC ) เครื่องคอมพิวเตอร์พวกนี้เหมาะกับงานคำนวณที่ซับซ้อนและต้องคำนวณ
ตัวเลขจำนวนมาก เช่น งานพยากรณ์อากาศงานจำลองระบบมลภาวะเกี่ยวกับน้ำท่วม หรือการจำลองสภาพจราจร เป็นต้น
ปัจจุบันได้มีการนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจำนวนมากมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงมากขึ้น เรียกว่าระบบคลัสเตอร์ (cluster) เช่น
การนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเพื่อสร้างฉากภาพยนตร์ในเรื่องไททานิก
ตัวอย่างภาพยนตร์ที่คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยสร้าง
เทคโนโลยีแบบสื่อประสม
เทคโนโลยีแบบสื่อประสม (multimedia technology) หมายถึงการใช้สื่อหลายแบบผสมกัน ซึ่งมีทั้งที่เป็นข้อความ ตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว
เสียงพูด เสียงดนตรี และวีดิทัศน์
คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบันมีขีดความสามารถในการใช้สื่อหลายชนิด แต่เดิมการแสดงผลบนจอแสดงเฉพาะข้อความ ต่อมาแสดงผลด้วยภาพ
สามารถทำภาพให้เคลื่อนไหวได้ ครั้นขีดความสามารถของซีพียูสามารถประมวลผลได้เร็วขึ้น มีการเพิ่มเติมการใช้งานให้มีการแสดงผลที่มีความละเอียดมากขึ้น
จนในที่สุดได้เพิ่มเติมสื่อเสียงและมีวงจรประมวลผลเสียง คอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์รับเข้าคือไมโครโฟนเป็นตัวรับข้อมูลเสียง
และอุปกรณ์ส่งออกคือลำโพงเพื่อแสดงเสียง มีการเพิ่มขีดความสามารถการจัดเก็บข้อมูลให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการใช้ งานทางด้านวีดิทัศน์
นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมเครื่องขับแผ่นซีดีเพื่อให้ใช้งานกับข้อมูลที่เก็บไว้ในแผ่นซีดีได้
การใช้งานสื่อประสมกำลังได้รับความนิยม มีการพัฒนาและประยุกต์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเมื่อมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การส่งกระจายข้อมูลบนเครือข่ายจึงหันมานิยม
แบบสื่อประสม ซึ่งพัฒนามาจากระบบข้อมูลที่เป็นตัวอักษรก่อน ต่อมาก็เป็นรูปภาพ เสียง จนถึงวีดิทัศน์
คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับสื่อประสมจึงต้องการซีพียูที่ทำงานได้เร็ว สื่อประสมจึงเหมาะกับ
ซีพียูรุ่นใหม่ๆ และต้องการซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนามาให้ใช้กับระบบนี้เท่านั้น
ในอนาคตสื่อประสมจะเข้ามามีบทบาทสูงมาก เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถนำสื่อต่างๆ มาใช้งานกันได้ ระบบสื่อประสมนี้จะเข้ามามีบทบาททำให้เกิดการใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ทำเป็นหนังสือบนแผ่นซีดี ใช้สร้างเกมที่มีลักษณะเหมือนจริงมากขึ้น ใช้สื่อสารในการประชุมที่เรียกว่า การประชุมทางวีดิทัศน์ (video conference) ที่ทำให้สามารถติดต่อประชุมเหมือนอยู่ใกล้ๆ กัน เป็นต้น
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดการแข่งขันกันทางธุรกิจสูงมาก มีการคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านนี้เติบโตและรุดหน้าจนเกินกว่าที่คนทั่วๆ ไปจะติดตามได้ทัน ดังนั้นเมื่อนักเรียนมีโอกาสจึงควรศึกษาหาความรู้
และศึกษาถึงความก้าวหน้าในวิทยาการเหล่านี้เพื่อจะได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
เนื่องจากชิปที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์เป็นชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มี ขนาดเล็ก ปัจจุบันสามารถผลิตไมโครโพรเซสเซอร์ได้จำนวนมากและราคาถูก
จึงมีผู้นำไปใช้เป็นอุปกรณ์ควบคุมให้ทำงานอัตโนมัติ เครื่องใช้ในบ้านที่มีไมโครโพรเซสเซอร์เป็นส่วนประกอบ เช่น เครื่องปรับอากาศ เตาอบไมโครเวฟ
เครื่องซักผ้าก็ล้วนแล้วแต่ทำงานแบบอัตโนมัติได้ แม้แต่ โทรทัศน์ เครื่องเสียง ก็ใช้ระบบควบคุมระยะไกลมีการตั้งโปรแกรมการทำงานแบบต่างๆ
การใช้งานไมโครโพรเซสเซอร์ครอบคลุมไปทุกเรื่อง ทั้งในลิฟต์ รถยนต์ ก็ใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติ จนในปัจจุบันมีการสร้างอาคารอัจฉริยะ
กล่าวคือใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอาคารเพื่อให้ประหยัดพลังงาน ควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยให้กับผู้อยู่ในอาคาร ทั้งการป้องกันการโจรกรรม และอัคคีภัย
ระบบอัตโนมัติจะเข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตของคนไทยมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการสร้างหุ่นยนต์เพื่อใช้ในงานทางอุตสาหกรรมมากขึ้น หุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทในการทำงานต่างๆ เช่น การทาสี การเชื่อม การประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ การทำงานในที่คับขันหรือที่มีสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมสำหรับมนุษย์ที่จะ เข้าไปทำงาน
ระบบที่มีการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่เรารู้จักกันดี คือระบบการฝากหรือถอนเงินอัตโนมัติหรือที่เรียกว่า บัตรเอทีเอ็ม นอกจากนี้ยังมีการใช้บัตร
อิเล็กทรอนิกส์เป็นบัตรเครดิต (credit card) ผู้ใช้บัตรเครดิตสามารถซื้อสินค้าจากที่ต่างๆ แทนเงินสด ซึ่งจะมีการเรียกเก็บเงินภายหลัง การเรียกเก็บเงิน
อาจใช้วิธีการโอนผ่านบัญชีธนาคาร ระบบนี้ให้ความสะดวกที่ไม่ต้องพกพาเงินสดติดตัว บัตรอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นบัตรพลาสติกมีแถบแม่เหล็ก
ที่มีรหัสประจำตัวของผู้ใช้ เพื่อบอกรายละเอียดว่าผู้ถือบัตรเป็นใคร อาจจะต้องใช้ควบคู่กับรหัสประจำตัวที่ผู้ใช้นั้นได้มาและเป็นรหัสเฉพาะ
บัตรอิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่ง คือ บัตรเก่ง (smart card) บัตรชนิดใหม่นี้บรรจุชิปที่เป็นหน่วยความจำและวงจรไมโครโพรเซสเซอร์ลงไปด้วย
ทำให้บัตรมีขีดความสามารถในการประมวลผลและจดจำข้อมูลไว้ในบัตร บัตรนี้อาจนำมาใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น ใช้เก็บประวัติคนไข้เมื่อคนไข้
จะเข้ารักษาพยาบาล แพทย์สามารถดูข้อมูลในบัตรได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้จ่ายค่าบริการต่างๆ ซึ่งจะมีข้อมูลยอดบัญชีเงินคงเหลืออยู่ในบัตร
ในอนาคตอันใกล้มีแนวโน้มที่จะมีการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์แทนบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา
พัฒนาการทางด้านอวกาศทำให้ประเทศที่มีเทคโนโลยีด้านนี้ส่งดาวเทียมขึ้นไป โคจรอยู่บนท้องฟ้าในตำแหน่งต่างๆ เพื่อรับส่งสัญญาณกับเครื่อง
บอกตำแหน่งบนพื้นโลก เครื่องบอกตำแหน่งนี้มีขนาดเล็กเท่าวิทยุมือถือ เมื่อส่งสัญญาณรับส่งกับดาวเทียมสามดวงก็จะบอกตำแหน่งพิกัดเส้นละติจูด (เส้นรุ้ง)
เส้นลองติจูด (เส้นแวง) บนพื้นโลกได้อย่างละเอียดตามตำแหน่งที่อยู่ เครื่องบอกตำแหน่งนี้ได้รับการนำมาใช้งานด้านต่างๆ เช่น ใช้ติดรถยนต์เพื่อบอก
ตำแหน่งรถยนต์ในแผนที่ และให้คอมพิวเตอร์เลือกเส้นทางการเดินทางที่ดี ใช้สำหรับงานสร้างแผนที่ทางภูมิศาสตร์ ใช้ในการคำนวณหาระยะทาง
ของสองจุดในพื้นที่โลกที่อยู่ห่างไกลกันได้อย่างแม่นยำ ใช้ในระบบการติดตามโจรผู้ร้ายของกรมตำรวจ เพื่อส่งรถสายตรวจไปยังบริเวณที่เกิดเหตุให้รวดเร็วที่สุด
เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดียิ่งขึ้น จึงมีผู้พัฒนาระบบรับข้อมูลและระบบแสดงผลข้อมูลให้ใช้งานได้สะดวก ระบบรับข้อมูลใหม่มีข้อเด่นใน
เรื่องการรับและส่งข้อมูลได้สะดวก แม่นยำ และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เช่น อุปกรณ์อ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง อุปกรณ์อ่านข้อมูลด้วยแสง อุปกรณ์บันทึกข้อมูล
ระยะไกล อุปกรณ์แสดงผลข้อมูลด้วยเสียง และอุปกรณ์ตรวจสอบลายนิ้วมือ